อุตฯปราจีนบุรีรุกจับกุมนายทุน-ยึดรถบรรทุกพ่วง 4 คันลอบขนขยะพิษทิ้งบ่อลูกรังเก่า

อุตฯปราจีนบุรีรุกจับกุมนายทุน-ยึดรถบรรทุกพ่วง 4 คันลอบขนขยะพิษทิ้งบ่อลูกรังเก่า





Image
ad1

ปราจีนบุรี - ลักลอบนำกากอุตสาหกรรมจากโรงงานรถบรรทุกพร้อมพ่วง จำนวน 4 คัน จำพวกเศษพลาสติกบดย่อย สายไฟบดย่อยเยื่อกระดาษกองถม มาทิ้งไว้ในบริเวณพื้นที่ บ่อลูกรังเก่า ในพื้นพื้นที่ 2 ไร่ 1 งานความลึก 7 เมตร มีปริมาตรรวม 6,000 ลบ.ม.หมู่ที่7 ตำบลบ้านนา อำเภอกบินทร์บุรี" ขณะกลุ่มปราจีนเข้มแข็งบุกยื่นประท้วง EEC และม.ธรรมศาสตร์ ไม่เอาEEC กลัวปราจีนฯเป็นที่ทิ้งขยะพิษโลก!

เมื่อเวลา 22.20   น.วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ปราจีนบุรี  นายวิเชียร ทองด้วง อุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี แจ้งในไลน์กลุ่มผู้ว่าพบสื่อมวลชน   ระบุว่าพร้อมด้วยนายปิยะ ยินขุนทด วิศวกรชำนาญการพิเศษ และนายปรัชญา วารสิทธิ์ วิศวกรปฏิบัติการ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมกับอำเภอกบินทร์บุรี องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา สถานีตำรวจภูธรกบินทร์บุรี เข้าร่วมตรวจสอบบริเวณพื้นที่หมู่ที่7 ตำบลบ้านนา อำเภอกบินทร์บุรี เนื่องจากมีประชาชนแจ้งว่าพบการลักลอบนำกากอุตสาหกรรมจากโรงงานมาทิ้งไว้ในบริเวณดังกล่าว

 ขณะเข้าตรวจสอบพบว่า มีรถบรรทุกพร้อมพ่วง จำนวน 4 คัน บรรทุกกากอุตสาหกรรม จำพวกเศษพลาสติกบดย่อย สายไฟบดย่อยเยื่อกระดาษกองถม เป็นต้น อยู่ระหว่างเตรียมการเทกากอุตสาหกรรมลงพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้ยังพบเศษกากอุตสาหกรรมถูกถมในบริเวณพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ 1 งาน เต็มบริเวณ โดยความสูงประมาณ 6 เมตร 

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี จึงได้เก็บตัวอย่างกากอุตสาหกรรมดังกล่าว ส่งให้ศูนย์วิจัยและเตือนภัยมลพิษโรงงานภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี ตรวจวิเคราะห์ในลำดับถัดไป ทั้งนี้ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรีได้ดำเนินการลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ณ สถานีตำรวจภูธรกบินทร์บุรี และจะได้ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

พ.ต.ท.วิฑูรย์วงใหญ่ เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งความลักลอบนำกากอุตสาหกรรมจากโรงงาน   จากนายวิเชียร ทองด้วง   อุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี พร้อมพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ.2535 และ คณะผู้ร่วมตรวจสอบ ประกอบด้วย นายอำเภอกบินทร์บุรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา กำนันตำบลบ้านนา ผู้ใหญ่บ้าน ม.7 ต.บ้านนาได้ร่วมกันตรวจสอบสถานที่ ทิ้งกากอุตสาหรรมในบริเวณพื้นที่ บ่อลูกรังเก่า พิกัดภูมิศาสตร์13.96912139-101.89183190 โดยมีนายไพศาล ศิลาแลง ให้การยอมรับเป็นเจ้าของที่ดินและมีการยินยอมให้นำกากอุตสหกรรมมาทิ้งในที่ดินของตนเอง ตั้งอยู่ ณ ม.7 ต.บ้านบุเสี้ยว(หลังวัดเขาน้ำจั่น) ต.บ้านมาฯ

