ฟรุ้ทบอร์ดหวั่นโควิดระบาดหนักในจีนกระทบการส่งออกผลไม้ไทย

ฟรุ้ทบอร์ดหวั่นโควิดระบาดหนักในจีนกระทบการส่งออกผลไม้ไทย





ad1

ฟรุ้ทบอร์ดหวั่นโควิดระบาดหนักในจีนกระทบการส่งออกผลไม้ไทย  แนะผู้ส่งออกเพิ่มการขนส่งทางเรือเป็น55%พร้อมขยายตลาดบริโภคในประเทศจาก30%เป็น40%รับมือกรณีด่านปิด

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

วันนี้ (7 เมษายน 2565) ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ได้มอบหมาย นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดกรผลไม้ ครั้งที่ 2/2565  ผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์ zoom cloud meeting พร้อมด้วยคณะกรรมการ และ ผู้แทนกรรมการ อาทิ นายธีระชาติ ปางวิรุฬท์รักษ์ ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.พณ. (แทน รมช.พณ.) นายโอภาส ทองยงค์ รอง.ปลัด.กษ. นายขจร เราประเสริฐ ผู้ตรวจราชการ กษ. นายกฤษธนา ทองประเสริฐ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน และ นางสาวปทุมวดี อิ่มทั่ว อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) ประจำกรุงปักกิ่ง นางสาวอาทินนท์ อินทาพิมพ์ กงสุลฝ่ายเกษตร ประจำการกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ นายปรัตถกร แท่นมณี กงสุลฝ่ายเกษตร ประจำการกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี นางมาลินี ยุวนานนท์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นฝ่ายเลขานุการ 

ที่ประชุมรับทราบ (1) การแต่งตั้งคำสั่งคณะกรรมการผู้แทนเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ภาคเอกชน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดใหม่ (2) ความก้าวหน้า สถานการณ์การผลิตไม้ผล ปี 2565 (3) สรุปผลการประชุมเฉพาะกิจการเตรียมการบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออก ปี 2565 (4) รายงานความก้าวหน้าของคณะทำงานศึกษาเสถียรภาพกลุ่มสินค้าทุเรียน (5) การรายงานความก้าวหน้าของคณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการตลาด (6) การรายงานสถานการณ์ด่านการส่งออกผลไม้ไปจีน และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดในจีน (7)รายงานแนวทางแก้ไขปัญหาการขนส่งผลไม้ล็อตแรกของไทยไปจีนโดยรถไฟจีน-ลาวให้ใช้เวลาไม่เกิน3วันครึ่ง

อลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นอกจากนี้ที่ประชุมได้พิจารณาหารือ และมีมติ เห็นชอบ ดังนี้ 
1.) แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออก (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปี 2565 เป็นแนวทางบริหารจัดการผลไม้ ปี 2565 ตามมติคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 ทั้งนี้ จังหวัดได้จัดวางแผนการบริหารจัดการผลไม้ แบบเบ็ดเสร็จได้ด้วยตัวเอง ในเชิงคุณภาพสอดคล้องตามยุทธศาสตร์พัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ.2565 - 2570 และในเชิงปริมาณ โดยการจัดการความสมดุลเป็นไปตามหลัก อุปสงค์ – อุปทาน 
(1.1) แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออก ปี 2565 เพื่อบริหารจัดการผลผลิต
ทุเรียน 729,110 ตัน
มังคุด 221,840 ตัน
เงาะ 216,420 ตัน
ลองกอง 18,994 ตัน
รวมทั้งสิ้น 1,186,364 ตัน


(1.2) เสนอให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน และพาณิชย์จังหวัด เป็นฝ่ายเลขานุการ เป็นกลไกหลัก ในการขับเคลื่อนบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่จังหวัด ประจำปี 2565 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
(1.3) กรณีที่การบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่มีปัญหา มอบหมายให้จังหวัดประสานกับฝ่ายเลขานุการคณะทำงานจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบ และ/หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณา ใช้มาตรการที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป
2.) แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลิ้นจี่) ปี 2565เพื่อให้จังหวัดใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการผลไม้ในฤดูการผลิตปี 2565
(2.1) แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลิ้นจี่) ปี 2565 จำนวน 43,511 ตัน ผ่านกลไกคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.)
(2.2) เสนอให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน และพาณิชย์จังหวัด เป็นฝ่ายเลขานุการ เป็นกลไกหลัก ในการขับเคลื่อนบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่จังหวัด ประจำปี 2565 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
(2.3) กรณีที่การบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่มีปัญหา มอบหมายให้จังหวัดประสานกับฝ่ายเลขานุการคณะทำงานจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบ และ/หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณา ใช้มาตรการที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกร ต่อไป