หนุ่มวิศวะพะเยา คิดเป็น สร้างแบรนด์ “ลินชวา” สู่ตลาดแฟชั่น


หนุ่มวิศวะ จากกว๊านพะเยาที่เรียนจบมาทางสายอิเล็กทรอนิกส์ หันมาทำงานบริษัทญี่ป่นมาหลายปี เก็บหอมรอมริบ เพื่อทำมาสร้างธุรกิจเป็นของตนเอง จึงกลับสู่ถิ่นบ้านเกิดกว๊านพะเยา เล็งเห็นขุนทรัพย์ วัตถุดิบจากธรรมชาติมากมาย แถมยังมีภูมิปัญญาชาวบ้านที่ทำผลิตภัณฑ์มาจากวัตถุดิบธรรมชาติมาออกแบบ สิ่งของ เครื่องใช้ และสินค้าแฟชั่น
จึงเกิดไอเดียอยากที่เข้ามาส่งเสริมกลุ่มชาวบ้านต๊ำน้ำล้อม ต.บ้านต๊ำ อ.เมือง จ.พะเยา ที่ทำงานฝีมือผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน จากผักตบชวา ซึ่งถือว่าเป็นวัชพืชที่เติบโตในแหล่งน้ำมากมาย ถ้าหากไม่มีการกำจัดและนำมาแปรรูปที่ถูกวิธี จะเป็นปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม
เพราะทราบกันดี “ผักตบชวา” ถ้ามีการเติบโตเกิดขึ้นจำนวนมากตามกว๊านพะเยา ลำธารต่างๆ ส่งผลกระทบต่อการขัดขวางการสัญจรทางน้ำ และการทำการประมงได้ลำบาก ดังนั้น ชาวบ้านจึงมีการรวมตัวกัน เพื่อนำผักตบชวามาแปรรูปทำเครื่องจักสานต่างๆ อย่างน้อยใช้เป็นวัตถุดิบจากผักตบชวานำมาใช้ประโยชน์ได้หลายหลาย
นที คำเรืองฤทธิ์ ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม เจ้าของแบรนด์ LINCHAWA ที่นำผักตบชวามาแปรรูป เล่าว่า หลังจากลาออกจากวิศวกร ตนกลับมาบ้านเกิดที่พะเยา เริ่มเห็นช่องทางการตลาด เพราะว่าผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาที่ชาวบ้านนำมาแปรรูปขายในท้องถิ่น สินค้าค่อนข้างที่สวยงาม แต่มีแนวคิดใหม่ว่า จะต้องเป็นสินค้าที่ออกแบบดี ให้เป็นแฟชั่น เพื่อขายให้คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ได้ และต้องตอบโจทย์การตลาดได้ เพราะว่าเรื่องฝีมือการทำสินค้าจากภูมิปัญญาชาวบ้านมีความโดดเด่นเป็นทุนส่วนตัวอยู่แล้ว
ดังนั้น ตนพยายามที่หาความรู้ใหม่ๆเพิ่มเติม ทั้งเรื่องการตลาด การสร้างแบรนด์ และการออกแบบเพื่อให้เป็นสินค้าที่ดูดี มีดีไซน์ที่สวยงาม จึงได้รับความร่วมกรมพัฒนาชุมชนในท้องที่มาให้ความรู้เพิ่มเติม และร่วมโครงการ “โคโยริภาคเหนือ” ซึ่งเป็นโครงการที่พัฒนามูลค่าของงานฝีมือภาคเหนือ เพื่อร่วมพัฒนานักออกแบบรุ่นใหม่ ได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญ จากมหาวิทยาลัยชื่อดังประเทศญี่ปุ่น, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลภาคเหนือ เพื่อที่เพิ่มขีดความสามารถในการตลาดด้วยนววัตกรรมและวัฒนธรรมสร้างสรรค์
“หลังจากที่ร่วมโครงการฯ สามารถได้แนวคิดการทำงาน และพัฒนาสินค้า ดูดี ทันสมัย สร้างมูลค่าขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋า แฟชั่น สินค้าตกแต่ง แจกันและอื่นอีกมากมาย จนได้รับการยอมรับผลิตภัณฑ์ ขึ้นชั้นระดับโอทอปพรีเมี่ยมของกรมพัฒนาชุมชน จุดนี้เองส่งผลให้สินค้าได้นำไปโปรโมทในงานต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมาสินค้าที่ผลิตออกมาขายอย่างเดียว แต่ยุคนี้ต้องสร้างความหลากหลายสินค้ามากขึ้น ปัจจุบันมีกลุ่มลูกค้าในแถบยุโรป ทั้งอเมริกา อังกฤษ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้างานคราฟมีแนวโน้มค่อนข้างดี ปัจจุบันมีการทำตลาดออนไลน์ควบคู่ไปด้วย นอกเหนือการออกงานแฟร์จ่างๆ ภาครัฐจัดขึ้น เพื่อที่แนะนำสินค้าให้ตลาดรู้จักกันกว้างขึ้น ทั้งลูกค้าไทยและต่างชาติ"