รองนายกเล็กตาก เปิดศักราช “การท่องเที่ยวชุมชนแบบนวัตวิถี 2565”

รองนายกเล็กตาก เปิดศักราช  “การท่องเที่ยวชุมชนแบบนวัตวิถี 2565”





ad1

ตาก-รอง.นายก.อบจ.ตาก เปิดศักราช  “การท่องเที่ยวชุมชนแบบนวัตวิถี 2565” เดินหน้าขับเคลื่อน เศรษฐกิจรากหญ้า ท้องถิ่น มุ่งสู่เมืองนำร่องที่เชื่อมโยงธุรกิจทั้งจังหวัด

เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565 นายฑีฆะพล ทวีเกื้อกูลกิจ “รองเอิร์ธ” รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)ตาก  – น.ส.ปณิตตรา  จันทร์วรโชติ “เลขาแพน”  เลขานุการนายก.อบจ.ตาก  เดินทางมาเป็นประธานในการเปิด “โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนแบบนวัติวิถี ประจำปี 2565”   ที่ห้องประชุมหอการค้าจังหวัดตาก(แม่สอด) อ.แม่สอด จ.ตาก โดยมีนายประเสริฐ จึงกิจรุ่งโรจน์  ประธานหอการค้าจังหวัดตาก ,,นางฐิติพร กาสมสัน นายกสมาคมการท่องเที่ยวจังหวัดตาก,นายสุวิทย์ ลังกาวงศ์ ประธานสภา อบจ.ตาก ,นายสุวิทย์ คามณีวงศ์ รองนายกเทศมนตรีนครแม่สอด,  รวมทั้ง ส.อบจ.ตาก เขต อ.แม่สอด –ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้ประกอบการท่องเที่ยว ชุมชนแบบนวัตวิถี  ให้การต้อนรับและร่วมโครงการประชุมสัมมนา กว่า 100 คน โดยมี น.ส.เปรมกมล ธีโรภาส ปลัด อบจ.ตาก กล่าวรายงาน

นายฑีฆะพล ทวีเกื้อกูลกิจ “รองเอิร์ธ” รอง.นายก อบจ.ตาก   กล่าวว่า จังหวัดตาก มีทรัพยากรเป็นต้นทุนและศักยภาพการท่องเที่ยวอย่างมาก ด้วยสภาพภูมิประเทศ ที่เป็นภูเขา ป่าไม้ ลำเนาไพร และ ลำธารสายน้ำ มีอุทยานแห่งชาติ 5 แห่ง ,วนอุทยาน 6 แห่ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 3 แห่ง ด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ  โดยเฉพาะไม้กลายเป็นหินที่ได้รับการบันทึกสถิติโลกว่ายาวที่สุดในโลก จากคณะกรรมการกรีนเนสเวิร์คเรคคอต มีประวัติศาสตร์เก่าแก่นับแต่สมัยสุโขทัย มีศิลปะ วัฒนธรรมจากชุมชนท้องถิ่น 12 ชนเผ่า

ทำให้มีความหลากหลายของวิถีชีวิตและภูมิปัญญาของคนเมืองตาก ที่น่าสนใจมากมาย   ทาง อบจ.ตาก จึงส่งเสริมและก่อให้เกิดกลไก วงรอบของการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ทั้งธรณีวิทยา-นิเวศวิทยา-วัฒนธรรม ที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น และการตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติ  อบจ.ตาก จึงสนับสนุนขับเคลื่อน และส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองในภูมิภาคให้เกิดขึ้นในลำดับต้นๆ ประกอบกับนโยบายการเปิดประเทศของรัฐบาล เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ การจายรายได้ในชุมชน เกิดแรงกระตุ้นด้านธุรกิจการท่องเที่ยว เชื่อมโยงเครือข่าย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

โดยมีการศึกษาดูงานเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ ในการยกระดับการท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน รองรับการเปิดตลาดการท่องเที่ยวชุมชนแบบนวัติวิถีของชุมชนในท้องถิ่นตนเอง เป็นการเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่ระดับรากหญ้า ทั้งสถานประกอบการ ที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก และบริการอื่นๆ ทั้งระบบ ที่ขับเคลื่อนไปด้วยกัน ในรูปแบบการท่องเที่ยว และการท่องเที่ยวชุมชนแบบนวัตวิถี โดยเริ่มทันทีหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19. บรรเทาเบาบางและลดลงตามลำดับ  อบจ.ตาก จึงเร่งดำเนินโครงการ“การท่องเที่ยวชุมชนแบบนวัตวิถี 2565” เปิดศักราช ในทันที เพื่อเร่งกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ  ทุกระดับ

อัศวิน พินิจวงษ์ รายงาน