เจ้าหน้าที่ยอมถอยก่อน ขณะที่ภาคประชาสังคมออกแถลงการณ์เพื่อลดความขัดแย้งร่วมหาทางออก

เจ้าหน้าที่ยอมถอยก่อน ขณะที่ภาคประชาสังคมออกแถลงการณ์เพื่อลดความขัดแย้งร่วมหาทางออก





ad1

กรณีที่เจ้าหน้าที่พนักงานสอบสวน สภ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาสมีความพยายามที่จะขุดหลุมฝังศพร่างนายนายยะห์รี ดือเลาะ สมาชิกBRN ฝังมาแล้วกว่าสามเดือนเพื่อรับทำคดีทำการชันสูตรพลิกศพ พิสูจน์ทราบว่าเป็นศพใครและสาเหตุของการเสียชีวิตว่าเกิดจากสาเหตุใด จึงเกิดกระแสต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านเพคโซลเซียลอย่างรุนแรงเป็นจำนวนมาก และยังมีการเดินทางมาร่วมกันปกป้องสิทธิและเดินทางมาให้กำลังใจให้กับครอบครัว เพราะญาติได้ยินยันจากแม่และภรรยามาตลอดว่าศพที่ฝังนั้นเป็นศพของนายยะห์รี ดือเลาะ จริง หลังจากที่ศพได้ขึ้นอึดลอยในแม่น้ำฝั่งมาเลเซียแล้วเอาขึ้นมาฝั่งไทยนำไปชั่นสูตรเบื้องต้นที่โรงพยาบาลของรัฐมาแล้วมาเป็นเวลาหลายสิบชั่วโมงกว่าญาติจะจำได้เป็นศพนายนายยะห์รี ดือเลาะ จากรอยแผลเป็น

อนึ่งสภาพศพของนายยะห์รี ดือเลาะที่พบเจอครั้งแรกนั้นมีสภาพมีร่องรอยเหมือนถูกทำร้ายร่างกายที่บริเวณลำคอ อวัยวะใบหูขาดหายข้างหนึ่ง เครื่องแต่งกายเสื้อผ้า ถูกเปลี่ยน เครื่องประดับนาฬิกาถูกเปลี่ยนคนละยี่ห้อที่ผู้ตายสวมใส่ก่อนถูกจับหายตัวไป นอกจากนั้นพบว่ามีการโคนผมศีรษะของผู้ตายอีกด้วยเป็นร่องรอยเหมือนพึ่งโคนออกมาใหม่ๆ

แหล่งข่าวยังระบุอีกว่าแม้ผู้ตายจะหลบหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ใช้ชีวิตในประเทศเพื่อนบ้าน แต่ก็ได้โทรประสานติดต่อกับครอบครัวมาโดยตลอด จนกระทั่งรับรู้ถูกจับกุมในรัฐแห่งหนึ่งของมาเลเซีย จึงไม่รู้ว่าถูกจับไว้พาไว้ที่ไหนจนกระทั่งมีคนพบศพอึดลอยในแม่น้ำสุไหงโก-ลกถามที่เป็นข่าว เมื่อนำศพไว้ที่รงพยาบาลทางภรรยา แม่ และญาติต่างก็รีบไปดูว่าใช่สามีหรือไม่อย่างไร ใช้เวลาหลายหลายสิบชั่วโมงกว่าจะนึกจำรูปพรรณได้หลังจากพบรอยแผลเป็นที่ต้นขา จึงยืนยันขอรับศพจากเจ้าหน้าที่ก่อนนำพากลับบ้านเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา จนกระทั่งเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาอีกครั้งหลังจากโฆษกBRN ได้ออกแถลงการณ์ประณามการกระทำอย่างโหดร้าย ไร้มนุษยธรรมให้กับนายยะห์รี ดือเลาะซึ่งเป็นสมาชิกBRN  พร้อมจี้ให้รัฐไทยเร่งดำเนินการสืบสวนและสวนกรณีดังกล่าว อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ทางพนักงานสอบสวนต้องมานับหนึ่งในการรับทำคดีนายยะห์รี ดือเลาะตามกระบวนชันสูตรพลิกศพ เพื่อพิศูจน์ตัวตนว่าเป็นใครและสาเหตุของตายอีกด้วย ทำให้ญาติและประชาชนในพื้นที่มองว่าเป็นการรังแกแม้กระทั่งศพก็ไม่ยกเว้น แม้ทางพนักงานสอบสวนพยายามมาปรับความเข้าใจ มาชี้แจงเหตุพลแต่ก็ไม่เป็นผล เพราะมันกลายเป็นความจริงสองด้าน “ญาติและชาวบ้านเชื่อว่าร่างที่ฝังนั้นเป็นนายยะห์รี ดือเลาะจริงตามแผลเป็นที่ต้นขา ทางพนักงานสอบสวนยืนยันว่าไม่ใช่ร่างของนายยะห์รี ดือเลาะที่ชาวบ้านฝังเพราะไม่ตรงกับลายนิ้วมือและDNAของนายยะห์รี ดือเลาะ”