ลักษณะของกากอุตทกกรรมหรือสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุใช้แล้วเป็นเศษไฟฟ้าบดย่อย และ คัดแยกโลหะมีค่า (ทองแดง) แล้วเยื่อกระดาษกองถมในพื้นพื้นที่ 2 ไร่ 1 งานความลึก 7 เมตร มีปริมาตรรวม 6,000 ลบ.ม.ขณะตรวจสอบพบรถบรรทุกพร้อมพ่วงจำนวน 4 คันบรรทุกกากอุตสาหกรรมมาทิ้งในพื้นที่ดังกล่าว 

พนักงานเจ้าหน้าที่จึงได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.กบินทร์บุรี จับกุมเจ้าของรถ พร้อมรถบรรทุกจำนวน 4 คัน มอบให้ สภ.กบินทร์บุรี ดำเนินคดีดีต่อไป

รายละเอียดรถบรรทุก   รถบรรทุก อีซุซู สีเขียว ทะเบียน 84-6837 นครสวรรค์ พ่วงสีเขียว ป้ายดำ ทะเบียน 84-5733นครสวรรค์   ,  รถบรรทุก ฮีโน่ สีเขียว ทะเบียน 84-5732 นครสวรรค์ พ่วงสีฟ้า ป้ายดำ ทะเบียน 8นครสวรรค์  ,  รถบรรทุก สึไม่ สีฟ้า ทะเบียน 84-5888 ข้อภูมิ พ่อเสีฟ้า ป้ายทำ ทะเบียน 84-5889   , รถบรรทุก ฮีโน่ สีเทา ทะเบียน 85-5375 ขอนแก่น พ่วงสีเทา ป้ายดำ ทะเบียน 85-5376

พนักงานเจ้าหน้าที่ได้แจ้งดำเนินคดีกับพนักงานสอบ เพื่อดำเนินคดีกับผู้ต้องหาที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และให้พนักงานสอบสวนสืบสวนสอบสวนหาที่มาของกากอุตสาหกรรมดังกล่าวเพื่อดำเนินคดีให้ถึงที่สุดต่อไป

วันเดียวกัน   ผู้สื่อข่าวรายงาน    ได้รับแจ้งจากนายสุนทร คมคาย  เครือข่ายปราจีนเข้มแข็ง    เครือข่ายชาวปราจีนเข้มแข็ง  นำกลุ่มปราจีนเข้มแข็ง  กว่า 30 คน  มายื่นหนังสือที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในนามของเครือข่ายปราจีนบุรีเข้มแข็งและเครือข่าย 304กินได้   ยื่นหนังสือขอติดตามความคืบหน้าการพิจารณาคำขอคัดค้านการเสนอจังหวัดปราจีนบุรีเป็นพื้นที่ขยาย EEC ต่อเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 

 และได้เลยต่อไปยื่นหนังสือกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขอให้เปิดเผยข้อมูลเวทีชี้แจงโครงการศึกษาความเหมาะสมในการขยายพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในจังหวัดปราจีนบุรี

มีการยื่นหนังสือคัดค้านการเสนอจังหวัดปราจีนบุรีเป็นพื้นที่ขยาย EEC ต่อเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2568 แล้วนั้น เครือข่ายยังไม่ได้คำตอบและการอธิบายใดๆจากทางคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 

อีกทั้งการดำเนินการศึกษาความเหมาะสมในการขยายเพิ่มจังหวัดปราจีนบุรีเป็นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกก็ยังคงดำเนินการในพื้นที่ ซึ่งเป็นข้อห่วงกังวลของคนในพื้นที่เป็นอย่างมาก เนื่องจากสภาพปัญหาในปัจจุบันที่เป็นผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรมจำนวนมากก็ไม่มีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน 

ดังนั้นในวันนี้ ทางเครือข่ายปราจีนเข้มแข็ง และ เครือข่าย 304 กินได้ จึงมาทวงถามคำตอบจากทางเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ และยืนยันคัดค้านการขยายพื้นที่ EEC มารวมจังหวัดปราจีนบุรี และขอให้ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ไปศึกษาทบทวนการดำเนินการใน3 จังหวัดในพื้นที่ EEC ในปัจจุบันซึ่งมีปัญหาจำนวนมากซึ่งยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้จนถึงขยายผลกระทบมาจังหวัดใกล้เคียงด้วย โดยควรมีมาตรการในการจัดการปัญหาในพื้นที่ EEC เดิม และหยุดการดำเนินการขยายพื้นที่เพิ่ม

