รัฐบาลมาเลเซีย ยันมาเลย์พร้อมและจริงจังช่วยสร้างสันติภาพชายแดนใต้ตามแผน JCPP

รัฐบาลมาเลเซีย ยันมาเลย์พร้อมและจริงจังช่วยสร้างสันติภาพชายแดนใต้ตามแผน JCPP





ad1

ศาสตราจารย์ พล.อ.ตัน ศรี ดาโต๊ะ ศรี ปังลีมา ทีเอส. ฮัจญี ซุลกิฟลี บิน ฮัจญี ไซนัล อาบีดิน และผู้อำนวยความสะดวกรัฐบาลมาเลเซีย ยันมาเลย์พร้อมและจริงจังช่วยสร้างสันติภาพชายแดนใต้ตามแผน JCPP

วันนี้(1มีนาคม 66) ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศงานสมัชชาสันติภาพชายแดนใต้ปาตานี ครั้งที่ 4 Pa(t)tani Peace Assembly 2023 : Peace Market Place วานนี้ ภายใต้หัวข้อ “ ตลาดนัดสันติภาพ” ณ คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดโดย 10 องค์กรภาคประชาสังคมจากสภาประชาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้

ภายในงานยังการบรรยายพิเศษโดย ศาสตราจารย์ พล.อ.ตัน ศรี ดาโต๊ะ ศรี ปังลีมา ทีเอส. ฮัจญี ซุลกิฟลี บิน ฮัจญี ไซนัล อาบีดิน ผู้อำนวยความสะดวกรัฐบาลมาเลเซีย ปาฐกถาพิเศษ "10 ปี กระบวนการพูดคุยสันติภาพ ประชาชนชายแดนใต้ปาตานี บทเรียนและการเรียนรู้ สู่ทิศทางและความหวังในอนาคต" 

"สลามสันติสุขว่า ขอให้ความสันติสุขจงมีแด่ทุกท่าน สลามด้วยความเคารพอย่างสูง แด่ผศ.ดร.อัตชัย เอื้ออนันตสันต์รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี พล.อ. วัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขรัฐบาลไทย (PEDP)อุสตาช อานัส อับดุลเราะห์มาน หัวหน้าคณะพูดคุยสันติภาพแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (BRN)

อาจารย์อับดุลการีม อัสมะแอ ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ บรรดาหัวหน้าและสมาชิกขององค์กรภาคประชาสังคมทั้งหลายที่ป่าตานี และผู้เข้าร่วมทุกท่านที่เคารพ

ผมขอกล่าวขอบคุณจากใจต่อภาคประชาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นผู้จัดงานสมัชชาสันติภาพ ปาตานีครั้งที่ 4 ในปี 2566 และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งเป็นเจ้าภาพของงานนี้ ที่ได้กรุณาเชิญผมเข้ามาร่วมสมัชชาสันติภาพครั้งนี้ ซึ่งเป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งและถือเป็นเกียรติสำหรับผม ขอกล่าวความแน่ใจอย่างตรงไปตรงมาว่า ผมรู้สึกประทับใจและได้รับกำลังใจจากการที่ได้เห็นบรรดาผู้เข้าร่วมทุกท่านที่มาจากหลาย ๆ ฝ่าย ณ วันนี้ จริง ๆ แล้ว นี่เป็นสัญลักษณ์เชิงบวกที่ซี้ให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในความพยายาม เพื่อแก้ไขปัญหาหลักต่าง ๆ และบ่งบอกถึงความใฝ่ฝันอย่างสูงของทุกท่านที่ต้องการให้มีสันติภาพ ณ ภาคใต้ของประเทศไทย ผมขอขี้แจงว่า การที่ผมเข้ามาร่วมงานใน

วันนี้ในฐานะเป็นผู้อำนวยความสะดวกรัฐบาลมาเลเซีย วัตถุประสงค์เพื่อ " To express, rather than to impress (กล่าวความเห็นโดยตรงด้วยตนเอง ดีกว่าให้คนอื่นตีความเอง)"