ล่าสุดเมื่อเวลา 09/54 น.นายต่วนดานิยา ตือแวแมแง ผอ.สำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (LEMPAR)แถลงการณ์พิเศษ
 กรณีภาครัฐจะทำการขุดศพนิรนามที่ทางครอบครัวและ BRN เชื่อว่าเป็น นายยะห์รี ดือเลาะ ว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 ได้มีการพบศพชายนิรนามในแม่น้ำสุไหงโก-ลก โดยสภาพศพมีร่องรอยเหมือนถูกทำร้ายร่างกายที่คอและมีรอยถลอกตามเนื้อตัว ต่อมาทางสำนักข่าว Wartani รายงานว่า ทางภรรยาของผู้เสียชีวิตได้ยืนยันว่าศพชายนิรนามดังกล่าวคือสามีของตน ตนและครอบครัวจึงได้นำศพสามีกลับไปทำพิธีทางศาสนาที่บ้านซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านปอฮงกือปัส ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส และเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2565 ทางสำนักประชาสัมพันธ์ BRN ได้ออกแถลงการณ์ว่า ศพชายนิรนามดังกล่าวเป็นสมาชิก BRN ที่อาศัยอยู่ในประเทศมาเลเซีย อีกทั้งยังแสดงความรู้สึกว่า "เหตุการณ์นี้ได้กัดกร่อนความไว้วางใจของ BRN และประชาชนปาตานีอย่างยิ่ง และยังได้ประณามอย่างรุนแรงต่อการกระทำของรัฐไทยอย่างโหดเหี้ยมในครั้งนี้ ซึ่งถือว่าเป็นการจงใจละเมิดอนุสัญญาเจนีวา

กระทั่งล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565 พ.ต.อ. สุธน สุขวิเศษ  รองผู้กำกับการภูธรจังหวัดนราธิวาส และตัวแทนคณะกรรมการอิสลามจังหวัดนราธิวาส ได้ประชุมหารือต่อกรณีจะทำการขุดศพชายนิรนามที่ยังคงสรุปไม่ได้ตามความเชื่อของบุคคลที่อ้างว่าเป็นภรรยาและครอบครัวผู้เสียชีวิตหรือศพนิรนามดังกล่าวและตามแถลงการณ์ของ BRN โดยอ้างว่ามีความจำเป็นที่ต้องทำการขุดศพขึ้นมาเพื่อตรวจ DNA พิสูจน์ตัวบุคคลให้ชัดเจน เนื่องจากผลการตรวจลายพิมพ์นิ้วมือนั้นปรากฎว่า ไม่ใช่นายยะห์รี ดือเลาะ แต่อย่างใด ทว่าทางภรรยาและมารดาของนายยะห์รี ดือเลาะ ยืนยันอย่างหนักแน่นว่าศพชายนิรนามดังกล่าวคือศพของนายยะห์รี ดือเลาะ แน่นอน และจะไม่ยินยอมให้ทางภาครัฐทำการขุดศพขึ้นมาอย่างแน่นอน

