ที่นี่ปัตตานี !!!! มองวิถีชีวิต “คนหาปลา” กลางอ่าวไทย

ที่นี่ปัตตานี !!!!  มองวิถีชีวิต “คนหาปลา” กลางอ่าวไทย





Image
ad1

“ปัตตานี” เป็นเมืองชายฝั่งทะเลอ่าวไทยที่ทอดยาวไปจนถึงนราธิวาส ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยอาหารทะเล ปลา ปู กุ้งหอย ที่ชาวบ้านและชาวประมงชายฝั่งออกจับสัตว์น้ำได้ตลอดทั้งปี จนกลายเป็น “เมืองท่าการค้าทางทะเล” อีกจังหวัดหนึ่งที่ปลายด้ามขวาน

เนื่องจากมีบริเวณพื้นที่หากินมากมายของชาวประมงพื้นบ้านจับสัตว์น้ำมาขายเป็นอาชีพหลัก สร้างรายได้หล่อเลี้ยงครอบครัว นอกเหนือจากการทำอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนยางพารา ทำสวนปาล์ม และทำนา พักหลังๆมานี้ การทำนาเริ่มลดลง จนทำให้มีปริมาณพื้นที่นาร้างอยู่เป็นจำนวนมาก

 ส่วนใหญ่การทำประมงพื้นบ้าน ชาวบ้านจะมาตั้งรากฐานชีวิตกันตามชายฝั่ง ตั้งแต่อ.เมือง อ.ยะหริ่ง อ.สายบุรี และอ.ปานาเระ นอกจากนี้ บริเวณปากอ่าวปัตตานี ย่านชายฝั่งรูสามิแล (ข้างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)ยังเป็นสถานที่พักชาวประมงเรืออวนใหญ่ ที่ออกหาปลาอยู่กลางทะเลอ่าวไทย จะนำเรือมาเข้าฝั่ง ที่นำมาจอดบริเวณสะพานปลา เพื่อนำปลาที่เก็บจากห้องเย็นมาส่งขายต่อยังพ่อค้า แม่ค้า และห้องเย็นต่างๆมากมาย

บริเวณชุมชนปากอ่าวปัตตานี ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ศึกษาธรรมชาติ ป่าชายเลน วิถีชีวิตชาวประมง ที่มีวัฒนธรรมการใช้ชีวิตคนริมอ่าวอีกแบบหนึ่ง ยิ่งในช่วงที่เรืออวนลากจอดกันเรียงรายริมชายฝั่ง ดูสงบ ได้เห็นชีวิตครอบครัวกลางทะเล การขายปลา การตากเครื่องมือหาปลา อวน ไซ ที่ดูวุ่นวายระเกะระกะบนกลางลำเรือหาปลา

ซึ่งปลาที่ชาวประมงอ้วนลากจับมาได้ นำไปใส่ห้องเย็นเก็บถนอมไว้ เพื่อนำมาขายที่สะพานนั้น จะมีวิถีชีวิตอีกแบบหนึ่งในยามค่ำคืน ที่มีบรรดาพ่อค้า แม่ค้ามาร่วมประมูลปลาไปขายต่อตลาดในเมืองอีกทอดหนึ่ง ส่วนหนึ่ง จะมีรถซาเล็ง รถพุ่มพวง มารอซื้อปลาตั้งแต่เช้ามืด เพื่อนำไปเร่ขายตามอำเภอใกล้เคียง ตามหมู่บ้านในราคาย่อมเยา แต่ปลาจะสดจากเรือ

 ส่วนปลาเกรดดี จะถูกคัดเลือกจากแม่ค้าขาประจำ เพื่อนำขายจังหวัดใกล้เคียง อย่างตลาดใหม่ยะลาส่วนใหญ่มาจากแหล่งสะพานปลาปัตตานี ส่วนประมงพื้นบ้าน ประเภทเรือเล็ก จะใช้วิธีการตกเป็ด ได้ปลาแดง ปลาอินทรีย์ มาขายพ่อค้า แม่ขายตามชายฝั่งอีกครั้ง ข้อดีปลาเหล่านี้จะสด ราคาไม่แพง คุณภาพปลาดี ผ่านการตากแดดเดียว (แค่วันเดียว) หรือสองวัน

สำหรับเรือประมงอ้วนลากนั้นจะใช้วิธีการเดินทางไปหาปลากันกลางทะเลอ่าวไทย โดยปลาส่วนใหญ่ที่ได้มาจากอ่าวปัตตานี จะเป็น ปลาลัง ปลาอินทรีย์ ปลาสีกุน ปลากุเรา ปลาทู เมื่อชาวปรมงจับมาได้จะเก็บไว้ในห้องเย็นใต้เรือ ขณะเดียวกัน การจับปลาในทะเลอ่าวไทย ไม่ใช่ว่าจับได้ตลอดปี จะมีการประกาศของกรมประมง เพื่อใช้การบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนในทะเลอ่าวไทย ที่เรียกกันว่า “ฤดูน้ำแดง” เพื่อคุ้มครองสัตว์น้ำจืด

ชีวิตชาวประมง หลังจากที่นำเรือมาจอดชายฝั่ง เพื่อระบายปลาที่หาได้จากทะเลเรียบร้อยแล้ว จะมีวันว่าง ทางทีมงานไต๋กง และตังเก จะมามาดูแลความเรียบร้อยก่อนที่นำเรือออกหาปลาต่อ ทั้งเช็คเรื่องเครื่องยนต์ น้ำมัน สภาพเรือต้องพร้อมที่สุด เรือบางลำเมื่อเริ่มออกไปทะเล ต้องทำพิธีเซ่นไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ จุดประทัด เอาฤกษ์ เอาชัย เพื่อให้แคล้วคลาดปลอดภัยพายุร้าย ฟ้าฝน และสิ่งไม่ดีไม่ร้ายที่อยู่กลางทะเล เพราะบางครั้งเรือที่ออกไปหาปลากลางทะเลใช้เวลานาน 20-30 วัน (ขึ้นอยู่กับความพร้อม)

ดูเหมือนว่าชีวิตชาวประมง ที่ใช้เวลากินนอน บนเรือ ตากแดด ตากฝน หาปลาในยามค่ำคืน เรื่องสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อขาดการพักผ่อน อาจเจ็บป่วยได้ ต้องเตรียมยารักษาโรคให้พร้อม ที่สำคัญต้องไม่มีโรคประจำตัว ปัจจุบันตังเก ส่วนใหญ่มาจากแรงงานเขมร พม่า และลาว มาทำงานเรือกันเยอะ เพื่อหาเงินส่งครอบครัว บางคนนำครอบครัวมาอาศัยอยู่บ้านเล็กๆตามชายฝั่ง

วิถีชีวิตของชาวประมง เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่หาอาหารเลี้ยงคนทั้งประเทศ บางครั้งเสี่ยงไม่น้อย แต่รายได้ค่าจ้าง พอกิน พอใช้ ยามที่นำเรือขึ้นฝั่ง พวกเขาเหล่านี้ จะนำเงินหาความสุขให้กับชีวิตเล็กๆน้อยๆ สังสรรค์ปารตี้ ทำบุญไหว้พระกันตามกำลังของแต่ละคน