ยุโรป 11 ชาติล่องใต้พบรองมทภ.4 รับทราบแนวทางแก้ไขปัญหาไฟใต้

ยุโรป 11 ชาติล่องใต้พบรองมทภ.4 รับทราบแนวทางแก้ไขปัญหาไฟใต้





ad1

ปัตตานี-คณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเมืองประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย เข้าพบรองแม่ทัพภาคที่ 4  เพื่อมารับทราบสถานการณ์ และแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

พลตรี ไพศาล หนูสังข์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 / รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า พร้อมคณะให้การต้อนรับ คณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเมืองประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย จำนวน 13 คน จาก 11 ประเทศ  ณ ห้องประชุม 1 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี นำโดย นางลอ บราเช (Mrs.Laure Brachet) หัวหน้าฝ่ายการเมือง และข้อมูลข่าวสารประจำคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย นำคณะมาเยือนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อมารับทราบสถานการณ์ของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

และร่วมหารือแลกเปลี่ยนระหว่างกันเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเสรีภาพทางการเมือง และสิทธิมนุษยชนของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงนโยบายแนวทางในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลไทย และการทำงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้าในการแก้ไขปัญหาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้คณะผู้แทนฯดังกล่าวไม่ได้เดินทางมาเยือนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเวลา 10 กว่าปี จึงอยากมารับทราบสถานการณ์ความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ในโอกาสการมาเยือนของ คณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเมืองประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ครั้งนี้ พลตรี ไพศาล หนูสังข์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 / รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า และคณะ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่าปัจจุบันสถานการณ์ในพื้นที่ดีขึ้นตามลำดับเห็นได้ชัดการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหา ซึ่งที่ผ่านมาทางกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องความมั่นคง ภายใต้การปฎิบัติงานที่คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ของรัฐบาลไทยมาเป็นกรอบแนวทางการ

แก้ไขปัญหาโดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้าในฐานะหน่วยงานที่ดูแลเรื่องความมั่นคงซึ่งมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยร่วมบูรณาการทำงานร่วมกันกับหลายภาคส่วนทั้งเจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ภาคประชาชน ผู้นำระดับพื้นที่ เข้ามามีส่วนร่วม การแก้ไขปัญหาทั้งมิติงานด้านความมั่นคงและงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยมุ่งหวังให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขบนพื้นฐาน ของความหลากหลายทางวัฒนธรรม