ยุคกระแสบริโภคนิยม“อย่าให้เงินเป็นนายเรา เราต้องเป็นนายมัน”

ยุคกระแสบริโภคนิยม“อย่าให้เงินเป็นนายเรา เราต้องเป็นนายมัน”





Image
ad1

ท่ามกลางสังคมเศรษฐกิจ “กระแสบริโภคนิยม” ไหลเชี่ยวกราก พึงระวัง  ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นไม่ตามใคร พวกไหน “อย่าให้เงินเป็นนายเรา เราต้องเป็นนายมัน”

พิธีละหมาดประจำวันศุกร์มัสยิดบ้านด่านโลด หมู่ 3  เทศบาลตำบลควนเสาธง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง นายมนัส กะหละหมัด บิลานมัสยิดบ้านด่านโลด ได้กล่าวคุฏบะฮุประจำวันศุกร์ ระบุว่าความเป็นอยู่ของสังคมปัจจุบันในเรื่องของเศรษฐกิจนั้นเป็นความสำคัญยิ่งในเรื่องของการใช้จ่ายในการดำรงชีพประจำวัน ที่จากในวันหนึ่ง ๆ ต่างต้องหาเงินและต่างหาในหนทางที่สุจริตว่าจะได้มากหรือได้น้อยก็ตาม ขอให้ได้ในหนทางของพระองค์อัลลอฮฺ  (ซบ.) ที่ทรงยินดี

ทั้งนี้เพราะโลกเรากำลังตกอยู่ในภาวะของกระแสบริโภคนิยมที่เชี่ยวกรากถาโถมอย่างรุนแรง จนส่งผลกระทบให้กับสังคมปัจจุบัน จนกระทั่งได้มีพฤติกรรมที่มีความโลภที่ไม่มีสิ้นสุด และมีการใช้จ่ายที่กันฟุ่มเฟือยจนเกินตัวและเกินความจำเป็น ทั้งยังมีการแข่งขันชิงดีชิงเด่น จนแม้กระทั่งถึงการละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ตัวเองมีความต้องการและจนกระทั่งถึงมีการทำลายสิ่งแวดล้อมเพราะจากความที่เห็นแก่ได้  โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและชุมชน 

นายมนัส กล่าวอีกว่า กระแสบริโภคนิยม จะส่งผลอันตรายต่อวิถีชีวิตของมุสลิม ซึ่งจากที่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียง่ายไม่ฟุ่มเฟือย สมถะ รู้จักควาพอดีในการบริโภคและการใช้จ่ายซึ่งเป็นวิถีตามหลักคำสอนของพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน

“การบริโภคที่พอดีโดยไม่มากจนเกินไปและก็ไม่น้อยจนเกินไป  ใช้จ่ายแต่พอดีและจะก็ไม่ตระหนี่ขี้เหนียวด้วย การบริโภคเช่นนี้จะเป็นที่รักยิ่งแก่พระองค์อัลลอฮ (ซบ.)”

นายมนัส กล่าวอีกว่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่าจะไม่มีวันอับจนสำหรับผู้ที่รู้จักในการใช้จ่าย  ดังนั้นเรื่องของการใช้จ่ายจงอย่าไปตามใคร และก็อย่าตามพวกไหน  ให้เราตามอย่างเดียวคือใช้จ่ายตามที่พระองค์ทรงมีคำสั่งและใช้จ่ายตามพ่อแม่ของเรา เพราะว่าเงินทองเป็นของหามาได้อย่างยากลำบากมาก จึงให้ใช้จ่ายให้ผลที่คุ้มค่า  เมื่อใช้จ่ายเงินในดุนยาได้โลกนี้ เราก็ต้องใช้จ่ายได้ในหนทางที่มีผลบุญกุศลในโลกอาคิเราะห์โลกแห่งการตอบแทนโลกหน้า

“อย่าให้เงินเป็นนายเรา เราต้องเป็นนายมัน ใช้จ่ายให้สมกับที่พระองค์อัลลอฮ ทรงประทานมาให้เรา” นายมนัส ระบุ.