เห็นได้ชัดว่าเหตุการณ์สลดใจในครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อบรรยากาศการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับทุกๆฝ่ายให้เอิ้อต่อการพูดคุยสันติสุขสันติภาพเพื่อเป็นทางออกจากความขัดแย้งด้วยกำลังอาวุธในพื้นที่ จชต./ปาตานีมาอย่างยืดเยื้อเกือบจะถึง 2 ทศวรรษแล้ว ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายคู่ขัดแย้งหลักก็ดีนั่นคือรัฐไทยกับ BRN ฝ่ายประเทศมาเลเซียในฐานะผู้อำนวยความสะดวกในการพูดคุยก็ดี และฝ่ายภาคประชาชนก็ดี ทุกฝ่ายมีความไม่สบายใจมากกับเรื่องนี้โดยเฉพาะฝ่ายประชาชนที่ปราศจากอาวุธและกำลังมีระดับของความเชื่อมั่นในแนวทางสันติวิธีอย่างมีนัยยะสำคัญ

ทั้งนี้ทุกๆฝ่ายก็คงไม่สามารถจะปฏิเสธได้ว่าทางออกของการคลี่คลายปัญหาของ "ความไม่เป็นธรรมในทางความรู้สึก" ของครอบครัวและสังคมสาธารณะต่อกรณีนี้ก็คือ การใช้กลไกหรือกระบวนการทาง "นิติวิทยาศาสตร์" ตามที่ทางภาครัฐกำลังจะดำเนินการด้วยการขุดศพชายนิรนามในมุมของภาครัฐดังกล่าว เพื่อทำการตรวจ DNA เปรียบเทียบกับลายพิมพ์นิ้วมือที่ได้ตรวจไปแล้วเบื้องต้นยืนยันว่าไม่ใช่ นายยะห์รี ดือเลาะ

แต่ในเมื่อความเป็นจริงสถานะของภาครัฐกับกรณีเหตุการณ์นั้น รัฐคือ "จำเลยทางความรู้สึก" ของสังคมสาธารณะไปแล้ว จึงส่งผลโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้กับความรู้สึกของสังคมสาธารณะว่า กลไกหรือกระบวนการตรวจสอบของรัฐด้วยเครื่องมือทางนิติวิทยาศาสตร์ดังกล่าว แม้ว่าโดยเจตนารมณ์แล้วเป็นสิ่งเป็นสิ่งที่ดีและควรทำมากที่สุดก็ตาม แต่สังคมสาธารณะก็จะมองว่า "ไม่มีความเป็นกลาง" และ "ไม่มีความโปร่งใส" หรือไม่ เพราะหัวใจสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ ความน่าเชื่อถือของสังคมสาธารณะต่อที่มาของการตรวจสอบสรุปความจริง นั่นเอง

เพื่อเป็นการผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นกับทุกฝ่ายท่ามกลางสถานการณ์หรือบรรยากาศในกรณีเฉพาะของเหตุการณ์นี้ ซึ่งต้องยอมรับความจริงว่า กลไกหรือระบบความยุติธรรมของรัฐไม่เป็นที่น่าเชื่อถือไว้วางใจของสังคมสาธารณะและเพื่อรักษาสถานะของความน่าเชื่อถือของกระบวนการพูดคุยสันติสุขด้วยนั้น

สำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (LEMPAR) จึงขอเสนอไปยังรัฐโดยผ่าน พณฯ นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นำเรื่องนี้เป็น "วาระเร่งด่วน" ของรัฐบาล และขอเสนอว่าเฉพาะกรณีนี้ให้ทางภาครัฐใช้กลไกทางนิติวิทยาศาสตร์ที่มาจาก "องค์กรที่ไม่ใช่รัฐ" หรือ NGO ได้หรือไม่.