รร.บ้านหนองคันนา เพาะบ่มเมล็ดพันธุ์ปั้น “นักเรียน” เรียนรู้การทำนา


“สุรินทร์” อีกหนึ่งจังหวัดที่มีพี่น้องเกษตรกร หันมายึดอาชีพทำนาและปลูกพืชสมุนไพรจำนวนมาก ติดอันดับต้นๆของประเทศ สร้างรายได้กลับสู่ท้องถิ่นปีละมหาศาล โดยวงจรชีวิตการทำงานจะมาจากชาวบ้านในท้องถิ่นจากอำเภอต่างๆ บางคนมีลูกหลานชาวนา มีเวลาว่างต่างกลับบ้านมาช่วยครอบครัวทำนากัน
ดังนั้น สถานศึกษาบางแห่ง ร่างหลักสูตรสอนวิชาการเกษตร เพื่อสนับสนุนการเรียน การสอนให้นักเรียนได้มีความรู้เบื้องต้น ในเรื่องการทำเกษตร ปลูกข้าว ปลูกพืชต่างๆ เพื่อนำความรู้เหล่านี้กลับไปใช้ในชีวิตประจำวัน และวันหนึ่งสามารถที่ช่วยเหลือครอบครัวยึดอาชีพเกษตรกรรมได้ในระดับหนึ่ง
ณัฎฐ์ธเนศ สีน้ำดำ ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านหนองคันนา เขตการศึกษา3 จังหวัดสุรินทร์ กล่าววว่า ทางโรงเรียนได้ส่งเสริมการเรียน การสอนเรื่องการทำนา โดยทางโรงเรียนได้จัดพื้นที่ส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในการปลูกข้าวนาปี โดยหลักสูตรการเรียนจะเริ่มตั้งแต่การจัดเตรียมพื้นที่ การหว่านข้าว ปักดำ การเก็บเกี่ยว แบบโบราณ ขณะเดียวกัน ทางผู้ปกครองในชุมชนพื้นใกล้เคียงโรงเรียนจะเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องการทำนาควบคู่ไปด้วย อย่างช่วงเก็บเกี่ยวจะมีการลงแขก เกี่ยวข้าว และร่วมนวดข้าว
ส่วนใหญ่หลักสูตรการเกษตร จะเริ่มสอนนักเรียนตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่2 จนถึงม.3 มุ่งเน้นเรื่องเกษตร วิธีการทำนา ซึ่งทางโรงเรียนจัดพื้นที่ทำแปลงนาไว้จำนวน 5 ไร่ ในอนาคตจะเพิ่มอีก จะมีการเก็บเกี่ยวปีละ 1 ครั้ง (ข้าวนาปี) จะใช้ข้าวพันธุ์ดั่งเดิม 105 ข้าวขึ้นชื่อจังหวัดสุรินทร์ โดยใช้การทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ ไม่เน้นใช้สารเคมี ส่วนงบประมาณส่วนหนึ่งทางค่ายซีพี มอบทุนสนับสนุนทางการศึกษาให้กับโรงเรียน โดยทางเครือซีพี จะมาให้ความรู้เรื่องแพคเกจจิ้ง เพื่อสร้างมูลค่าเหมือนที่วางขายในตลาดทั่วไป
ส่วนเรื่องการตลาด จะขายกันในชุมชน ขายผ่านออนไลน์ ส่วนหนึ่งจะถูกแบ่งมาใช้โครงการอาหารกลางวันให้กับนักเรียน โดยปีที่ผ่านมา สามารถปลูกข้าวได้ 2 ตันต่อปี นอกจากนี้ ข้าวหอมนิล เคยคว้ารางวัลมาได้จากสนง.คณะกรรมการศึกษาขึ้นฐาน( สพฐ.)
อนึ่ง ทางโรงเรียนสามารถผลิตข้าวกล้องสักยันต์ (หอมนิล) ข้างกล้องสักยันต์ (ข้าวหอมมะลิ) ข้าวกล้องสักยันต์ (สามกษัตริย์) ข้าวดอกมะขาม