รัฐเทงบ 1.5 หมื่นล.ไม่เพียงพอแก้หนี้เกษตรกรต้อง 1 แสนล้านสางได้

รัฐเทงบ 1.5 หมื่นล.ไม่เพียงพอแก้หนี้เกษตรกรต้อง 1 แสนล้านสางได้





ad1

กองทุนฟื้นฟู ต้องใช้เงิน 100,000 ล้าน จึงคลี่คลายหนี้ ระบุ ปัญหาที่ดินหลุดมือเกษตรกรสะเทือนความมั่นคง วงเงิน 15,000 ล้านบาท อนุมัติสมัยรัฐบาลประยุทธ์ เดินเครื่อง ทั้งบัญชี และบัญชี 2 ครบกว่า 50,000 ราย จ่าทั้งยเงินต้น ดอกเบี้ย  ส่งสัญญาญถึง กฟก.หามาตรการช่วยด่วน กฟก.ขาดองค์ประกอบกฎหมาย  กรรมการ กฟก. 4 คน อยู่ระหว่างศาลปกครองคุ้มครอง เกษตรกรเดือดร้อนหนัก รอล้มละลาย พิทักษ์ทรัพย์ ขายทรัพย์สินทอดตลาด  

นายดรณ์ พุมมาลี คณะกรรมการ กฟก.ภูมิภาคที่ 4 เปิดเผยว่า จากมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มีนาคม 2565 สมัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เห็นชอบหลักการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยเกษตรกรทำสัญญาใหม่ในการปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้เดิม โดยพักชำระเงินต้นครึ่งหนึ่ง จำนวน 50 % และดอกเบี้ยทั้งหมดไว้ก่อน

ทั้งนี้เกษตรกรทำสัญญาผ่อนชำระเงินต้น 50 % ตามระยเวลาที่ตกลงกัน แต่ไม่เกิน 15 ปี ซึ่งสำหรับเงินชดเชยเงินต้น 50%  ในส่วนนี้เกษตรกรไม่ต้องรับภาระ โดยรัฐจะรับภาระ ทั้งหมดมีกลุ่มเป้าหมาย 50,621 รายทั่วประเทศ โดยมี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 47,973 ราย  ธนาคาออมสิน จำนวน 552 ราย  ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวน 1,008 ราย  ธนาคารพัฒนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย จำนวน 88 รายทั้งนี้โดยรัฐบาลจัดสรรให้เป็นเงินทั้งหมดกว่า  15,481 ล้านบาท

สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ปรับโครงสร้างหนี้กัยธนาคารเพื่อการเกษตรฯ  จำนวน 47,973  เงินต้นครึ่งหลังกว่า 14,680 ล้านบาท ดอกเบี้ยกว่า 10,089 ล้านบาท รวมกว่า 24,000 ล้านบาท กลุ่มเป้าหมายของธนาคารออมสิน จำนวน 552 ราย เงินชดเชยกว่า 254 ล้านบาท เงินต้นครึ่งหลังกว่า 153 ล้านบาท กว่า 173 ล้านบาท ธนาคารสงเคราะห์ จำนวน 2008 ราย  กว่า 631 ล้านบาทเงินต้นครึ่งหลังกว่า 153 ล้านบาท  ดอกเบี้ยกว่า 478 ล้านบาท ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 88 ราย วงเงินชดชเขยเงินต้นครึ่งหลังกว่า 536 ล้านบาท ดอกเบี้ย ฯลฯ กว่า 398 ล้านบาท

ทั้งนี้ การกำหนดกรอบวงเงินสำหรับจัดสรรงบประมาณกว่า 15,481 ล้านบาท ประจำปี 2568 – 2580 ระเวลา 15 ปี โดยในปี 2568 เกษตรกร  จำนวน1,000 ราย ทั้งเงินต้น และดอกเบี้ยกว่า 305 ล้านบาท  ปี 2569 จำนวน 2,000 ราย ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยกว่า 633 ล้านบาท  ปี 2570 จำนวน 3,000 ราย ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย กว่า 917 ล้านบาท  ปี 2571 จำนวน 4,000 ราย ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยกว่า 1,223 ล้านบาท  ปี 2572 จำนวน 4,500 ราย ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยกว่า 3,376 ล้านบาท  ปี 2573 จำนวน 4,500 ราย ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยกว่า 1,376 ล้านบาท

