รองผู้ว่าฯปราจีนบุรี พบสื่อ-ขรก.ฟังเสียงสะท้อนมุมมอง "ปราจีนบุรีสู่ EEC จังหวัดที่ 4"ภาคตะวันออก

รองผู้ว่าฯปราจีนบุรี พบสื่อ-ขรก.ฟังเสียงสะท้อนมุมมอง "ปราจีนบุรีสู่ EEC จังหวัดที่ 4"ภาคตะวันออก





Image
ad1

ปราจีนบุรี – ผู้ว่าฯปราจีนบุรี พบสื่อมวลชน แจง“ปราจีนบุรีสู่ EEC จังหวัดที่ 4 สื่อสับเละ! สงสัยที่ผ่านมาคนเข้าประชุมย่อยEECพบเพียงผู้นำท้องถิ่นแห่งละ 10 กว่าคน ใน 2 อำเภอ หรือ แม้สื่อยังตอบคำถามชาวบ้านไม่ได้EECคืออะไร ให้ฟังเสียงจริงความเห็นคนปราจีนฯให้รอบด้านมากกว่านี้ ระบุสื่อ “ไม่เอาEEC ยังกลัวเป็นถังขยะโลก! ขณะจังหวัดปราจีนฯขอความจริงใจจังหวัดปราจีนบุรีพร้อมเป็นคนกลางจัดเวทีให้ ขอความจริงใจให้ พี่น้องประชาชน หวาดระแวง ให้ EEC ตอบข้อสงสัยจะ ตรงไปตรงมา

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ปราจีนบุรี  ณ ห้องประชุม 402 ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรีได้กำหนดจัดผู้ว่าพบสื่อ โดยมีนายชนาธิป โคกมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี เป็นประธานแทน นายวีระพันธ์ ดีอ่อน ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ท่ามกลางสื่อมวลชนและหัวหน้าส่วนราชการรวมมากกว่า 40 คน ร่วมประชุม โดยมีวาระพิเศษนางนวรถ ปะรักมะสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักแผนภาพรวม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ EECได้แจ้งให้สื่อมวลชนในโครงการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการขยายพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก  ประจำปีงบประมาณ 2568 เลิกการประชุมประมาณ 17.30 น. พร้อมตอบคำถาม โดยกล่าวสรุปความ  ว่า

...  คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ได้เข้าหารือพร้อมมอบสมุดปกขาวข้อเสนอทางเศรษฐกิจต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีหนึ่งในข้อเสนอแนะระยะเร่งด่วน คือ เสนอให้เพิ่มจังหวัดปราจีนบุรี เป็นอีก 1 จังหวัดที่รวมอยู่ในพื้นที่อีอีซี

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินโครงการจัดจ้างที่ปรึกษาจัดทำ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการขยายพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ จังหวัดปราจีนบุรี และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการขยายพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โดยทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้เห็นถึงศักยภาพ โอกาส ข้อจำกัด และประเด็นที่ต้องพัฒนาของ จังหวัดปราจีนบุรี ทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นต่าง ๆ รวมถึงความสอดคล้องกับศักยภาพและความต่อเนื่องเชื่อมโยงกับ พื้นที่เดิมของ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เพื่อให้มีศักยภาพรองรับการลงทุนและความสามารถ ในการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน

ซึ่งในกระบวนการศึกษาดังกล่าว ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ประชาชนและภาคเอกชนในพื้นที่ เพื่อนำความคิดเห็นไปประกอบการจัดทำข้อเสนอแนะ เชิงนโยบายๆ

ทั้งนี้ กพอ, จะนำผลการศึกษาฯ เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เพื่อพิจารณา ก่อนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อทราบ ทั้งนี้ หากเห็นชอบให้มีการขยายพื้นที่ฯ สกพอ จะจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาขยายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (เพิ่มเติม) เพื่อเสนอ กพอ. และ ครม. พิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนประกาศราชกิจจานุเบกษาต่อไป …  นางนวรถ กล่าว

