อำนาจเจริญยกระดับคุมเข้มป้องกันโรคแอนแทรกซ์ซ้ำรอยมุกดาหาร

อำนาจเจริญยกระดับคุมเข้มป้องกันโรคแอนแทรกซ์ซ้ำรอยมุกดาหาร





Image
ad1

อำนาจเจริญรณรงค์คุมเข้มหวั่นโรคแอนแทรกซ์ ระบาดมาจากจังหวัดใกล้เคียง สสจ.-ปศุสัตว์ ยื่นยันอำนาจเจริญปลอดจากเชื้อแอนแทรกซ์100%

นายแพทย์ปฐมพงศ์  ปรุโปร่ง นายแพทย์  สสจ.อำนาจเจริญ กล่าวว่า ได้รัแบรายงานการพบผู้ป่วยโรคแอนแทรกซ์ เสียชีวิตที่ อ.ดอนตาล จังหวั ดมุกดาหาร เขตรอยต่อ อ.ชานุมาน ผู้ป่วยมีประวัติชำแหละเนื้อวัว 12 เม.ย. 68 เริ่มป่วยวันที่ 24 เมย 68 รับการรักษาที่รพ.ดอนตาล 27 เมย 68 และเสียชีวิตในวันที่ 30 เมย 68 มีผลตรวจยืนยันการป่วยเป็นแอนแทรกซ์

จากการสอบสวนโรค เนื้อวัวที่ชำแหละมีการแจกจ่ายไปในหลายครัวเรือนในดอนตาล มีผู้สัมผัสรวม 247 คน สัมผัสเสี่ยงสูง 167 คน ในกลุ่มนี้พบผู้มีอาการ1 ราย ซึ่งเป็นผู้ร่วมชำแหละเนื้อวัวในวันที่ 12 เมย ยังอยู่ระหว่างการตรวจยืนยัน โดยแนวทางการดำเนินการเบื้องต้น 30 เม.ย. 68 ที่ผ่านมา สสจ.อจ.ได้มีข้อสั่งการให้รพ.ชานุมานและสสอ.ชานุมาน ที่เป็นเขตรอยต่อได้เฝ้าระวังกรณีมีผู้ป่วยสงสัยแอนแทรกซ์ให้รายงานสสจ.อจ.และดำเนินการสอบสวนควบคุมโรคทันที และให้ทุกหน่วยบริการในพื้นที่จ.อำนาจเจริญ เฝ้าระวังโรคในพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่ง ณ.วันนี้ยังไม่มีผู้สงสัยป่วยในจังหวัดอำนาจเจริญ

ด้านนายสัตวแพทย์อภิชาติ  ภะวัง   ปศุสัตว์จังหวะดอำนาจเจริญ กล่าวว่า เนื่องจากตนได้รับข้อสั่งการและการประสานจากผอ.สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์,นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ แจ้งว่าผู้ป่วยด้วยโรคแอนแทรกซ์ที่โรงพยาบาลมุกดาหารได้เสียชีวิตแล้ว ในส่วนของจังหวัดอำนาจเจริญให้กำหนดมาตรการในการป้องกันควบคุมโรคแอนแทรกซ์ขึ้น ปศจ.อจ.ได้ชี้แจงมาตรการของทางปศุสัตว์จังหวัดอำนาจเจริญที่ได้สั่งการไปแล้ว และเพื่อความชัดเจนขอย้ำให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามข้อสั่งการและข้อสั่งการเพิ่มเติมดังนี้

1 ให้ปศุสัตว์อำเภอทุกอำเภอเฝ้าระวังการลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โค กระบือ จากบริเวณใกล้เคียงจุดเกิดโรค (ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ) ตลอดจนตามแนวชายแดนและรอยต่อจังหวัดใกล้เคียง

2.ให้เฝ้าระวังทางอาการในสัตว์พาหะโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโค กระบือ ทุกพื้นที่ของจังหวัดอำนาจเจริญ

3.หากพบสัตว์ป่วย ตายเข้านิยามของโรคแอนแทรกซ์ให้แจ้งปศุสัตว์อำเภอเข้าตรวจสอบร่วมกับกลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์  และรายงานให้ปศุสัตว์จังหวัดทราบถึงผลการตรวจสอบและดำเนินการ โดยเร็ว

4.ให้ปศุสัตว์อำเภอประชาสัมพันธ์ทุกช่องทางโดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านกลุ่มไลน์ แพทย์ประจำตำบล ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อาสาสมัครปศุสัตว์ อาสาสมัครสาธารณสุข ให้ทราบถึงลักษณะอาการป่วย หรือสัตว์ที่ตายจากโรคแอนแทรกซ์ หากพบสัตว์ป่วยหรือตาย ที่สงสัยว่าเป็นโรคแอนแทรกซ์ ห้ามชำแหละโดยเด็ดขาดให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เข้าตรวจสอบโดยเร็ว

5.ให้กลุ่มพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ แจ้งพนักงานตรวจโรคสัตว์ให้เข้มงวดตรวจสัตว์ที่เข้าสู่โรงฆ่าสัตว์ ก่อนอนุญาตให้ฆ่าสัตว์ และตรวจเนื้อสัตว์ก่อนออกใบรับรองให้จำหน่ายเนื้อสัตว์(ร.น.)

6.ทุกกลุ่มฝ่าย ปศุสัตว์อำเภอ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนงดบริโภคเนื้อสัตว์ดิบหรือปรุงไม่สุก ผู้ชำแหละซากสัตว์ควรสวมถุงมือและชุดป้องกัน(PPE)การติดเชื้อ

7.ให้ปศุสัตว์อำเภอชานุมานประสานชุดทหารพราน ตำรวจและฝ่ายปกครองซึ่งตั้งจุดตรวจจุดสกัดตามถนนสายยุทธศาสตร์เลียบแนวชายแดน (อำนาจเจริญ-มุกดาหาร)เรียกตรวจสอบใบอนุญาตเคลื่อนย้ายฯจากยานพาหนะบรรทุกสัตว์ ซากสัตว์ทุกคัน หากไม่มีใบอนุญาตให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย

8.ระหว่างที่ปศุสัตว์จังหวัดอำนาจเจริญเดินทางไปราชการ ไม่อยู่ หรือไม่สามารถติดต่อได้ หากมีเหตุการณ์เร่งด่วนฉุกเฉินมอบหมายหัวหน้ากลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์เป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในเรื่องการป้องกันควบคุมโรคแอนแทรกซ์และเป็นผู้พิจารณาให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชาหรือให้ข่าวเชิงประชาสัมพันธ์แก่สื่อต่างๆ   และตนยืนยันว่า ปัจจุบัน ในพื้นที่อำนาจเจริญยังไม่มีสัตว์ป่วยหรือตายด้วยโรคแอนแทรกซ์ครับ

ทิพกร หวานอ่อน/อำนาจเจริญ  รายงาน