ผมได้รับมอบภารกิจอันยิ่งใหญ่จากนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเพื่อรับฟังความคิดต่าง ๆ สร้างความเข้าใจ เสนอความเห็น และอำนวยความสะดวกทุกรูปแบบในการเจรจา ขับเคลื่อนความพยายามเพื่อให้มีฉันทามติของทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องบรรดาผู้เข้าร่วมทั้งหลายที่เคารพทุกท่าน  ก่อนที่จะเข้าถึงเนื้อหาของคำปราศรัย ด้วยความเคารพ ผมขออนุญาตเพื่อแนะนำตัวเองอย่างเป็นทางการ และขอถือว่านี่เป็นการละลายพฤติกรรม (ice breaking) ผมจึงขอแนะนำภูมิหลังและประสบการณ์ของผมที่ผ่านมา ผมก็หวังว่า พวกเราไม่จำเป็นต้องรู้สึกอึดอัดใจ และเกิดความสนิทสนมกัน และพวกเราก็จะเริ่มการปราศรัยด้วย ความคาดหวังว่า พวกเราจะเปิดมิติใหม่ในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นหลังจากนี้

ผู้เข้าร่วมทุกท่านที่เคารพ ผมได้รับมอบความไว้วางใจอย่างเป็นทางการจากนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ดาโต๊ะ ศรี อันวาร์ อิบราฮีม เพื่อดำรงตำแหน่งผู้อำนวยความสะดวกรัฐบาลมาเลเชีย เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ซึ่งเป็นการแต่งตั้งเพื่อสืบทอดตำแหน่งจากตันศรี อับดุล ราฮีม โนร์

ก่อนที่ได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งดังกล่าว ผมเป็นข้าราชการเกษียณอายุจากกองกำลังแห่งประเทศมาเลเซีย หลังจากรับราชการมาเป็นเวลา 42 ปี ตำแหน่งราชการสุดท้ายของผมคือ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองกำลังมาเลเซียคนที่ 20 ตั้งแต่ 2561 จนถึงเกษียณอายุในปี 2563 ก่อนหน้านั้น ผมได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยป้องกันประเทศแห่งมาเลเชีย (Universiti Pertahanan  Nasional Malaysia) และครองตำแหน่งดังกล่าวเป็นเวลาประมาณ 7 ปี 

ดังนั้น ณ วันนี้ ผมได้มาที่ ม.อ.ปัตตานี และรำลึกถึงความทรงจำจากอดีตในบรรยากาศของอุทยานแห่งวิชาความรู้ ในสมัยที่ผมดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยป้องกันประทศแห่งมาเลเซีย มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับ ม.สงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นสถาบันที่มีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์ ความร่วมมือทางวิชาการต่าง ๆ โดยเฉพาะการจัดประชุมทางวิชาการนานาชาติร่วมกันโดยมหาวิทยาลัยสองแห่งนี้ทำให้สถาบันทั้งสองแห่งนี้เกิดความใกล้ชิดกันและความผูกพันที่เริ่มต้นเมื่อสิบปีที่แล้วก็ยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้

ผู้เข้าร่วมทั้งหลายที่เคารพ ถึงแม้ว่าผมเป็นทหาร แต่จิตใจและความสนใจของผมใกล้ชิดกับโลกวิชาการ ผมเคยได้รับแต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์วุฒิคุณจากมหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส (Universiti Malaysia Peris) และนักวิชาการกิตติมศักดิ์ (HoFellow) จากสถาบันดับเบิลยูเอ็มจี (WMG) มหาวิทยาลัยวอร์วิก (University of Wownk) ประเทศอังกฤษ และได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยป้องกันประเทศแห่งมาเลเซียจนถึงทุกวันนี้ ผมยังปฏิบัติหน้าที่เป็นนักวิชาการและสอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัย สาขาวิชาที่ผมมีความเชี่ยวชาญคือ "War and Confict (สงครามกับความชัดแย้ง)" 

ด้วยเหตุนี้ การแต่งตั้งผมให้เป็นผู้อำนวยความสะดวกรัฐบาลมาเลเซียครั้งนี้เป็นเกียรติสำหรับผม และยังเป็นโอกาสทองเพื่อนำทฤษฎีต่างๆ ในสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญนี้มาใช้ใน สถานการณ์จริงของโลกแห่งความเป็นจริง
ตอนนี้ ผมยังเสนอแนวคิดในบริบทของวิชาการในมาเลเชียอย่างต่อเนื่อง ผมเป็นหัวหน้าหมวดความมั่นคงและการป้องกันประเทศ สถาบันศาสตราจารย์แห่งประเทศมาเลเซีย (Akademi Profesor Malaysia) สถาบันแห่งนี้เป็นพื้นที่สำหรับนักคิด (think tank) ที่รวบรวมความเชี่ยวชาญของศาสตราจารย์หลายท่านเพื่อนำเสนอความเห็นต่อนโยบายหลักของประเทศสำหรับการพัฒนาสังคมของมาเลเซีย