ด้าน นายชนาธิป โคกมณีรองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรีกล่าวว่า  กระแสอีซีเข้ามา พี่น้องประชาชน ให้ความสนใจ ตัวตนอีอีซีเป็นอย่างไร ให้ประชาชนพยายาม ศึกษา ข้อ มูล eec คืออะไร   ที่ผ่านมา   มีกระแสเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย มีสองฝ่าย   ฉะนั้นพี่น้องสื่อเป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชน   ในการนำแนวคิด   ของประชาชนจำนวนมาก มาสอบถามประเด็นข้อสงสัย ผู้บริหารของ eec  ที่เตรียมไว้ตอบ ข้อสักถามของสื่อมวลชน

คิดว่าต้องมีการรับรู้รับฟัง อีกหลายเวที    เป็นข้อห่วงใยของพี่น้อง สื่อมวลชน ที่เป็นผู้ สะท้อน เสียงจากประชาชนในพื้นที่ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นในจังหวัดเห็นชัดเจน   ปัญหาที่เกิดผลกระทบมันมีหลายเรื่องที่สร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน 

พอ EEC เข้ามาพี่น้องประชาชนก็ตกกังวลเกรงว่าจะ สร้างปัญหาขึ้นเกิดความไม่สบายใจ     ฉะนั้นเห็นว่า เรื่องนี้มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเป็นเรื่องสำคัญผู้เกี่ยวข้องต้องสร้างความรับรู้ รับฟังสร้างความเข้าใจอย่างตรงไปตรงมาให้กับพี่น้องประชาชน ไม่มีการชี้นำไประดมความคิดหรือแนะนำแนะแนวให้เห็นความไม่เห็น

 ด้วยมีหน้า ที่ต้องไปชี้แจงว่าตัว EEC คืออะไร ในประเด็น 4- 5 ด้านให้เห็นผลอะไรจะมีผลดีกับจังหวัดปราจีนบุรีอย่างไรหรือมีผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนในภาพรวมอย่างไร ให้ ทั้งหมด ทุก อย่าง เราไม่ต้องปกปิดให้ตรงไปตรงมาผมเชื่อว่ากระบวนการ รับรู้ ข้อมูลข่าวสารเรื่องที่ ครบถ้วนจะเป็นเรื่องดี คนปราจีนบุรีวิเคราะห์และตัดสินใจ   จังหวัดปราจีนบุรีพร้อมเป็นคนกลางจัดเวทีให้ ขอความจริงใจให้ พี่น้องประชาชน หวาดระแวง ให้ eec ตอบข้อสงสัยจะ ตรงไปตรงมา

และกล่าวต่อไป  ถึงความคืบหน้าของโครงการศึกษาแนวทางการขยายพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มายังจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งอยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลความคิดเห็นและข้อเสนอจากประชาชนในพื้นที่ โดยดำเนินการโดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 ในเวที “ผู้ว่าฯ พบสื่อ” ครั้งนี้ มีข้อเน้นย้ำสำคัญ 2 ประเด็น ดังนี้    ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เตรียมจัดทำคลิปวิดีโอสรุปผลเบื้องต้นในรูปแบบ “ภาษาชาวบ้าน” เพื่อถ่ายทอดข้อกังวล เสียงสะท้อน และมุมมองรอบด้านเกี่ยวกับผลดี–ผลเสียของการขยายพื้นที่ EEC ให้เข้าถึงประชาชนทั่วไปได้อย่างเข้าใจง่าย

อย่างไรก็ตาม  เมื่อสิ้นสุดกระบวนการศึกษา ทีมวิจัยจะส่งรายงานผลการศึกษา ทั้งฉบับสมบูรณ์ (Full Report) และ  ฉบับย่อ (Executive Summary) ให้จังหวัดปราจีนบุรี และประชาชนในพื้นที่ทราบ พร้อมกัน กับผู้ว่าจ้างคือ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการมีส่วนร่วมและการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส

นอกจากนี้ ทีมวิจัยขอความร่วมมือจากสื่อมวลชนและประชาชนร่วมกันเผยแพร่คลิปประชาสัมพันธ์ดังกล่าว และ เชิญชวนประชาชนร่วมกรอกแบบสอบถามความคิดเห็น ผ่านลิงก์ออนไลน์ที่แนบมาพร้อมกันนี้ เพื่อให้ข้อมูลที่ได้มีความหลากหลายและครอบคลุมทุกมิติของพื้นที่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScDVCe7zekAxK366GgqrWbbnPZpxFZzvWAtM6lGYQVMJMvTnA/viewform?pli=1

 รองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี เน้นย้ำว่า    “เสียงของทุกคนในพื้นที่ต้องได้รับการสะท้อนออกไปอย่างเป็นธรรม และ  จังหวัดยินดีเป็นพื้นที่กลางที่เปิดให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างตรงไปตรงมา โดยไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง”  

ทั้งนี้ การจัดเวทีดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านการพัฒนาในพื้นที่ และเปิดโอกาสให้ภาคราชการ สื่อมวลชน และภาคประชาชนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันอย่างต่อเนื่อง   นายชนาธิป กล่าว

น.ส.จุฑารัตน์ หรือน้ำตาล ชาวเมือง ผู้สื่อข่าว น.ส.พ.ประชาไท กล่าวความคิดเห็นว่า จากการติดตามการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ครั้งที่2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายขยายพื้นที่เขตพัฒนาภาคตะวันออก จ.ปราจีนบุรี ระหว่างวันที่19 ,20 ก.ค.68 ที่ อ.บ้านสร้าง , อ.เมืองปราจีนบุรี, อ.ศรีมหาโพธิ และ อ.ศรีมโหสถ พบผู้ที่เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่เป็นผู้ นำท้องถิ่น กำนัน , ผู้ใหญ่บ้าน,สารวัตรกำนัน  จำนวนคนมีน้อยไม่ถึง 10 คน เกรงกลุ่มเป้าหมายเพียงเล็กน้อย  ไม่เพียงพอความคิดเห็นไปประกอบการจัดทำข้อเสนอแนะ เชิงนโยบายๆ ก่อนคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เพื่อพิจารณา ก่อนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.)  

ด้านนายพรทวี   ผู้สื่อข่าวไทยรัฐทีวี. กล่าวว่า ประชาชนสอบถามมาว่า EEC คืออะไร ตนเองยังไม่มีข้อมูลตอบไม่ได้ไม่เข้าใจคืออะไร ขอคลิปวีดีดโอ.ไปศึกษาและตอบชาวบ้านได้  ข้อดีข้อเสียชาวบ้านตัดสินใจนายพรทวี   กล่าว

นายวัชรพงษ์ หรือ บุญสืบ  ผู้สื่อข่าวช่อง 7นายกสมาคมผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรี   กล่าวว่า  ชาวบ้านกลัวEEC เมื่อเกิดปัญหา ใครจะตามไปให้มาแก้ปัญหาใครรับผิดชอบ  

 อยากทราบว่าเอาใครมาลงทุน ขัดความรู้สึกคนปราจีนเรื่องอุตสาหกรรมที่ไม่อยากได้  มองว่าEEC อยากได้น้ำห้วยสโมง หรือ เขื่อนนฤบดินทรจินดา  ในจัดเวทีประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ครั้งที่2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายขยายพื้นที่เขตพัฒนาภาคตะวันออก จ.ปราจีนบุรีมีคนเข้าร่วม 5 – 10 คน เป็นแค่เพียง ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อยากให้หาทุกองค์กรก่อนคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เพื่อพิจารณา ก่อนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.)  ให้เป็นเสียงคนปราจีนฯจริงๆ นายวัชรพงษ์ หรือ บุญสืบ  กล่าว

โดย... มานิตย์ สนับบุญ -ข่าว/ณัฐนันท์ – จุฑารัตน์ - ภาพ/ ปราจีนบุรี ###