สภาเกษตรกรพัทลุงยื่นหนังสือถึงรัฐบาลแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ


สภาเกษตรกรพัทลุงออกโรงแล้ว ยื่นหนังสือถึงรัฐบาลเรียกร้อง ประกันราคา สินค้าการเกษตร ยาง ข้าว ปาล์มน้ำมัน แพะ หมูวัว พยุงเกษตรกรของชาติ พร้อมสนับสนุนต้นทุนการผลิต ส่งเสริมการตลาดส่งออกต่างประเทศ
สภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง ประมาณ 25 คน ภายใต้การนำของนายสุภาพ มุสิกะศิริ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง นายโอภาส ขุนชิต สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง และนายสุพัฒน์ ธรรมเพชร สมาชิกสภาเกษตรกรประเภทผู้ทรงคุณวุฒิด้านสัตว์ ได้เข้ายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีผ่านนายรัฐศาสตร์ ชิดชู ผวจ.พัทลุง ที่ห้องทำงานของนายรัฐศาสตร์ ชิดชู ผวจ.พัทลุง ศาลากลางจังหวัดพัทลุง เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ โดยได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี นส.พานทองแท้ ชินวัตร ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง
ทั้งนี้ ทางสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง ได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ประกอบกับมีมติที่ประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง ประจำปีงบประมาณ 2568 ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2568 เห็นชอบจากที่ทางสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง ได้รับเรื่องร้องเรียนจากเกษตรกรและกลุ่มองค์กรเกษตรกร ให้มีการเร่งแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตการเกษตรเศรษฐกิจสำคัญ เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ข้าว และทางด้านปศุสัตว์ ที่มีราคาผันผวนตกต่ำเช่นกัน โดยมีข้อเสนอว่าให้ภาครัฐได้มีมาตรการดำเนินการช่วยเหลือเพื่อให้สินค้าเกษตรนั้นมีเสถียรภาพและยังจะส่งเสริมให้สินค้าเกษตรได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมและขายสินค้าได้ในราคาที่เป็นธรรม ซึ่งจะสร้างความเข้มแข็งและมีความยั่งยืนให้กับภาคการเกษตร
จากการประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุงประจำปีงบประมาณ 2568 ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2568 จึงได้มีมติเห็นชอบเสนอให้รัฐบาลกำหนดมาตรการประกันราคาขั้นต่ำในการจำหน่ายสินค้าการเกษตรเป็นไปตามระเบียบข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติพ.ศ. 2553 มาตรา 33 ที่ได้บัญญัติให้มีสภาเกษตรกรจังหวัดและมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาเสนอนโยบายและแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่ เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรมรวมทั้งราคาผลลิตทางการเกษตรที่ไม่เป็นธรรม ต่อสภาเกษตรกรแห่งชาติเพื่อให้สภาเกษตรกรแห่งชาติดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติสภาเกษตรกร แห่งชาติ พ.ศ. 2533 เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการเพื่อประกันราคาขั้นต่ำสินค้าการเกษตรจึงข้อเสนอ 1.รัฐบาลกำหนดราคาขั้นต่่า (Price Floor) ผลผลิตการเกษตรเพื่อป้องกันไม่ให้ราคาเกษตรต่ำกว่าต้นทุนและถูกกดราคาต่ำกว่าต้นทุน จากภาวะตลาดที่ผันผวน
โดยเสนอให้ประกันราคาขั้นต่ำในการจ่าหน่ายสินค้าการเกษตรประเภทข้าวตามสายพันธุ์ในราคาขั้นต่ำสุดที่ 15 บาท / กก. ยางพาราขั้นต่ำสุด 80 บาท / กก. ปาล์มน้ำมัน 8 บาท / กก. และในส่วนการเกษตรประเภทปศุสัตว์นั้น โดยโคเนื้อราคาขั้นต่ำสุด 100 บาท / กก. แพะเนื้อ 80 บาท / กก. และสุกรขุน 80 บาท / กก.
สภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุง ยังเสนออีกว่า รัฐบาลจะต้องให้การอุดหนุนแก่เกษตรกรหรือผู้ผลิต ทั้งนี้เพื่อจะได้ช่วยลดต้นทุนทางด้านการผลิต และยังจะสามารถช่วยรักษาเสถียรภาพราคาของผลผลิตเกษตรอีกด้วยโดยเฉพาะในช่วงที่เกษตรกรประสบกับต้นทุนสูงหรือราคาตกต่ำ และรัฐบาลจะต้องซื้อผลผลิตเกษตรจากเกษตรกรเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการล้นตลาดหรือตลาดที่มีราคาไม่คุ้มค่าซึ่งจะได้ช่วยรักษาความเสถียรของราคาผลผลิต
อีกทั้งรัฐบาลจะต้องส่งเสริมการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรเพื่อช่วยเพิ่มความต้องการในตลาดต่างประเทศ และสร้างเสถียรภาพในตลาดภายในประเทศโดยต้องมีการจัดตั้งตลาดกลาง เพื่อให้มีช่องทางในการจ่าหน่ายผลผลิตในราคาที่เป็นธรรมและยังจะสามารถขยายตลาดได้ โดยตลาดกลางสามารถเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรกับผู้ค้าส่งหรือ ผู้บริโภคโดยตรง และผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าได้อย่างทั่วถึง
ทางด้าน นายรัฐศาสตร์ ชิดชู ผวจ.พัทลุง จะเร่งส่งข้อเรียกร้องของสภาเกษตรกรจังหวัดพัทลุงไปยังนายกรัฐมนตรี ในขณะเดียวกันก็จะได้เร่งจัดประชุมหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาของเกษตรกร พร้อมจะได้แต่งตั้งคณะกรรมการการเกษตรของจังหวัดอีก 1 ชุด เพื่อระดมความคิดเห็นและแนวทางในการรแก้ปัญหา
ทางด้าน ดต.เสวียง แสงขาว เจ้าของฟาร์มโคเนื้อมิสเตอร์โจ ฟาร์ม ขนาด 200 ตัว จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ภาวะสินค้าการเกษตรประเภทปศุสัตว์ โดยเฉพาะโคเนื้อ ราคาได้ตกต่ำมาหลายปี โดยต้นทุนการผลิตจะต้องจำหน่ายให้ได้ในราคา 100 บาท / กก. ซึ่งจะอยู่ได้ แต่ปัจจุบันราคาขายมาอยู่ที่ 78 – 80 บาท / กก. จึงจะมีผู้ซื้อจึงส่งผลให้ที่ขายออกไปจะต้องขาดทุนประมาณ 20,000 บาท / ตัว บางฟาร์มมีความจำเป็นต้องขายออกด้วยเพื่อให้ประสบกับการขาดทุนน้อยที่สุด บางรายต้องยอมขาดทุนประมาณ 3 ล้านบาท และหากไม่ยังปล่อยออกจะขาดทุนถึง 6 ล้านบาท
“ตอนนี้ฟาร์มโคเนื้อที่ขายอกไปแบบขาดทุน จะต้องยุติลงไปแล้วจำนวนหนึ่ง เพราะหากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นก็จะต้องประสบภาวะขาดทุนที่หนักมาก ตอนนี้ภาพรวมโคเนื้อทั้งประเทศ ตามข้อมูลของสมาคมโคเนื้อแห่งประเทสไทยมีถึง 9.6 ล้านตัว ซึ่งจะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 288,000 ล้านบาท”