กระบวนการพูดคุยสันติภาพสำหรับภาคใต้ของประเทศไทยระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มนักต่อสู้ในภูมิภาคนี้เข้ามาถึงปีที่ 10 แล้ว กระบวนการนี้เริ่มตันเมื่อนางสาวยิ่งลักษณ์ชินวัตร นายกรัฐมนตรีประเทศไทยในขณะนั้น ได้ขอให้มาเลเซียเป็นคนกลางในการแก้ไขความขัดแย้งในภาคใต้ของประเทศไทย และผลที่ตามมาก็คือการลงนามในฉันทามติทั่วไป(General Consensus) ระหว่างรัฐบาลไทยกับบีอาร์เอ็นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556

ต่อไปนี้ ผมขอแนะนำผลการแลกเปลี่ยนระหว่าง *พณฯ นายกรัฐมนตรีมาเลเซียกับ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ประเทศไทยในการพบปะกันเมื่อวันที่ 9 และ 10 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมาดังต่อไปนี้

ดังเช่นได้นำเสนอโดยนายกรัฐมนตรีมาเลซีย ในฐานะเป็นประเทศมิตรและครอบครัว มาเลเซียยอมรับว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในภาคใต้ของประเทศไทยคือกิจการภายในของรัฐบาลไทย ในขณะเดียวกัน ในฐานะเป็น "เพื่อนบ้าน และครอบครัวที่ดี" มาเลเซียพร้อมที่จะทำทุกอย่าง และพร้อมที่จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ เพื่อบรรลุข้อตกลงสันติภาพสำหรับภาคใต้ของประเทศไทย

การมีส่วนร่วมของฝ่ายที่สาม คือ องค์กรนอกภาครัฐ/องค์กรภาคประชาสังคม (NGO/CSO) ตามควรเหมาะสมและการประเมินของผู้อำนวยความสะดวกจะได้รับการขับเคลื่อนเพื่อให้มีความคืบหน้าเชิงบวกในกระบวนการพูดคุยสันติภาพในภาคใต้ของประเทศไทยอย่างมีนัยยะสำคัญ เป้าหมายของการเจรจาอย่างเป็นทางการก็คือการให้มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างสันติภาพอย่างสงบและปลอดภัยซึ่งสามารถนำความรุ่งโรจน์ได้ให้แก่ประชาชนในภาคใต้ของประเทศไทย ยิ่งไปกว่านั้น การเจรจาเป็นวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกันและความจริงใจของทั้งสองฝายที่กำลังเจรจากันเพื่อแสวงหาแนวทางแก้ไขสำหรับความขัดแย้งอันรุนแรงในภาคใต้ของประเทศไทย

สำหรับความคืบหน้าล่าสุด ในการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งที่  6 ของกระบวนการพูดคุยสันติภาพระหว่างคณะพูดคุยสันติสุขของรัฐบาลไทย (PEDP-RTG) กับแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (BRN) ได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2023 ณ กัวลาลัมเปอร์ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีความคืบหน้าเชิงบวกในเมื่อทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงและความเข้าใจร่วมกันเพื่อสร้างแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติภาพแบบองค์รวม (Joint Comprehensive Plan towards Peace, JCPP) ซึ่งเป็นตัวกำหนดทิศทางสำหรับปี 2566-2567 JCPP เป็นแผนปฏิบัติที่กำหนดทิศทางหรือแผนที่นำทาง (road map) ที่แสดงให้เห็นว่า มีแสงสว่างแห่งความหวังเพื่อสันติภาพสำหรับประชาคมปาตานีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย และยังมีโอกาสที่จะสามารถทำให้ความขัดแย้งนี้จะสิ้นสุดลงได้ด้วย

