อส.ปราจีนฯฝ่าลมหนาวผลักดันโขลงช้างกว่า 100 กลับคืนสู่ป่าแปดริ้ว

อส.ปราจีนฯฝ่าลมหนาวผลักดันโขลงช้างกว่า 100 กลับคืนสู่ป่าแปดริ้ว





ad1

ปราจีนบุรี–หนาวนี้อาสาสมัครผลักดันช้างป่า 2ตำบล ผลักดันโขลงช้างกว่า100ตัว(+) ให้กลับคืนแปดริ้วตลอดคืน  พบยิ่งหนาว –แล้ง  ช้างยิ่งยกโขลงบุกกองทัพข้ามฝั่งมาหากินไกลข้ามฟากแปดริ้วมา ถึงปราจีนฯ   พร้อมมีแนวโน้มอพยพข้ามเข้ามาอยู่อาศัยยาว   ไม่ขอกลับคืนถิ่นที่อยู่เดิม

เมื่อเวลา 0.50 น.วันนี้ 30 พ.ย.66 ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานว่า  พบมีการโพสต์ในเฟสบุ๊คโดยผู้ใช้ชื่อนายธนเกียรติ ไชยราษฎร  อาสาสมัครผลักดันช้างป่า ต.วังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี   ได้ระบุข้อความว่า   ...     ขอความร่วมมือ จาก อาสาสมัคร จิตอาสา ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น ประจำพื้นที่ตัวเอง   เพื่อบล็อคช้างป่าจากเกาะป่าสะเดา    หมู่ที่ 11 ที่จะถูกผลักดันเข้าป่าอ่างฤาใน   จะผ่าน ม.4 กลุ่มบ้านโคกไม้แดง หมู่ 14   กลุ่ม เขามะก่อง   หมู่17 กลุ่มเขาลาย-คลองตัน เข้าป่าบะกระสอบ   โดยเจ้าหน้าที่อนุรักษ์ฯ เย็นนี้คับ 70+ …

ผู้สื่อข่าวได้สอบถามข้อมูลเบื้อง ต้น   และ จากนั้นลงพื้นที่    ทราบต่อมาจากนายธนเกียรติ  ว่า     ป่าสะเดา   เป็นพื้นที่   ที่โขลงช้างป่าจากเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเขาฤาไน จ.ฉะเชิงเทรา (ในพื้นที่ป่าราบต่ำผืนสุดท้ายของไทยในป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา ,จะสระแก้ว,จ.จันทบุรี,จ.ระยอง และ จ.ชลบุรี) มากกว่า 70 ตัว(+)  พากันยกโขลงข้ามฝั่งจาก จ.ฉะเชิงเทรา ข้ามฟากเข้ามาหากิน  และพักอาศัยในป่าสะเดาเป็นถิ่นที่อยู่   เนื่องจากมีเนื้อที่มากเกินกว่า 200 ไร่เศษ    เดิมพื้นที่แห่งนี้    เป็นพื้นที่สัมปทานของกรมป่าไม้ที่ทางสวนป่ากิตติเช่าสัมปทาน  อยู่ในเขตรอยต่อหลายหมู่บ้านของ  2 ตำบล   ระหว่าง  หมู่ บ้านวังกวาง หมู่ 14 ,หมู่ 8 ,หมู่ 11 , หมู่ 9 , หมู่ 6 ต.วังท่าช้าง  กับ พื้นที่หมู่ 11 ,หมู่ 4 ,หมู่ 14 ต.เขาไม้แก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี

โดยช่วงหน้าแล้ง-ช่วงหนาวนี้โขลงช้างป่าจะยกโขลงแรกมาก่อนพวกชุดสเก๊าหน้า โขลงแรกกว่า 10ตัว (บวก) ข้ามฝั่งจาก จ.ฉะเชิงเทราเข้ามาหากินก่อน  เหมือนเป็นการสำรวจพื้นที่แหล่งหากิน ที่อยู่ แหล่งน้ำ      หลังจากพื้นที่เกษตรนาข้าว ,ไร่มันสำปะหลัง ,ไร่อ้อยพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา เก็บเกี่ยวเกือบหมดแล้ว  ต่อมาจะมีโขลงช้างชุดอื่นตามกันมา  มามากกว่าชุดแรก มากกว่า 0 ตัว(+) หรือ 100 ตัว(+)  

