คนพัทลุงแห่ปลูกปาล์มน้ำมันทำพื้นที่นาเหลือ 6 หมื่นไร่ จากเดิมกว่า 1 แสนไร่


ชาวนาภาคใต้พื้นที่ทำนาทยอยลดลง พัทลุงจากกว่า 100,000 ไร่ เหลือ 60,000 ไร่ แปลงเป็นสวนปาล์มน้ำมัน เตรียมยกร่าง “พรบ.ชาวนา” พัทลุงเสนอเครื่องจักรปลอดภาษี ยุ้งฉางสต๊อกข้าว แนวโน้มชาวนาจะดีขึ้น ระบุ “ข้าวหลังน้ำ” ปี 68 คาดแนวโน้มเหลือ 5,000 บาท / ตัน ภาษีศุลกากรกรสหรัฐณฯพ่นใส่ ยกเว้นข้าวหอมปทุม มะลิ พื้นเมืองราคาคงกระพัน 10,000 กว่าบาท
นายสุภาพ มุสิกะศิริ ประธนสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า ชาวนาไทย ได้ยกร่างพระราชบัญญัติชาวนา ซึ่งได้มีการทำประชาพิจารณ์กับชาวนาทั่วประเทศ และถัดไปจะเดินทางมาทำประชาพิจารณ์ที่ จ.พัทลุง ประมาณเดือนพฤษภาคม 2568 เพื่อนำเสนอต่อสภาเกษตรกรแห่งชาติแล้วนำเสนอต่อรัฐบาลพืจารณาดำเนินการเพื่อนำมาบังคับใช้ต่อไป
หลักการทำประชาพิจารณ์จะอยู่ที่จังหวัดภาคกลางเป็นจังหวัดพื้นที่ชาวนารายใหญ่ของประเทศ และสำหรับ จ.พัทลุง จะมีการนำเสนอเรื่องต้นทุนการผลิต เช่น เครื่องจักรปลอดภาษี เป็นต้น เพราะเครื่องจักร โดยเฉพาะรถแทรกเตอร์จะมีต้นทุนที่สูง
นายสุภาพ กล่าวอีกว่า ส่วนภาวะการตลาดเรื่องราคาข้าวขณะนี้โดยข้าวหลังน้ำคาบเกี่ยวกับข้าวฤดูนาปรังซึ่งอยู่ระหว่างเก็บเกี่ยว ราคาได้ตกลงมากจากผลกระทบกับนโยบายภาษีศุลกากรสหรัฐ ส่งผลให้ข้าว กข.79 ตกลงมาเหลือประมาณ 5,500 บาท / ตัน และบางสายพันธุ์เหลือ 5,000 บาท / ตัน ส่วนหอมปทุมประมาณ 8,000 บาท / ตัน จากเดิม ส่วนข้าวหอมมะลิ ข้าวพันธุ์พื้นเมือง เล็บนก เฉี้ยง สังข์หยด ราคาไม่ได้ตกและกว่า 10,000 บาท ส่วนหอมปทุม ราคาก็ตกไม่มาก
“ข้าว กข.79 ฯลฯ จากที่ราคาดีมากประมาณ 8,000 บาท – 10,000 บาท ตอนนี้เหลือ 5,500 บาท และบางพันธุ์แนวโน้มเหลือ 5,000 บาท / ตัน”
นายสุภาพ กล่าวอีกว่า ขณะที่ราคาข้าวปรับตัวลดลงแต่สินค้าปัจจัยที่ทำนากลับราคาคงที่และเพิ่มขึ้น เช่น ราคาปุ๋ย 850 บาท และ 950 บาท / กระสอบ ได้มีการปรับตัวกระสอบละ 20 บาท และ 30 บาท จะขึ้นอยู่กับแต่ละยี้ห้อปุ๋ย และจากราคาที่ถดถอยลงในฤดูกาลนี้นาปี น่าจะมีการทำลดลง เพราะได้รับทราบจากเครือข่ายชาวนาทางภาคกลางบางรายว่าจะชะลอ เพราะลงทุนทำไปอาจจะกระทบและขาดทุน
นายสุภาพ กล่าวต่อว่า ต้นทุนการผลิตทำนา จ.พัทลุง ประมาณ 3,500 บาท / ไร่ เช่น ค่าปุ๋ย รถจักรไถนา ค่าแรงทำนา 400 บาท / วัน และอัตราค่าแรงงานแม้ว่าจะสูงก็ตาม แต่แรงงานทำนาจะหายากมากคนุร่นใหม่ไม่ทำการเกษตร โดยคนร่นเก่า อนุรักษ์นาก็ทยอยหดตัวไป
“แต่ถึงอย่างไรก็ค่อนข้างจะดีขึ้นเรื่องขาดแคลนแรงงานเนื่องจากมีเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน เช่น โดรน ในการหว่านปุ๋ย หว่านข้าว ฯลฯ และราคาจะต่ำกว่าใช้แรงงาน เช่น หว่านข้าว 80 บาท / ไร่ หากแรงงาน 100 บาท / กระสอบ”
นายสุภาพ กล่าวอีกว่า แนวโน้มการทำนาหากมีราคาที่ไม่จูงใจ พื้นที่ทำนาภาคใต้ก็จะทอยลดลง เช่น จ.พัทลุง จากหลายแสนไร่ตอนนี้เหลือประมาณ 60,000 ไร่ พื้นที่ทำนาได้แปรสภาพเป็นพื้นที่ปาล์มน้ำมันจากราคาที่จูงใจกว่า ทางภาคใต้ โดยเฉพาะ จ.พัทลุง ภายในจังหวัดจะมีข้าวไม่พอต่อการบริโภค ต้องมีการนำเข้าเข้าสู่โรงสีข้าวเป็นล๊อตใหญ่ขนาดรถรรทุกพ่วง
“ให้ชาวนาอยู่ได้ต้องมีแรงจูงใจการทำนา จะต้องราคาประมาณ 10,000 บาท / ตัน” นายสุภาพ กล่าว และว่า
คือชาวนาต้องมีต้นทุนที่ไม่สูงคือการมีอุปกรณ์ทำนาสนับสนุน เช่น เครื่องจักร มียุ้งฉางกักเก็บข้าว ยุ้งฉางเป็นกลไกสำคัญเมื่อเวลาราคาข้าวตกต่ำ จะสามารถเก็บสต๊อกไว้คอยออกขายเมื่อได้ราคาเหมาะสม
“หากชาวนามีต้นทุนต่ำไม่แตกต่างกับชาวนาประเทศอินเดีย และประเทศเวียดนาม ชาวนาไทยจะอยู่ได้และข้าวไทยจะสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ดี”