จากนั้นได้เลยต่อไปยื่นหนังสือกับผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ที่สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พวกเราประชาชนในพื้นที่ขอแสดงความห่วงกังวลอย่างยิ่งต่อกระบวนการดำเนินการศึกษาดังกล่าวซึ่งขาดหลักการมีส่วนร่วม โปร่งใส และเป็นธรรม รวมทั้งมีข้อสังเกตว่ากำลังถูกใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการผลักดันนโยบายที่มีผลกระทบเชิงลบต่อชุมชนโดยขาดการตรวจสอบถ่วงดุลอย่างเหมาะสม

สิ่งที่ค้นพบจากภาคประชาชน     กระบวนการมีส่วนร่วมที่ไม่แท้จริงของการจัดเวทีมีลักษณะเป็นพิธีกรรมทางเทคนิค การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นและเวทีFocus Group ที่ผ่านมานั้นมีเพียงข้าราชการ หน่วยงานรัฐ กลุ่มคนและกลุ่มทุนบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้รับเชิญเข้าร่วมขณะที่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น เกษตรกร กลุ่มเปราะบาง และประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้พื้นที่อุตสาหกรรมกลับไม่ได้รับเชิญหรือไม่มีพื้นที่แสดงความเห็นเครือข่ายปราจีนเข้มแข็ง และเครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี ไม่ต้องการให้การจัดเวทีแบบแบ่งแยกหรือเลือกเชิญเฉพาะกลุ่ม แต่ขอให้มีการจัดเวทีระดับอำเภอที่เปิดกว้างครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เพื่อให้เกิดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นอย่างแท้จริงไม่ใช่เวทีที่มีผู้เข้าร่วมเพียง 10–20 คน แล้วกล่าวอ้างว่าเป็นตัวแทนเสียงของประชาชน ซึ่งไม่สามารถสะท้อนความคิดเห็นของพื้นที่ได้อย่างแท้จริง

การประเมินที่เอนเอียงไปทางเศรษฐกิจและขาดความรอบด้าน   มีความกังวลในการใช้เครื่องมือ SROI (Social Return on Investment) ของผู้ทำการศึกษา ในการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม โดยอาจเน้นตัวเลขทางเศรษฐกิจเป็นหลักเช่น GDP หรือรายได้หรือการจ้างงาน โดยละเลยประเมินผลกระทบเชิงลบที่เกิดกับสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตและพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารของชุมชน หรือสุขภาพของชุมชน 

ขาดความโปร่งใสในกระบวนการศึกษา ประชาชนไม่ได้รับการชี้แจงและไม่มีการเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการศึกษาความเหมาะสมฯ ต่อสาธารณะอย่างชัดเจน ทั้งเหตุผลความเป็นมา ขอบเขตวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดวิธีการคำนวณ ขั้นตอนกระบวนการและสมมติฐานต่างๆ ที่ใช้ในการประเมินผลการศึกษา อีกทั้งยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลหรือชี้แจงสถานะหรือผลการดำเนินงานของโครงการศึกษาความเหมาะสมฯ ที่สามารถตรวจสอบได้โดยสาธารณะ

ปัญหาในพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขจังหวัดปราจีนบุรีกำลังเผชิญผลกระทบอย่างรุนแรงจากภาคอุตสาหกรรม ในช่วงเวลาที่ผ่านมามีข่าวสารและข้อมูลปรากฏอย่างต่อเนื่องซึ่งมีการร้องเรียนเรื่องมลพิษกลิ่นเหม็น น้ำเสีย การลักลอบฝังกลบขยะอุตสาหกรรม โรงหลอมเถื่อน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีปัญหาสะสมเดิมจากภาคอุตสาหกรรม โรงงานเดิมยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม การผลักดันให้ปราจีนบุรีเข้าสู่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทั้งที่ปัญหาเดิมยังไม่ได้รับการแก้ไขอาจยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์และทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และวิถีชีวิตของประชาชนเลวร้ายลงอีก

โดย...มานิตย์ สนับบุญ/ทองสุข สิงห์พิมพ์/ปราจีนบุรี###