นายเรืองยศ เพ็งสกุล ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อยถ้ำพรรณรา (วคยถ.) ประธานกลุ่มแปรูปยางพาราเครือข่ายกว่า 200 กลุ่มภาคใต้ เปิดเผยว่า จากนโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นายโดนัล ทรัมป์ จัดภาษีศุลกากรกับต่างประเทศทั่วโลก ได้ส่งกับยางพารา โดยเฉพาะของไทยในวันแรก (8 เมษายน 2568) เกิดภาวะช๊อคส่งผลให้ยางรมควันจาก 70 บาท / กก. ปรับตัวลดลงวันเดียว 10 บาท / กก.เหลือ 60 บาท / กก. โดยยางรมควันที่ส่งเข้าตลาดกลางยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จ.สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และ จ.สงขลา ภาพรวมประมาณ 500,000 กก. ภาคเอกชน และสถาบันกลุ่มเกษตรกรยางพาราขาดทุนในวันนั้นประมาณ 20 บาท / กก. ประมาณ 10 ล้านบาท เฉพาะในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนถ้ำพรรณรา ขาดทุนไปประมาณ 40,000 บาท และบางกลุ่มประมาณ 200,000 บาท”
นายเรืองยศ กล่าวว่า ปัจจุบันทางภาคใต้แปรรูปเป็นยางรมควันประมาณ 20 % น้ำยางสด 60 % และยางก้อนถ้วยเศษยางประมาณ 20 % ที่ขาดทุนไปพร้อมกัน น้ำยางสดเกือบ 70 บาท / กก. ขณะนี้ลดลงมาอยู่ที่ 45-46 บาท / กก.
“ราคาในระดับนี้ในขณะที่เพิ่งเริ่มเปิดหน้ากรีดยังมีปริมาณน้อย และยางพารายังทยอยลดลงเพราะเกิดโรคเชื้อใบร่วง และยังมีโครงการโค่นยางปลูกอื่นผสม เช่น ทุเรียน ปาล์มน้ำมัน กล้วย ฯลฯ เป็นต้น”และยางพาราในล๊อตนี้จะมีการส่งมอบประมาณไตรมาส 3 เดือนกรกฎาคม 2568 ราคาน่าจะนิ่งหรือปรับขึ้น เพราะตลาดโลกยังมีความต้องการปริมาณมาก
นายเรืองยศ กล่าวอีกว่า ประมาณหลังเดือนเมษายน 2568 ยางพาราจะเปิดหน้ากรีดทั่วภาคใต้จะส่งผลต่อทิศทางราคา อีกรอบหนึ่ง แต่ถึงอย่างไรไม่ต้องตื่นตระหนก เพราะยางยังมีความต้องการของตลาดโลกสูงอยู่มาก โดยยางส่งออกต่างประเทศ เช่น จีน ประมาณ 80-90 % กลุ่มประเทศตะวันตก สหภาพยุโรป ประมาณ 20 %
นายเรืองยศ กล่าวอีกว่า เกี่ยวกับนโยบายยางภายในประเทศปัจจุบันไม่ชัดเจนก็จะส่งผลต่อเสถียรภาพยางได้ และประการสำคัญยามภาวะสถานการณ์ไม่ปกติจะต้องมีกองทุนสนับสนุนชาวสวนยาง โดยการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำโดยเอายางพาราเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันและนโยบายยางสำคัญที่ได้ดำเนินการมาเกี่ยวกับโครงการผลิตภัณฑ์ยางใช้ภายในประเทศ เช่น โครงการทำสนามฟุตซอล เสาหลักถนน หมอนที่นอน และอีกหลายผลิตภัณฑ์ต่างชะลอหมด ส่งผลให้โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางต้องยุติการการแปรรูปผลิตไปกว่า 500 โรงทั่วภาคใต้ แต่ละโรงรัฐจะต้องมีการลงทุนไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท เช่น เครื่องจักร สร้างอาคาร หัวปั่นน้ำยางข้น ฯลฯ เฉพาะหัวปั่นน้ำยางข้นบางขนาดมีราคาหัวละ 20 ล้านบาท ภาพรวมเป็นเงินประมาณ 25,000 ล้านบาท โดยไม่ก่อให้เกิดรายได้แต่อย่างใด.