โดยพื้นที่ของ ต.วังท่าช้าง,ต.เขาไม้แก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี มีแหล่งอาหาร แหล่งน้ำ และที่อยู่สมบูรณ์กว่า  และเมื่อข้ามฝั่งจังหวัดมาหากินที่ปราจีนบุรีแล้ว ไม่ยอมยกโขลงกลับ      กลับพากันยกโขลงอพยพเข้ามาเพิ่มมากกว่า 70 ตัว(+)   ในช่วงกลางวันจะพากันแยกโขลงออกไปหากิน โขลงละ10 ตัว ,20 ตัว 30ตัว  ,50 ตัวตามแหล่งอาหาร  และ  กลับมารวมโขลงที่ป่าสะเดาในหัวค่ำไม่ยอมกลับคืนผืนป่าถิ่นเดิมเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน   แปดริ้ว หรือ  จ.ฉะเชิงเทรา         แต่   ภายหลัง จากการใช้โดรนบินสำรวจพบประชากรช้างป่าที่ยกโขลงมานั้น   มีจำนวน   มากกว่าประมาณ 100 ตัว(+)

ในตลอดคืน  29พ.ย.66   ยาวต่อเนื่องข้ามวัน   จรดดึก  30 พ.ย.66 จึง   ร่วมบูรณาการ  ในทุกภาคส่วน   ทั้ง   ชุดอาสาสมัครเฝ้าระวังผลักดันช้างป่า ต.วังท่าช้าง , ต.เขาไม้แก้ว , ผู้นำท้องถิ่น ,กำนัน – ผู้ใหญ่บ้าน , สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (ส.อบต. )ทั้ง 2 ตำบล ต.วังท่าช้าง และ ต.เขาไม้แก้ว  อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี    พร้อมเจ้าหน้าที่ป่าไม้ชุดผลักดันช้างป่าจากนำโดยนายธวัชชัย  ช้างสาร  หน.ชุดผลักดันช้างป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน และ กำลังเกือบ 100 คน พร้อมอุปกรณ์  อาทิ รถกระบะยกสูง(โฟล์วิล) ,  รถไถเพื่อการเกษตร , อุปกรณ์ยิงไล่ช้าง  ปืนดัดแปลงยิงปะทัดไล่ช้าง ,การเดินเท้าพร้อมอุปกรณ์ส่องสว่าง  ทำการผลักดันให้โขลงช้างป่ากว่า 100 ตัว(+)  ผลักดันกลับคืนถิ่นผืนป่า   ป่าบะกระสอบ   เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จ.ฉะเชิงเทราต่อไป 

ทั้งนี้ตลอดช่วงทำการผลักดันนี้  นายเผด็จ  ลายทอง  ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่าได้รับรู้และประสานงานกับทางหัวหน้าชุดผลักดันช้างป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตลอด  ”  นายธนเกียรติ  กล่าว

ต่อมาเวลา 01.40 น. วันนี้ 30 พ.ย.66   แม้กลางดึกหนาว ๆ   ที่หมู่บ้านวังกวาง   พื้นที่  ที่ช้างเข้า   “ป่าสะเดา”   หมู่ 11,  หมู่ 4 ต.วังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี   จ.ปราจีนบุรี   ตั้งแต่หัวค่ำยาวจรดดึก  พบ   อาสาสมัครชุดเฝ้าระวังผลักดันช้างป่า –เจ้าหน้าที่   พร้อมด้วยชาวบ้านรวมมากกว่าจำนวน 60  คน   พร้อมผู้ร่วมผลักดันและ แกนนำ อาทิ    นายใหญ่กิติชัย ลาทอง ผู้ใหญ่หมู่ 8 ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอกบินทร์บุรี    , นายแอ๊ด ตะเภาพงษ์  ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า  ได้นำรถไถมาช่วยผลักดันช้างป่า   และ  ในส่วนพื้นที่อื่น ๆที่ต่อเนื่องกันไป  ในแต่ละพื้นที่ ได้มีการวางกำลังอาสาสมัคร  และชุดผลักดันไว้ตามลำดับ   โดยการประสานผ่านทางเครือข่ายการสื่อสาร และ ใช้โดรนบินสำรวจช่วยติดตามตลอดเส้นทางที่ผลักดันช้างผ่านกลับคืน  คือ   บ้านวังกวาง,บ้านวังมะกรูด,บ้านโคกไม้แดง

