ก้าวที่สอง “น้าอารีย์”จากนักการเงินหันหน้าสู่ “ไร่ภูริฟาร์ม”ที่วังทอง
ตลอดระยะเวลา 23ปี บนถนนสายการเงินและการธนาคาร ของ "น้าอารีย์ ภูริปรีชานนท์"ที่ใช้ชีวิตอยู่ในห้องแอร์ทำงานออฟฟิศ ฝ่ายสินเชื่อ ธนาคารออมสิน จนกระทั่งเข้าสู่วัยเกษียณอายุการทำงาน แต่ชีวิตยังไม่เคยหยุดนิ่ง ยังรักและมีเรี่ยวแรงที่อยากทำงานต่อไปเรื่อยๆในยามที่มีกำลังและมันสมอง สองมือ
แม้ว่า วันนี้อยู่ในช่วงวัยพักผ่อน ใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างสุขสบาย แต่ “คุณน้าอารีย์” ยังหันหน้ามาสู่ไร่ ทำสวนเกษตรเล็กๆน้อยๆ เพื่อวางรากฐานชีวิตให้กับลูกๆได้มีสืบทอดธุรกิจเล็กๆที่ก่อร่าง สร้างตัวขึ้นมา เพราะในอดีตชีวิตเติบโตมาจากครอบครัวเกษตรกร คุณพ่อคุณแม่เป็นชาวนาได้ปลูกฝั่งชีวิตอาชีพเกษตรกรมาตั้งแต่เด็ก จนก้าวขึ้นมาทำงานธนาคาร มีหน้าตาทางสังคมอย่างสมเกียรติ
“คุณน้าอารีย์” หนึ่งในสมาชิกของบริษัท ทรัพย์ยั่งยืนหรือ sy เปิดใจว่า ก่อนหน้าที่จะมาทำงานธนาคารออมสิน ในอดีตเคยเป็นอาจารย์ สอนที่เทคนิคและพาณิชยการ ที่อุตรดิตถ์มาก่อน 2 ปี หลังจากจบการศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงเชียงใหม่ ช่วงจบการศึกษาใหม่ๆ ไฟแรงอยากทำงานเลี้ยงตัวเอง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายครอบครัว ด้วยความที่มีพี่น้องหลายคน และตนเป็นคนสุดท้อง ต้องหางานทำ มีเงินเดือนให้ได้
เนื่องจากว่าในระหว่างเรียนต้องใช้เงินเพื่อการศึกษา ค่าเทอมค่อนข้างสูง เพราะเรียนมหาลัยเอกชน ทางฝั่งพี่ๆส่งน้องเรียนควบคู่ไปด้วย พอจบมาพ่อแม่มีที่นาอยู่ราว 100 กว่าไร่ ที่ตำบลท่าสัก อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งแบ่งปั่นกันให้กับพี่ๆ ส่วนตนได้ทำงานธนาคาร พอที่เลี้ยงชีพและหาเลี้ยงครอครัวได้เป็นเสาหลัก เพราะว่ามีบุตรชายและบุตรสาว ปัจจุบันทำงานธนาคาร สร้างอนาคตตัวเองได้
ส่วนลูกชายหันมาทำสวนเกษตร “ไร่ภูริ ฟาร์ม” อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งพอตนออกจากธนาคารออมสินได้เงินมาก้อนหนึ่ง นำมามาลงทุนทำฟาร์ม เพาะปลูกพืชตระกูลแตง ประเภทไม้เลื้อย “เมล่อน” บนเนื้อที่ 11 ไร่ พร้อมปลูกพืชกันชน “ไผ่ซางหมน” ที่นิยมปลูกกันมากแถบภาคเหนือควบคู่ไปด้วย
“ช่วงแรกๆได้ตัดสินใจมากทำฟาร์ม ปลูกเมล่อน เพราะเห็นว่าหลังจากเกษียณ จะได้มีเวลาพักผ่อนอยู่กับสวน ใช้ชีวิตอยู่กับต้นไม้ เดินเล่นออกกำลังกายรอบๆสวน ซึ่งเรามีความสุข ตื่นเช้ามารดน้ำ ใส่ปุ๋ย ถ้ามุ่งมั่นทำอย่างจริงจัง สร้างรายได้ดีไม่น้อย จึงปรึกษาลูกๆว่าจะหันมาปลูกเมล่อน เพราะสร้างรายงาม ถ้าสามารถบริหารจัดการได้ดี แต่ละเดือนสามารถเก็บผลผลิตขายตลาดได้ไม่ยาก” คุณน้าอารีย์กล่าว
