เอกชนพัทลุงลุยส่ง"สะละ"เจาตลาดมาเมเลเซียขายผ่านร้านสะดวกซื้อ"โอทูโอ"นำร่อง 13 สาขาที่รัฐเปรัค

เอกชนพัทลุงลุยส่ง"สะละ"เจาตลาดมาเมเลเซียขายผ่านร้านสะดวกซื้อ"โอทูโอ"นำร่อง 13 สาขาที่รัฐเปรัค





ad1

พัทลุง-“สะละ”ลุยเจาะต่างประเทศนำร่องส่งขายในร้านสะดวกซื้อ “โอทูโอ"มาเลเซีย ตั้งเป้าวางจำหน่าย 300 สาขาทั่วประเทศ เบื้องต้นนำร่องก่อน 13 สาขา ในรัฐเปรัค เนื่องจากผลผลิตไม่พอ ผนึกแกนนำสร้างเครือข่ายปลูกสะละคุณภาพมาตรฐาน เพื่อส่งออกโดยเฉพาะ

นายวิชัย ดำเรือง เจ้าของสวนสะละลุงถัน ต.หนองธง อ.ป่าบอน จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ได้เดินทางหารือกับผู้แทนจำหน่ายสะละในประเทศมาเลเซีย ซึ่งที่เคยเดินทางมาศึกษาดูงานสวนสะละลุงถัน อ.ป่าบอนจ.พัทลุง ซึ่งมีความสนใจที่จะนำเข้าสะละจากจังหวัดพัทลุง ไปจำหน่ายในประเทศมาเลเซีย โดยจะวางตามห้างสะดวกซื้อโอทูโอ ตามเป้าหมาย จำนวน 300 สาขา ทั่วประเทศมาเลเซีย

โดยเบื้องต้นกำหนดพื้นที่ชั้นวางสาขาละ 1 เชลฟ์ และหากได้รับการตอบรับที่ดีจะปรับเป็น 2 เชลฟ์ ซึ่งแต่ละเชลฟ์ขนาด 60 เซ็นติเมตร ยาว 1.50 เมตร / สาขา แต่ขณะนี้ผลผลิตสะละที่ได้คุณภาพมาตรฐานตามกำหนดยังไม่พอขาดอีกปริมาณมาก เช่น ความหวาน ไซซ์ขนาด จึงจะมีผลผลิตระดับหนึ่งที่วางได้ โดยในเบื้องต้นประมาณว่าจะได้วางจำหน่ายจำนวน 13 สาขาของห้างโอทูโอ รัฐเปรัค มาเลเซียก่อน โดยประมาณ 1 ตัน / สัปดาห์ จะได้สาขากว่า 70 กก./ สัปดาห์ และประมาณ 2 ตัน / สัปดาห์ ประมาณ 153 กก. / สาขา / สัปดาห์ เป็นผลผลิตสด โดยราคาค้าส่งประมาณ 100 บาท / กก.

นายวิชัย กล่าวอีกว่า จ.พัทลุง มีการปลูกสวนสะละ ประมาณ กว่า 10,000 ไร่ แต่ที่ได้ระดับมาตรฐานตามที่กำหนด มีประมาณที่น้อยมากจึงไม่พอต่อความต้องการ แต่ทางกลุ่มฯ จึงเข้าหารือกับเกษตรจังหวัดพัทลุง เพื่อหารือถึงแนวทางการสนับสนุนทำสวนสะละคุณภาพได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการโดยทำการประชุมแกนนำกลุ่มสวนสะละ จะสร้างทีมงานเครือข่ายทำสวนสะละคุณภาพได้ตามกำหนดซึ่งแนวทางในการปลูกสะละคือปลูกร่วมกับหมาก หมากมีตลาดรับซื้ออยู่แล้ว และตลาดมีความต้องการมาก ส่วนสะละกลุ่มตนจะรับซื้อทั้งหมดแต่ต้องตามาตรฐานที่กำหนด

“จะต้องใชเวลาระยะหนึ่งในการจัดการบริหารทำสวนสะละที่ได้คุณภาพมาตรฐานได้ตามเป้าหมาย จะเป็นโอกาสทองสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร” นายวิชัย กล่าว

ทางด้านสำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง รายงานว่า สวนสะละ จ.พัทลุง มีการปลูกภาพรวมกว่า 10,000 ไร่ ครอบคลุมทั้ง 11 อำเภอ และที่ปลูกมากกว่า 4,000 ไร่ ที่ อ.ป่าบอน โดยสะละจะให้ผลผลิตได้มาตรฐานประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ที่เป็นเกรดเอ และเป็นเกรดบี ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ และที่เหลือจะไม่ได้เกรด เหตุผลที่สะละได้คุณภาพมาตรฐาน ปัจจัยสำคัญจะต้องทำบันทึกเขียนป้ายวันที่ผสมเกสร โดยสะละสายพันธุ์สุมาลี จะต้องมีการผสมเกษรได้อายุ 7 เดือนขึ้นไป สายพันธุ์เนินวงศ์อายุ 8 เดือนขึ้นไป ซึ่งจะเหมาะสมกับการเก็บเกี่ยว ก็จะได้ผลผลิตคุณภาพตามที่กำหนด ขนาดไซซ์ และความหวาน

“สาเหตุที่สะละไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน เพราะไม่มีการติดป้ายวันที่ผสมเกษร โดยเฉพาะสายพันธุ์สุมาลี จะติดได้ง่าย และติดผลผลิตมากทำให้ลูกเล็กและไม่ได้มาตรฐานส่งออก”

อัสวิน มัฆวรรณ  ผู้สื่อข่าวจังหวัดพัทลุง