นายแอ๊ด ตะเภาพงษ์ ชาวบ้าน ต.วังท่าช้างผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า  ได้นำรถไถเพื่อการเกษตรมาช่วยทำการผลักดันช้างป่า   กล่าวว่า    “โขลงช้างป่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จ.ฉะเชิงเทรา  ที่ข้ามฝั่งเข้ามาหากิน     มารวมกันวันนี้( 30 พ.ย.) มากกว่า 80ตัว  (+)   ตนเองผลผลิตทางการเกษตร ทำไร่อ้อย และ นาข้าว   ได้รับความเสียหายมากกว่า 1ล้านบาท  

โดยผลผลิตไร่อ้อยที่ปลูกถูกช้างทำลายไปกว่า 1 พันตันเศษ     โดยโขลงช้างป่า ยกโขลงมากันรวม 3 -4 รอบ    ไร่อ้อยเสียหายหมดไปกว่า 50 -60 ไร่   ส่วนนาข้าว  ยังไม่แก่จัด  ก็ต้องรีบเก็บเกี่ยวผลผลิต    เพราะหากไม่เกี่ยวก่อนช้างจะยกโขลงมากินหมดก่อน “

“อยากให้หน่วยงานภาครัฐบาล    นำช้างป่ากลับคืนสู่ผืนป่าเขตรักษาพันธุ์อ่างฤาไน จ.ฉะเชิงเทรา    (ในพื้นที่ป่าราบต่ำผืนสุดท้ายของไทยในป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา ,จะสระแก้ว,จ.จันทบุรี,จ.ระยอง และ จ.ชลบุรี)ถิ่นที่อยู่เดิม   ซ่อมแซมทำคูกันช้าง – รั้วกั้นช้าง  ให้กลับคืนอยู่ในสภาพดี    

และ    ในปีนี้  ที่เริ่มสู่หน้าหนาว  หน่วยงานต่าง ๆ ยังไม่ได้ลงมาดูแลประชาชนในพื้นที่เลย   ชาวบ้าน และ ชุดอาสาสมัคร จะพากันเฝ้าระวัง  ในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินกัน   มีงบประมาณมาช่วยเหลือกับกลุ่มบ้าง กลุ่มละ 50,000 บาท แต่ไม่เพียงพอส่วนใหญ่จะเป็นจิตอาสา”   นายแอ๊ดกล่าว

ด้าน  นายใหญ่กิติชัย ลาทอง ผู้ใหญ่หมู่ 8 ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอกบินทร์บุรี้  กล่าวว่า    ตำบลเขาไม้แก้ว   ร่วมกับ  ตำบลวังท่าช้าง  ได้ช่วยกันผลักดันโขลงช้างป่า   ทั้งการเดินเท้า,ใช้โดรนจับความร้อนบินควบคู่    พร้อมกับเจ้าหน้าที่ชุดผลักดันช้างป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน   ทำการผลักดันให้โขลงช้างป่า   มากเกินกว่า80 ตัว(+)    กลับคืนถิ่นเดิมสู่ผืนป่าเขาอ่างฤาไน  จ.ฉะเชิงเทรา  

และผล   จากการผลักดันในช่วงค่ำวันที่29 พ.ย.66   ต่อเนื่องจรดถึงดึก 30 พ.ย.66 นี้    ส่งผลให้โขลงช้างป่า    แตกฝูงออกไป เป็นหลายโขลง    ๆ ละ  20 ตัว ,30 ตัว 50 ตัว บ้าง   ทำให้เพิ่มความยากแก่การติดตาม  นอกจากนี้ ยังพบมีบางโขลง มีช้างป่าตกมัน รวมอยู่ด้วย   จึงยากแก่การติดตามผลักดัน

และจากที่โขลงช้างป่า จำนวนมากพากันข้ามฝั่งจังหวัดมาหากิน แหล่งที่อยู่ใหม่ที่ ต.วังท่าช้าง ,ต.เขาไม่แก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี  มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงขึ้นต่อเนื่อง และเกรงเป็นสัตว์ประจำถิ่น   ส่งผลให้เกิดความเสียหายกับผลผลิตเกษตรกร ทั้ง มันสำปะหลัง,ไร่อ้อย,นาข้าวที่เก็บเกี่ยว ฯลฯ     สิ่งที่อยากให้รัฐบาลช่วยเร่งด่วนตอนนี้ คือการเยียวยาความเสียหายกับเกษตรกร” นายใหญ่กิติชัยกล่าวในที่สุด

โดย...มานิตย์   สนับบุญ-ข่าว/ชัชวาลย์    ศิริปิน - ภาพ / ปราจีนบุรี