ปี 2574 จำนวน  5,000 ราย ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยกว่า 1,529 ล้านบาท ปี 2575 จำนวน 5,500 ราย ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยกว่า 1,682 ล้านบาท ปี 2576 จำนวน 5,000 ราย ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยกว่า  1,529 ล้านบาท
ปี 2577 จำนวน 5,000 ราย ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยกว่า 1,529 ล้านบาท ปี 2578 จำนวน 4,500 ราย ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย1,376 ล้านบาท ปี 2579 จำนวน 4,000 ราย ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยกว่า 1,223 ล้านบาท และปี 2580 จำนวน 2,621 ราย ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยกว่า 801 ล้านบาท

นายดรณ์ กล่าวอีกว่า  แต่สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการทำสัญญาใหม่ปรับโครงสร้างหนี้ในระยะแรก ที่แสดงตนเป็นกลุ่มที่ 1 ประมาณกว่า 20,000 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มบัญชี 1 ยังเหลืออีกกว่า 20,000 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ 2 เป็นบัญชี 2 ขณะนี้อยู่ระหว่าดำเนินการในเดือนมีนาคม 2567 และกำลังทยอยดำเนินการเพื่อให้ครบตามจำนวน 50,621 ราย ทั่วประเทศ

“ในส่วนของภาคใต้ มีเข้าร่วมโครงการประมาณเกือบ 300 ราย โฉดที่ดินประมาณ 1,500 ไร่”

นายดรณ์ กล่าวอีกว่า แต่มีประเด็น เนื่องจากคณะกรรมการ กฟก.ในส่วนภาคใต้ จำนวน 4 คน ถูกฟ้องศาลปกครองจังหวัดนครศรีธรรมราช และอยู่ระหว่างการคุ้มครอง โดยคณะกรรมการ กฟก.มีจำนวน 20 คนทั่วประเทศ ดังนั้นในการประชุมจะขาดผู้แทนภาคใต้ จะประชุมก็จะไม่ครบองค์ประกอบตามกฎหมาย  ดังนั้นแนวทางดำเนินการจึงอยากให้ สำนักงาน กฟก. เร่งหาวิธีการ เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ที่เกษตรกรกำลังประสบปัญหาที่หนักมาก เช่น จะถูกฟ้องล้มละลาย  พิทักษ์ทรัพย์  และทรัพย์สินจะถูกขายทอดตลาด

“สำหรับภาคใต้ที่ดินจะหลุดมือไปกว่า 1,500 ไร่ ยังไม่รวมถึงภาคอื่น ๆ ทั่วประเทศที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก” นายดรณ์ กล่าว 

นายดรณ์ กล่าวต่อว่า เกษตรกรผู้ร่มลงทะเบียนทำสัญญาใหม่ปรับโครงสร้างหนี้กว่า 50,000 ราย จะมีมูลค่าประมาณ 100,000 ล้านบาท  โดยเป็นหนี้ ธกส.ประมาณ 90 %  สหกรณ์ ธนาคารประมาณ 10 %  ซึ่งการแก้ไขหนี้สินเกษตรกรในส่วนนี้จะต้องใช้เงินงบประมาณ จำนวน 100,000 ล้านบาท จึงจะคลี่คลาย ดังนั้นต้องรอรัฐบาลใหม่พิจารณาในรอบปีงบประมาณต่อไปว่าจะมีการสนับสนุนเพียงใด โดยก่อนหน้านั้นได้ยุติไปประมาณ 3 ปี  

นายดรณ์  กล่าวอีกว่า สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการทำสัญญาใหม่ปรับโครงสร้างหนี้ กฟก. ส่วนใหญ่เป็นหนี้ร่วม 10 ปีขึ้นไป จะถูกฟ้องล้มละลาย พิทักษ์ทรัพย์ และทรัพย์สินจะถูกขายทอดตลาดเป็นจำนวนมาก ในที่สุดต้องเป็นผู้เช่าที่ทำกิน เช่น ภาคอื่น ๆ คือที่นา ไร่อ้อย เป็นต้น

“สำหรับภาคใต้ ที่เข้าร่วมโครงการ กฟก. ประมาณไม่เกิน 300 ราย และสำหรับ จ.พัทลุง จะเป็นรายไม่ขนาดใหญ่ ประมาณ 300,000 บาท 400,000 บาท  500,000 บาท / ราย เป็นเมืองการเกษตร แต่จังหวัดอื่นที่เป็นอุตสาหกรรม การลงทุน จะเป็นหลักล้านบาท ปัญหาที่ดินเกษตรกรทำกินจะเป็นปัญหาทางด้านความมั่นคง” นายดรณ์ กล่าว  

โดย...อัสวิน  ภักฆวรรณ