“กู้ภัยป่าภูเขา” ขาดแคลนหนักภาคใต้สวนทางท่องเที่ยวป่าภูเขาฮิตติดลมบน

“กู้ภัยป่าภูเขา” ขาดแคลนหนักภาคใต้สวนทางท่องเที่ยวป่าภูเขาฮิตติดลมบน





Image
ad1

“กู้ภัยป่าภูเขา” ขาดแคลนหนักภาคใต้ สวนเศรษฐกิจการท่องเที่ยวป่าภูเขาน้ำตก ยอดความนิยมพุ่ง ระบุ ภาครัฐควรบริหารจัดการตั้ง หน่วยปฎิบัติการกู้ภัยป่าภูเขา ระบุ ทีมกู้ภัยป่าภูเขาเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด มีความอุปกรณ์ และบุคลาพรในพื้นที่แล้ว พร้อมปฏิบัติการ

นายสัมฤทธิ์ ชูกลิ่น หัวหน้ากู้ภัยป่าภูเขาพัทลุง MOUNTAIN RESCUE THAILAND พัทลุงมูลนิธิเพื่อการกุศล เปิดเผยว่า กู้ภัยป่าภูเขาพัทลุง มีภาระกิจปฎิบัติการสนับสนุช่วยผู้ประสบเหตุป่าภูเขาน้ำตกทั่ว 14 จังหวัดพร้อมกับกู้ภัยประจำถิ่น ทั้งในพื้นที่เขตรักษาพันธ์สัตว์เขาบรรทัด 4 จังหวัด พัทลุง ตรัง จรดถึงอุทยานแห่งชาติสันกาลีคีรี ฯลฯ ซึ่งจะเกิดประสบเหตุตลอด ทั้งทางป่าภูเขา และน้ำตก ฯลฯ โดยเฉพาะเขตรักษาพันธ์สัตว์เขาบรรทัดเฉลี่ยประมาณ 2 ครั้ง / เดือน

“โดนเฉพาะช่วงหน้าแล้งจะเป็นฤดูกาลไฮต์ซีซั่นท่องเที่ยวเดินป่าเรียนรู้ศึกษาธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวน้ำตก ก็อจะเกิดเหตุได้ กู้ภัยป่าภูเขาพัทลุง เมื่อได้รับการประสานก็จะเข้าไปสนับสนุนอย่างทันท่วงที” 

นายสัมฤทธิ์ กล่าวอีกว่า กู้ภัยป่าภูเขา ปัจจุบันขาดแคลนบุคลากร ขาดแคลนอุปกรณ์สนับสนุนการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ ซึ่งสำคัญมากแต่กลับขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังเห็นควรภาครัฐ และโดยเฉพาะรัฐบาล มีว่าความเห็นจะเข้ามาสนับสนุนอย่างเต็มที่  เพราะว่าเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า และเขตอุทยานแห่งชาติ ต่างเป็นแหล่งท่องเที่ยวเดินป่าเรียนรู้ศึกษาธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวน้ำตก ที่สร้างงานสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับพื้นที่และประเทศเป็นจำนวนมาก และขณะนี้เป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นทั้งชาวไทยและต่างชาติ 

นายสัมฤทธิ์ กล่าวอีกว่าเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า เขตอุทยาน แห่งชาติ ควรจะจัดตั้งกู้ภัยป่าภูเขาให้เป็นหน่วยงานหลักประจำถิ่นประจำพื้นที่ในที่ตั้งหน่วยรักษาพันธ์สัตว์ป่า และหน่วยอุทยานแห่งชาติในจังหวัดนั้น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประสบเหตุ ซึ่งจะให้ชุดกู้ภัยป่าภูเขา ฯลฯ ของมูลนิธิ เข้ามาสนับสนุน เนื่องจากกู้ภัยป่าภูเขาจะเปิดฝึกอบรมจะต้องจัดหางบประมาณกันเอง ต่างกับของรัฐที่สามารถจะเขียนโครงการและจัดสรรงบประมาณได้ มีความพร้อมอยู่แล้ว 

“เห็นควรสนับสนุนจัดตั้งกู้ภัยป่าภูเขาขึ้นมาเป็นหน่วยเฉพาะประจำถิ่นประจำพื้นที่ เพื่ออำนวยความสะดวกได้อย่างฉับพลันและมีประสิทธิภาพ” 

นายสัมฤทธิ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันกู้ภัยป่าภูเขา มีอยู่ประมาณ 20 คนทั่วภาคใต้ และใน 20 คน จะเป็นผู้ชำนาญการเฉพาะทาง เช่น แพทย์ พยาบาล เชือก เป้ ฯลฯ  และบางครั้งบางคนคราวเกิดประสบเหตุ กลับไม่ว่างเพราะติดงานประจำ ซึ่งตรงนี้จะเป็นอุปสรรคที่สำคัญสุด เท่าที่ผ่านมา

