9 มิ.ย. ปลดล็อก "กัญชา กัญชง" พ้นยาเสพติด ปลูกได้ไม่ต้องขออนุญาต

9 มิ.ย. ปลดล็อก "กัญชา กัญชง" พ้นยาเสพติด

9 มิ.ย. ปลดล็อก "กัญชา กัญชง" พ้นยาเสพติด ปลูกได้ไม่ต้องขออนุญาต





ad1

นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ.2565 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ซึ่งจะมีผลให้ทุกส่วนของกัญชา กัญชง ไม่ใช่ยาเสพติดประเภท 5 ยกเว้นสารสกัดที่มีสาร THC เกิน 0.2% ยังเป็นยาเสพติด ในเรื่องการปลูกนั้น ผู้ที่ต้องการปลูกสามารถปลูกได้

.
โดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงจดแจ้งผ่านแอปพลิเคชัน “ปลูกกัญ” ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตรียมจะนำมาใช้ในการจดแจ้งการปลูกกัญชาเพื่อดูแลสุขภาพสำหรับประชาชนทั่วไป แนวทางปลูก/นำเข้า "กัญชา กัญชง" แบบถูกกฎหมาย หลังปลดล็อก 9 มิ.ย.นี้
.
รวมทั้งการขออนุญาตปลูกในเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้พืชสมุนไพรที่เหมาะสม ทั้งนี้ การนำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชา กัญชง  ส่วนอื่นๆ ของพืช เช่น ช่อดอก ใบ กิ่ง ก้าน ไม่ต้องขออนุญาตนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด 
.
แต่ต้องขออนุญาตนำเข้าตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518  และพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 หากเป็นสารสกัดที่นำเข้าจากต่างประเทศ จัดเป็นยาเสพติดให้โทษ ต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
.
ในส่วนของการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชา กัญชง และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชา กัญชง รวมทั้งกรณีนำเข้าเพื่อใช้เฉพาะตัว
.
ซึ่งหมายถึงการนำติดตัวผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และการส่งทางพัสดุ/ไปรษณีย์ระหว่างประเทศนั้น ต้องเป็นไปตามกฎหมายของผลิตภัณฑ์นั้น เช่น ในกรณีของผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องสำอางจะห้ามนำเข้า
.
ส่วนกรณีของผลิตภัณฑ์สมุนไพรนั้น อยู่ระหว่างการจัดทำกฎระเบียบเพื่อห้ามนำเข้าและกรณียกเว้น ทั้งนี้ อย. มีนโยบายในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการผลิตและใช้วัตถุดิบที่มาจากการปลูกในประเทศ 
.
ทั้งนี้กรมวิชาการเกษตรพัฒนาต้นกล้ากัญชากัญชงรวมกัน 1 ล้านต้น ให้มีความแข็งแรง ป้องกันโรคต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีชีวภัณฑ์นำสิ่งมีชีวิตมาควบคุมสิ่งมีชีวิต ซึ่งดีกว่าการใช้ยาที่นำไปสู่การสะสมของสารพิษ การก่อโรคต่างๆ โดยเฉพาะมะเร็ง ซึ่งจะนำไปให้ประชาชนปลูกในครัวเรือนและใช้ประโยชน์ อาจเป็นเรื่องประกอบอาหาร ใช้รักษาสุขภาพตนเอง
.
เมื่อปลดล็อกแล้วประชาชนเข้าถึงการปลูก สธ.จึงลงนามร่วมกับกรมวิชาการเกษตร เพื่อสนับสนุนการนำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือน ทางการแพทย์ และศึกษาวิจัย
.
โดยขณะนี้มีกฎระเบียบที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงเพื่อสนับสนุนให้มีผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด จำนวน 7 ฉบับ ซึ่ง อย. จะแจ้งความคืบหน้าให้ทราบเป็นระยะต่อไป  
.
หากมีข้อสงสัยเรื่องการปลูกให้สอบถามเพิ่มเติมโทร 02-590-7767 , 02-590- 7793 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ รองเลขาธิการ กล่าวในที่สุด