JCPP ประกอบด้วยระยะเวลาการปฏิบัติ 2 ระยะ ระยะแรกสำหรับการพูดคุยถึงรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็น
สารัตถะ 2 ประเด็น ได้แก่ การลดการใช้ความรุนแรงและการปรึกษาหารือกับประชาชนในพื้นที่ ส่วนระยะที่ 2 เป็น ระยะปฏิบัติการในสนามหลังจากทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงในรายละเอียดต่าง ๆ ของระยะแรก คณะพูดคุยรัฐบาลไทยกับคณะพูดคุยบีอาร์เอ็นได้พยายามเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งมีความมั่นว่า วัตถุประสงค์ในการสร้าง สันติภาพและการแก้ไขความขัดแย้งจะสามารถเป็นความจริงได้หากความจริงจัง การมีส่วนร่วมอย่างจริงจังและความจริงใจของแต่ละฝ่ายได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ความพยายามของตัวแทนรัฐบาลไทยกับบีอาร์เอ็นควรได้รับการยอมรับและการสนับสนุนจากทุกชนชั้นของสังคม เพราะตัวแทนของทั้งสองฝ่ายได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือในการสร้างสันติภาพ ณ ภาคใต้ของประเทศไทย

 เพื่อรักษาแรงขับเคลื่อนดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายจะมีความพยายามต่อไปผ่านการเจรจาอย่างปิดเพื่อพูดคุยถึงรายละเอียดในการปฏิบัติตามแผน JCPP โดยมีการประชุมทีมเทคนิคที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคตอันใกล้ มาเลเซียจะมีส่วนร่วมอย่างจริงจังและความพร้อมในการอำนวยความสะดวกให้แก่รัฐบาลไทยและประชาคมปาตานี ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเพื่อแก้ไขความขัดแย้ง และฝ่ายมาเลเซียคาดหวังว่า การเจรจาจะได้บรรลุแนวทางแก้ไขอันยุติธรรม ครอบคลุมและยั่งยืนเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว 

ผมขอแสดงความบริสุทธิ์ใจ พร้อมที่จะดำเนินการตามแผนการปฏิบัติของรัฐบาลมาเลเซีย ซึ่งที่ผ่านมาได้พยายามช่วยสร้างสันติภาพในภาคใต้ของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ผมมีความหวังและมั่นใจว่า วิธีการตามความเห็นชอบรวมของทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหาควรจะเป็นวิธีปฏิบัติของทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องและส่วนได้เสียประเด็นสำคัญที่ผมต้องการจะเน้นคือ การสร้างสันติภาพมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับมนุษยธรรม

@@ดังนั้นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรพยายามเพื่อขยายการมีส่วนร่วมในสภาพแวดล้อมของแต่ละฝ่าย โดยยึดมั่นใน "big heart and big mind (จิตใจอันยิ่งใหญ่)" เพื่อบรรลุสถานการณ์ที่ทุกฝ่ายจะสามารถเป็นผู้ชนะได้ (win-win) คำสำคัญคือ "สันติภาพ (KEAMANAN)" และต้องเป็นประเด็นหลักของแต่ละฝ่าย ถึงแม้ว่า ภายหลังอาจจะมีหลักการ "agree to disagree (เห็นด้วยที่จะไม่เห็นด้วย)" แต่คำสำคัญนี้ต้องมีการปฏิบัติการและได้รับความเคารพ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเห็นด้วยและยอมรับว่า ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งประเภทไหนก็ตาม ไม่อาจจะสำเร็จด้วยการใช้ความรุนแรง “สุภาษิตภาษามลายูบอกว่า "Menang jadi arang, kalah jadi abu (ชนะก็เป็นถ่าน ชนะก็เป็นเถ้า)" ไม่มีฝ่ายใดที่ได้รับประโยชน์จากการใช้ความรุนแรง ในทางกลับกัน การใช้ความรุนแรงจะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรง และมีความเสี่ยงที่จะถล่มระบบสังคมทั้งหมดในพื้นที่ความขัดแย้งด้วยซ้ำ

ด้วยเหตุนี้ ผมขอชวนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมกันในการแลกเปลี่ยนกันบนโต๊ะเจรจาเพื่อยุติการปะทะกัน แสวงหาจุดร่วม สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน และให้เข้าถึงระดับรากหญ้า และสุดท้ายก็จะนำไปสู่การสิ้นสุดของความขัดแย้ง
ผมขอแนะนำสุภาษิตภาษามลายูดังต่อไปนี้ "Tak lalu dandang di air, di gurun ditanjakkan"ซึ่งหมายความว่า เราต้องทำพยายามทุกอย่าง ตราบใดที่สามารถบรรลุเป้าหมายของเราได้ สอดคล้องกับความหมายของสุภาษิตดังกล่าว