“ขณะนี้ขาดแคลนประมาณ 40 %  ทั้งบุคลากร และอุปกรณ์สนับสนุช่วยเหลือผู้ประสบเหตุจากที่ไม่มีงบประมาณสนับสนุนในแต่ละจังหวัด และบุคลากรที่อบรมไปแล้วถึง 5 รุ่น ประมาณ 150 คน ก็ทำงานเชี่ยวชาญได้เพียงไม่กี่คน ที่ผ่านมาการดูแลส่วนนี้น้อยมาก เห็นควรที่จะดำเนินการจัดสร้างหน่วยกู้ภัยป่าภูเขาขึ้น”

แหล่งข่าวจากกู้ภัยป่า เปิดเผยว่า ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวเดินป่าเรียนรู้ศึกษาธรรมชาติ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า และนักท่องเที่ยวน้ำตกเขตอุทยานแห่งชาติ ต่างมีผู้ประสบเหตุแต่บางเหตุในการจัดกู้ภัย และการสนับสนุนอุปกรณ์กู้ภัย กลับมีอุปสรรคไม่ทันต่อเหตุที่เกิดขึ้นสาเหตุมาจากระเบียบราชการในบางจุดจึงไม่สามารถที่จะช่วยเหลือได้อย่างทันต่อเหตุที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ในการอำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ จะต้องบริหารจัดการสถานการณ์การอำนวยความสะดวกอย่างทันท่วงทีต่อเหตุ ทางกลุ่มกู้ภัยป่าภูเขา จึงให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีการจัดรูปแบบโครงสร้างเป็นรูปธรรมปฏิบัติได้
คือ 

1.มีต้องคำสั่งจังหวัดดำเนินการจัดตั้งชุดปฏิบัติการ  เพื่อให้การปฏิบัติงาน คนทำงานปฏิบัติงานได้ปลอดภัย  อำนวยความสะดวกรวดเร็วฉับไว ที่ไม่เป็นอุปสรรคกับระเบียบราชการ 

2. มีคำสั่งการนำอุปกรณ์ที่จัดซื้อไปใช้ในการปฏิบัติภารกิจได้โดยรวดเร็วฉับไวต่อเหตุที่เกิดขึ้น ซึ่งจะไม่เป็นอุปสรรคระเบียบราชการ 3. ควรได้รับการสนับสนุนการฝึกทบทวนทักษะ และการสร้างเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง 

ทั้งนี้จะเกิดความเชื่อมั่นกับผู้ปฏิบัติการกู้ภัยป่าภูเขาได้ ซึ่งจะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประสบเหตุ

สำหรับบุคลากรกู้ภัยป่า โดยเฉพาะในพื้นที่ จ.พัทลุง ได้มีการอบรมไปแล้วประมาณ 150 คน แต่ที่สามารถปฎิบัติการได้ในภาคใต้มีประมาณ 10 %  
แหล่งข่าว ยังกล่าวอีกว่า กู้ภัยป่าภูเขา ขึ้นกับอุทยานแห่งชาติ แต่เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินนอกจากพื้นที่ จะเป็นอุปสรรคเรื่องเวลาที่ไม่ทันต่อเหตุ เพราะเหตุจะเกิดในป่าลึก เขา หน้าผา น้ำตก หุบเหว ซึ่งที่ผ่านมากรณีนี้จะเกิดขึ้น 

“และขณะนี้เป็นช่วงไฮต์ซีซั่นการท่องเที่ยวเดินป่าเรียนรู้ศึกษาธรรมชาติ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า และการท่องเที่ยวทางน้ำตก อุทยานแห่งชาติ ความพร้อมกู้ภัยป่าภูเขาจึงจะต้องมี” แหล่งข่าว ระบุ

แหล่งข่าวจากทีมกู้ภัยป่าภูเขา จ.พัทลุง เปิดเผยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด (จ.พัทลุง ตรัง สงขลา และ จ.สตูล)  ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก จ.พัทลุง เมื่อ ปี 2564 ในการจัดตั้งทีมค้นหาและกู้ภัยป่าภูเขาพัทลุงเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเดินป่าภูเขา และน้ำตก ในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ 

ซึ่งโครงการจัดตั้งกู้ภัยป่าภูเขา เป็นการฝึกอบรมและหลักปฏิบัติตามหลักวิชาการ โดยผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมมีกู้ชีพ กู้ภัย  มีเจ้าหน้าที่ป่าไม้ บุคลากรด้านการแพทย์  ไกด์ท้องถิ่น ฯลฯ พร้อมทั้งจัดซื้ออุปกรณ์สนับสนุนช่วยชีวิตผู้ประสบเหตุ ตามวัตถุประสงค์การเข้าช่วยเหลือสนับสนุนกรณีเกิดเหตุประสบเหตุป่าภูเขาน้ำตก และสำหรับอุปกรณ์กู้ภัยป่ามีความพร้อมและมีศักยภาพมากของเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด จะเป็นอันดับต้น ๆ ของภาคใต้.

โดย...อัสวิน ภักฆวรรณ