ประกอบกับช่วงแรก พอที่มีเงินทุนหมุนเวียนนำมาพัฒนาพื้นที่ ทำฟาร์มขนาดเล็กๆได้ เพราะพอมีเงินที่เก็บออมอยู่บ้าง โดยระยะแรกใช้เงินลงทุน 2 แสน เพื่อจัดทำโรงเรือน สร้างระบบน้ำ ปรับพื้นที่ แต่ยังขาดองค์ความรู้ แต่เป็นช่วงจังหวะที่ดีมีหลานชายทำงานเจ้าหน้าที่วิจัยเกษตร ที่มีความเชี่ยวชาญการปลูกเมล่อน คอยมาให้คำปรึกษา แนะนำการปลูกเมล่อนให้ถูกหลักทางการเกษตร
ซึ่งตนโชคดีที่มีลูกชาย ค่อนข้างสนใจเรื่องการทำเกษตร จึงควักเงินลงทุนให้ลูกเพาะปลูกดู แต่ไม้เถาว์ประเภทนี้ ไม่ได้เพาะปลูกได้ง่ายเหมือนกับปลูกแตงทั่วไป ต้องมีการวางระบบ การวางแผนการปลูก การบริหารจัดการ ทั้งเรื่องการปรับปรุงดิน ระบบน้ำ การถ่ายเทอากาศในโรงเรือน ต้องควบคุมให้ดี และต้องมีความรู้พอสมควร แต่ตนไม่มีประสบการณ์เรื่องนี้มาก่อน ต้องเรียนรู้อยู่พอสมควร
“การปลูกเมล่อน สามารถปลูกได้ 7-8 ปี หลังจากนั้นต้องพักโรงเรือน เพื่อปรับปรุงดิน ระหว่างนั้นต้องหาพืชมาปลูกทดแทน ซึ่งเมล่อนเป็นพืชที่ไม่ชอบฝนมาก บางครั้งฝนตกเยอะ อาจทำให้ใบเกิดความเสียหายได้ ยิ่งปีนี้เจอโลกรวน อากาศร้อนจัด พอหน้าฝน เกิดฝนตกหนัก ต้องดูแลเป็นพิเศษ” คุณน้าอารีย์กล่าว
แต่พอมีผลผลิตออกมา 5 ปีแรกค่อนข้างดี สามารถสร้างรายได้งวดละ 3-4 หมื่นบาท ส่งขายให้พ่อค้า ที่นำไปส่งต่อห้างสรรพสินค้าดังในกรุงเทพฯ และพ่อค้านำส่งออกไปต่างประเทสด้วย แต่ช่วงหลังๆ เจอคู่แข่งมากมาย เกิดการตัดราคา และความต้องการบางช่วงล้นตลาดบ้าง ทำให้ผู้ผลิตต้องแย่งชิงลูกค้าค่อนข้างสูง ส่งผลต่อเรื่องราคา
ดังนั้น กาปรับตัวในช่วงปีหลัง หันมาทำฟาร์มเป็ดไข่ เพื่อสร้างรายได้อีกช่องทางหนึ่ง ปัจจุบันมีเป็ดอยู่ 2,500 ตัว สามารถเก็บไข่เป็ดได้ 60 แผงต่อวัน สร้างรายได้ราว 4 หมื่นกว่าบาทต่อเดือน แต่ต้นทุนการเลี้ยงเป็ดค่อนข้างสูง ทั้งค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายคนงาน ค่าไฟ ค่าน้ำ และค่ายา อื่นๆอีกมากมาย แต่ในอนาคตกำลังวางแผนทำฟาร์มเป็ด เลี้ยงปลาควบคู่ไปด้วย
พร้อมกันนั้น ได้หันมาร่วมเป็นสมาชิกค่าย sy ควบคู่ไปด้วย เนื่องจากเห็นว่า เป็นบริษัทมหาชน ที่มีความมุ่งมั่นและตั้งใจทำงานสูง และสอดรับแนวทางของตน เนื่องจากบริษัทมีแนวทางที่ช่วยเหลือเกษตรกร สร้างงาน สร้างอาชีพ เน้นรากหญ้า ซึ่งเป็นองค์กรน่าสนใจและยังให้ความรู้ใหม่ๆกับสมาชิกอย่างต่อเนื่อง ตนมุ่งหวังที่อยากได้เงินมาลงทุนการทำเกษตรกรรม และเลี้ยงเป็ด เพื่อนำมามขายผ่านระบบแพลตฟอร์มในอนาคต
นี่คือหนึ่งไอเดีย หนึ่งสมาชิกของค่ายsy ที่คิดเป็น ทำเป็น ต้นแบบของการทำมาหากินยุคใหม่ อาชีพทำการเกษตรแบบ “SMART FARMER” ที่นำความรู้เกษตรแนวคิดใหม่มาใช้การจัดการได้สำเร็จ