ศรีสะเกษลงนาม MOUกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติยกระดับหน่วยปฎิบัติการฯมาตรฐานสากล

ศรีสะเกษลงนาม MOUกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติยกระดับหน่วยปฎิบัติการฯมาตรฐานสากล





ad1

ศรีสะเกษ-"วัฒนา"ผู้ว่าฯศรีสะเกษลงนาม MOUกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ การดำเนินงานและบริหารจัดการการแพทย์ฉุกเฉินได้รับการคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทั่วถึง เท่าเทียมมีคุณภาพมาตรฐาน

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2565 ที่ห้องประชุมศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลผลิตภัณฑ์ (OTOP)  องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ  นายวัฒนา  พุฒิชาติ  ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ  และเรืออากาศเอก นายแพทย์ อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ   ได้เป็นประธานในพิธีลงนามในบันทึกความร่วมมือ เรื่อง การดำเนินงานและบริหารจัดการการแพทย์ฉุกเฉิน ระหว่างสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กับ จังหวัดศรีสะเกษ, องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ,สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ, สถานีตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษ

เรืออากาศเอก นายแพทย์ อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

โรงพยาบาลศรีสะเกษ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งและเครือข่ายมูลนิธิจังหวัดศรีสะเกษ  โดยมีนายวิชิต ไตรสรณกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ  นพ.ทนง วีระแสงพงษ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ   นพ.ชลวิทย์  หลวงทอง  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีสะเกษ  ผู้แทนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ ผู้แทนเครือข่ายมูลนิธิจังหวัดศรีสะเกษ และรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ   หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการและพนักงานในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ  ร่วในพิธีเป็นจำนวนมาก

วัฒนา  พุฒิชาติ  ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ

นายวิชิต ไตรสรณกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ  กล่าวว่า  องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ได้รับการถ่ายโอนภารกิจศูนย์รับแจ้งเหตุและจ่ายงานการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดศรีสะเกษจากโรงพยาบาลศรีสะเกษ โดยสถาบันการแพทย์กเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2565 เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินงานและบริหารจัดการการแพทย์ฉุกเฉิน ตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ปัจจุบันศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัด ที่ได้รับถ่ายโอนมาได้รับการรับรองและอนุมัติ การขึ้นทะเบียนเป็น "หน่วยปฏิบัติการอำนวยการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดศรีสะเกษ" มีเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยปฏิบัติการ จำนวนทั้งสิ้น 21 คน มีรถพยาบาลฉุกเฉิน จำนวน 2 คัน ชุดปฏิบัติการของหน่วยปฏิบัติการนี้เป็น "ชุดปฏิบัติการระดับสูง (ALS)" มีเขตพื้นที่ปฏิบัติการในความรับผิดชอบอยู่ในเขตอำเภอเมืองศรีสะเกษ

วิชิต ไตรสรณกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ  กล่าวอีกว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งจะทำให้ชุดปฏิบัติการ หน่วยปฏิบัติการ หรือสถานพยาบาล อันจะทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทั่วถึง เท่าเทียมมีคุณภาพมาตรฐาน โดยได้รับการช่วยเหลือและรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์มากขึ้น จึงได้ร่วมกับ สพฉ. จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ขึ้น  โดยบทบาทหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษภายใต้บันทึกข้อตกลงร่วมในครั้งนี้คือ จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการอำนวยการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดศรีสะเกษ (ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดศรีสะเกษ) สถานที่ ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ   จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการแพทย์ระดับสูง (Advance Life Support Unit : ALS)

องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ   จัดหารถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน พร้อมอุปกรณ์ตามมาตรฐานที่ กำหนดเพื่อสนับสนุนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ระดับอำเภอ และระดับตำบล ที่ร่วมทำบันทึกข้อตกลงนี้  และมีความพร้อมในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินหรือสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินกำหนดให้และเพียงพอต่อการจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล (Pre-Hospital) ให้ครอบคลุมการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชาชนจังหวัดศรีสะเกษร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษและโรงพยาบาลศรีสะเกษ ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านการแพทย์ฉุกเฉินศักยภาพผู้ปฏิบัติการ ในหน่วยปฏิบัติการอำนวยการ และหน่วยปฏิบัติการแพทย์ทุกระดับ และระบบสื่อสารและสารสนเทศ โดยเชื่อมต่อกับหน่วยงานอื่นเพื่อประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินให้มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมต่อไป

เสนาะ วรรักษ์/รายงาน