สมาคมหมูไทยค้านนำเข้าหมูจากสหรัฐฯหนุ่นนำเข้าข้าวโพด-กากถั่วเหลืองแทน


สมาคมหมูไทย คัดค้านการนำเข้าหมูจากสหรัฐมาร่วม 10 ปี ตั้งแต่สมัย “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” จนถึงปีจจุบัน หมูในรอบ 10 ปี มีกำไรเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2 ปี หากนำเข้าอีกสมัย "ทรัมป์"หวั่นอุตสาหกรรมล่มสลาย แต่สนับสนุนรัฐบาลนำเข้าข้าวโพดและกากถั่วเหลืองแทน
เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2568 นายปรีชา กิจถาวร นายกสมาคมการค้าเลี้ยงสุกรภาคใต้ เปิดเผยว่า สมาคมผู้เลี้ยงสุกรของไทยทุกภูมิภาค ต่างได้แสดงการคัดค้านการนำเข้าสุกรจากประเทศสหรัฐอเมริกามาตลอดตั้งแต่สมัยรัฐบาลอดีต นส.ยิ่งลักษณ์ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และมาจนถึงรัฐบาล นส.แพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยรวมแล้ว ได้ทำการคัดค้านมาร่วมระยะเวลา 10 ปี
สิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ
และมาสมัยนายโดนัล ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ทางสมาคมสุกรไทย ก็รับทราบการเคลื่อนไหวของสมาคมสุกรในสหรัฐ ต่างมีความพยามพยามจะทำการผลักดันไปยังรัฐบาลสหรัฐ ให้มีนโยบายการส่งเสริมการส่งออกสุกรเช่นกัน และการที่สหรัฐมีนโยบายเรื่องภาษีศุลกรกับประเทศต่าง ๆ และไทยด้วย สมาคมสุกร จึงมีความกังวลและเชื่อว่าจะมีนโยบายในการส่งออกสุกรของสหรัฐด้วย โดยในวันที่ 8 เมษายน 2568 ทางสมาคมผู้เลี้ยงสุกรไทย จะเดินทางไปยื่นหนังสือถึงรัฐบาล เพื่อคัดค้านการนำเข้าสุกรจากสหรัฐ
นายปรีชา กล่าวอีกว่า แต่หากมีการนำเข้าจำพวกอื่น ๆ เช่น กากถั่ว ข้าวโพด ถั่วเหลือง ฯลฯ ซึ่งเป็นปัจจัยในการแปรรูปผลิตอาหารสุกรจะเป็นการดีกว่า เพราะประเทศไทยเกี่ยวกับข้าวโพด ฯลฯ ยังผลิตไม่พอแต่ก็ต้องถามชาวไร่ข้าวโพดด้วย ซึ่งก็จะผลดีต่อทุกฝ่ายทั้งผู้ผลิตผู้บริโภค
“สุกรไทยในระยะ 10 ปี เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรจะขาดทุนกันมากกว่า เช่น ประสบกับโรคระบาดอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ASF (African Swine Fever ) หมูกล่องหนีภาษีจากต่างประเทศ ทั้งหมดสร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศมาแล้ว”
นายปรีชา กล่าวอีกว่า และผู้เลี้ยงสุกรโดยเฉลี่ยแล้วมีกำไรอยู่ประมาณ 2 ปี ในรอบ 10 ปี โดยล่าสุดเพิ่งมีกำไรเมื่อเดือนมีนาคม และมาถึงเมษายน 2568 และขณะนี้กลับมากังวลเรื่องการเจรจาภาษีศุลกากร แล้วจะให้มีการนำเข้าสุกรจากสหรัฐ เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรก็จะเสียหายทั้งหมดและจะไม่เหลือ
โดยเฉพาะใน จ.พัทลุง และนครศรีธรรมราช สำหรับจังหวัดภาคใต้ เพราะสุกรสหรัฐมีต้นทุนการผลิตประมาณ 1 เหรียญ / ตัว เหตุผลต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เพราะผลผลิตอาหารสุกรต้นทุนต่ำมาก จากที่มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยทั้งสายพันธุ์สุกรและเรื่องของการผลิตอาหาร.
ด้านนายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า วันนี้ผู้เลี้ยงมารวมตัวเพื่อให้รัฐบาลทำงานง่ายขึ้น ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ใช้อำนาจตามกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลของสหรัฐฯ หวังลดการขาดดุลทางการค้ากับนานาประเทศ เพียงประเทศไทยหันมาซื้อสินค้าสหรัฐฯ มากขึ้น มาตรการทางภาษีศุลกากร ก็น่าจะปรับมาในอัตราปกติได้ ขณะที่กลุ่มการเลี้ยงสุกรและปศุสัตว์ไทยเติบโตเร็วจนผลิตพืชอาหารสัตว์ในประเทศตามไม่ทัน ดังนั้น ถ้าเปลี่ยนแหล่งกำเนิดพืชอาหารสัตว์มาซื้อจากสหรัฐฯ มากขึ้น ก็จะช่วยให้การเจรจาของรัฐบาลไทยง่ายยิ่งขึ้น
สมาคมฯ ได้ศึกษาข้อกฎหมายในการประกาศดังกล่าว ที่เป็นการเร่งแก้ปัญหาการขาดดุลทางการค้าของประเทศของสหรัฐฯ ซึ่งข้อเสนอในการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวสาลี กากถั่วเหลือง และ DDGS เพิ่มในลักษณะเปลี่ยนถิ่นกำเนิดของการนำเข้าเป็นสหรัฐอเมริกา จะสามารถเพิ่มมูลค่าทางการค้าให้กับสหรัฐฯ ในการส่งสินค้ามายังประเทศไทยได้สูงถึง 84,000 ล้านบาท หรือ 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ตามข้อเสนอของสมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำฯ ฉบับลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568