50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน: Shaping the Future ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม

50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน: Shaping the Future ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม





Image
ad1

วช. เผย “50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน: Shaping the Future ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม”เปิดเวทีนักวิชาการและนักวิจัยไทย-จีนได้แลกเปลี่ยนความรู้ ทัศนะ ประสบการณ์และข้อคิดเห็น ผ่านการนำเสนอผลงานทางวิชาการและการวิจัย 

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดแถลงข่าว “50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน: Shaping the Future ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม” โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธาน พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ กรรมการกํากับและติดตามการพัฒนาศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents) และศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge) วช., นางสาวขวัญศิริ ชนยุทธ ผู้อำนวยการกลุ่มวิเทศสัมพันธ์ วช. และนักวิจัย ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมแถลงข่าว การจัดงานครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อแสดงถึงทิศทางในอนาคตของความร่วมมือกันระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนจากการเข้าร่วม ณ ศูนย์สารสนเทศกลางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วช.

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า งานแถลงข่าว “50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน: Shaping the Future ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม”  ในครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้เจตนารมณ์แห่งความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน และในโอกาสการฉลองครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน โดยเฉพาะความร่วมมือด้านวิชาการ ระหว่าง วช. กับ สถาบันสังคมศาสตร์จีน (Chinese Academy of Social Sciences - CASS)  เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา วช.

และ CASS ได้ร่วมกันจัดการสัมมนาวิชาการไทย-จีน ครั้งที่ 5 (The Fifth China–Thailand Think Tank Forum) ขึ้น ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้หัวข้อ “การผลักดันความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน และสร้างชุมชนไทย–จีนที่มีอนาคตร่วมกัน เพื่อความมั่นคง ความเจริญรุ่งเรือง และความยั่งยืนที่เพิ่มมากขึ้น” โดยมีสถาบันวิจัยกลยุทธ์ระหว่างประเทศแห่งชาติ (National Institute of International Strategy, NIIS) ภายใต้การดำเนินงานของสถาบันสังคมศาสตร์จีน (Chinese Academy of Social Sciences, CASS) เป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนา โดยการสัมมนาวิชาการที่ผ่านมานั้น มีการนำเสนอผลงานวิชาการของนักวิจัยไทยและจีน ภายใต้ 3 หัวข้อย่อย ดังนี้

1) ครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนและไทย: บททบทวนและความสําเร็จ”
2) การสร้างประชาคมจีน-ไทยที่มีอนาคตร่วมกัน: การเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเชื่อมต่อ เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี”
3) การเชื่อมโยงความคิด แบ่งปันความก้าวหน้า: การเรียนรู้ร่วมกันและเน้นที่ผู้คนเพื่อให้นักวิชาการและนักวิจัยไทย-จีนได้แลกเปลี่ยนความรู้ ทัศนะ ประสบการณ์และข้อคิดเห็น ผ่านการนำเสนอผลงานทางวิชาการและการวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับไทย-จีน สนับสนุนให้นักวิชาการและนักวิจัยไทย-จีน ได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการพัฒนาองค์ความรู้ด้านสังคมศาสตร์ร่วมกัน และนำองค์ความรู้จากการสัมมนาฯ ไปพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายและแนวทางความร่วมมือไทย-จีน ต่อไปในอนาคต

ดร. ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ กรรมการกํากับและติดตามการพัฒนาศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents) และศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge) กล่าวว่า การพัฒนาศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents) และศูนย์กลางความรู้ (Hub of Knowledge) เป็นกลไกสำคัญในการสร้างฐานความรู้และทรัพยากรมนุษย์คุณภาพสูง ความร่วมมือกับประเทศจีนถือเป็นต้นแบบของความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรมร่วมกัน ซึ่งเรามุ่งหวังว่าจะขยายผลความร่วมมือนี้ไปยังมิติใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์โลกยุคอนาคต

นางสาวขวัญศิริ ชนยุทธ ผู้อำนวยการกลุ่มวิเทศสัมพันธ์ วช. กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นความร่วมมือที่แน่นแฟ้น โดยเฉพาะในด้านการวิจัยและพัฒนาทางวิชาการ ซึ่ง วช. และ CASS ได้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนนักวิจัยของทั้งสองประเทศ ผ่านศูนย์วิจัยจีน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ - สถาบันสังคมศาสตร์จีน ซึ่งตั้งอยู่ที่ วช.

ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในฐานะนักวิจัยการมีโอกาสได้ทำงานร่วมกับนักวิจัยจากประเทศจีน เป็นโอกาสที่ช่วยเปิดมุมมองใหม่ ๆ ทั้งทางวิชาการและวัฒนธรรม ความร่วมมือนี้ ไม่ใช่แค่การทำวิจัยร่วมกันเท่านั้น แต่ยังเป็นเวทีในการเรียนรู้ การสร้างเครือข่าย และการต่อยอดนวัตกรรมให้เกิดผลกระทบเชิงบวกที่เป็นรูปธรรมต่อสังคมทั้งสองประเทศอย่างยั่งยืน

การจัดงานแถลงข่าว “50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน: Shaping the Future ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม” ในครั้งนี้ วช. ในฐานะกลไกกลางที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ระหว่างไทยและจีน ผ่านความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง วช. กับหน่วยงานวิจัยชั้นนำของจีนด้านสังคมศาสตร์ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองจากการประชุมสัมมนาวิชาการไทย–จีน ครั้งที่ 5 (The Fifth China–Thailand Think Tank Forum) ซึ่งสะท้อนถึงความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างสองประเทศ มุ่งสู่การสร้างประชาคมไทย–จีน ที่มีอนาคตร่วมกันอย่างมั่นคงและยั่งยืน