"ผู้ว่าฯตาก-สส.ชัยวุฒิ”ร่วมงาน งานสืบสาน อนุรักษ์ สืบทอด วัฒนธรรมประเพณีปีใหม่"ม้ง 2566" คึกคัก กระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยว

"ผู้ว่าฯตาก-สส.ชัยวุฒิ”ร่วมงาน งานสืบสาน อนุรักษ์ สืบทอด วัฒนธรรมประเพณีปีใหม่"ม้ง 2566" คึกคัก กระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยว





ad1

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)จังหวัดตาก เดินทางมาร่วมงาน งานสืบสาน อนุรักษ์ สืบทอด วัฒนธรรมประเพณีปีใหม่ ม้ง 2566    ที่บริเวณสนามสวนสาธารณะเกาะกลาง
ต.คีรีราษฎร์ อ.พบพระ จ.ตาก   โดยมีนายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์   ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก  มาเป็นประธานพิธีเปิด  ซึ่งมี น.ส.ธมลวรรณ เจริญวงศ์พิสิฐ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย( ททท.) สำนักงานตาก ,นายฑีฆะพล ทวีเกื้อกูลกิจ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)ตาก , พร้อมทั้ง หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.(อปท.) ผู้นำท้องที่, ผู้นำท้องถิ่น นักท่องเที่ยว และ ประชาชน เข้าร่วมกิจกรรม  กว่า 1,000 คน  โดยนายสัญญา เพชรเศษ นายอำเภอพบพระ  จ.ตาก ,นาย ยงยุทธ แซ่ม้า นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)คีรีราษฎร์  และนายวีระพันธ์ มังกรอัศว กำนันตำบลคีรีราษฎร์  ร่วมให้การต้อนรับ

ทั้งนี้นายสัญญา เพชรเศษ นายอำเภอพบพระ  กล่าวรายงาน ถึง วัตถุประสงค์ การจัดงาน  ทั้งนี้ เพื่อเผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย }เพื่อส่งเสริมความรักความสามัคคีเนน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รักและหวงแหนในประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น  เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดประเพณีปีใหม่มังให้คงอยู่สืบทอดไปยังชั่วลูกชั่วหลาน และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว หลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19. บรรเทาเบาบางลง

นางสาวธมลวรรณ เจริญวงศ์พิสิฐ ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานตาก กล่าวว่า ตําบลคีรีราษฎร์ เป็นตําบลหนึ่งในอําเภอพบพระ มีประชากรหลายชนเผ่ามีหลากหลายวัฒนธรรมอยู่ ร่วมกันประเพณีปีใหม่ม้ง เป็นอีกวัฒนธรรมหนึ่งที่มีคุณค่าและมีความสําคัญอย่างยิ่ง ที่ถือปฏิบัติสืบทอด กันมา เป็นเวลาช้านาน  ภายหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลายคณะกรรมการจัดงาน จึงกำหนดจัดงานสืบสานประเพณีปีใหม่ม้งประจำปี 2566 ขึ้น ระหว่างวันที่ 23-29 ธันวาคม 2565 ซึ่งวันเปิดงานจะตรงกับ ขึ้น 1  ค่ำเดือน 2 ของทุกปี ในปีนี้ ตรงกับวันที่ 23 ธันวาคม 2565  ปัจจุบันวัฒนธรรมประเพณีนับวัน ยิ่งจะสูญหาย เนื่องจากวิวัฒนาการความเจริญ ด้านวัตถุ ความเจริญทางเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นภาษา การสื่อสาร การแต่งกาย หรือการดํารงชีวิตความ เป็นอยู่ ได้มีการเปลี่ยนไปจากเดิม

เพื่อเป็นการสร้างจิตสํานึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมปีใหม่ม้ง ให้อยู่คู่ ท้องถิ่นสืบทอดให้แก่บุตรหลาน ได้ตะหนักฟื้นฟู รักษา และเผยแพร่วั ฒนธรรมอันดีงามนี้ ให้เป็นที่ ประจักษ์และเป็นแหล่งเรียนรู้มิให้เสื่อมสูญ นําไปสู่การอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลายวัฒนธรรม จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาชมงานสืบสานประเพณีปีใหม่ม้ง ระหว่างวันที่ 23-29 ธันวาคม 2565 ณ สวนสาธารณะเกาะกลางน้ำ ต.คีรีราษฏร์ อ.พบพระ  จังหวัดตาก

รายงานข่าวแจ้งว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19. ทำให้ ต้องงดจัดงานประเพณีปีใหม่ม้ง มาหลายปี   ไม่มีการจัดกิจกรรมงานประเพณี สืบสานวัฒนธรรม    ทำให้ในปีใหม่ 2566 นี้  จึงมีการจัดอย่างยิ่งใหญ่  มีการแสดง ในพิธีเปิด แสดงถึงวิธีชีวิต ความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมชาวม้งจาก อดีตกาลถึงปัจจุบัน นักแสดงกว่า 300 คน จากโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4. ต.คีรีราษฎร์ อ.พบพระ

ด้วยตำบลคีรีราษฎร์ เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอพบพระ มีประชากรหลายชนเผ่ามีหลากหลายวัฒนธรรมอยู่ร่วมกัน ซึ่งแต่ละประเพณีและวัฒนธรรมลัวนมีคุณค่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันนี้ประเพณีและวัฒนธรรมเหล่านั้นนับวันยิ่งจะสูญหาย เนื่องจากวิวัฒนาการความเจริญด้านวัตถุความเจริญทางต้านเทคโนโลยี การรับอิทธิพลและอารยธรมท างตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นภาษาการสื่อสารการแต่งกายหรือการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ล้วนเป็นวัฒนธรรมแบบตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมอันเก่าแก่ของท้องถิ่นให้คงอยู่คู่กับบุตรหลาน เราควรตระหนักและฟื้นฟูรักษา เผยแพร่วัฒนธรรมอันดีงามนี้ให้เป็นที่ประจักษ์และเป็นแหล่งเรียนรู้ประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ มิให้เสื่อมสูญ เป็นการนำไปสู่การอยู่ร่วมกันท่ามกลางหลากหลายวัฒนธรรม อย่างสงบ สันติ และเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน ซึ่งในปีนี้นับได้ว่า เป็นการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ มีกิจกรรมภายในงานวัฒนธรรมของชนเผ่าม้ง  การโยนลูกช่วงระหว่างหนุ่มสาว

การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน เช่น ตีลูกข่าง ยิงหน้าไม้แบบโบราณของชาวม้ง ภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น การประกวดมิสม้งเมืองตาก,การประกวดหนูน้อยอนุรักษ์ผ้าใยกัญชง ,ชมคอนเสิร์ตจากนักร้องชื่อดังของชนเผ่าม้งทุกคืน และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย  โดยในปีใหม่ 2566 นี้ ได้จัดงานขึ้นระหว่างวันที่ 23 - 29 ธันวาคม 2565  โดยเผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ตลอดจนเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดประเพณีปีใหม่ม้งให้คงอยู่สืบทอดต่อไป