เคล็ดที่ไม่ลับ “ปุ๋ยอินทรีย์” จากเยื่อและกระดาษ ทางเลือกใหม่เกษตรกรไทย

เคล็ดที่ไม่ลับ “ปุ๋ยอินทรีย์” จากเยื่อและกระดาษ ทางเลือกใหม่เกษตรกรไทย





Image
ad1

หารู้ไม่ว่า “เยื่อกระดาษ”  ที่เป็นเส้นใยจากพืชบางชนิด ต้นไม้เนื้ออ่อนและไม้เนื้อแข็งบางชนิด นำมาผ่านระบบการย่อย การแยกสกัดออกมา โดยวิธีทางเคมีและฟิสิกส์ เพื่อให้เป็นชิ้นส่วนขนาดเล็กในรูปแบบเยื่อ โดยที่นำมาทบให้เป็นเส้นใยเยื่อกระดาษ ซึ่งวัสดุชิ้นเล็กๆเหล่านี้จะนำมาผลิตกระดาษอีกครั้ง ที่นิยมใช้ในสำนักงานต่างๆทั้งถ่ายเอกสาร นำมาบันทึก และอื่นๆมากมาย
     
หารู้ไม่ว่า “เยื่อกระดาษ” ล้วนมีประโยชน์อีกมากมาย สำหรับใช้เป็นวัสดุรักษ์โลก อาทิ บรรจุภัณฑ์ทำอาหารแห้ง บรรจุภัณฑ์ทำเป็นแก้วเครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์อาหารแช่แข็ง กล่องกระดาษลูกฟูก ซึ่งแนวโน้มการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้นิยมกันมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อผู้บริโภคลดการใช้โฟม ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องแวดล้อม และมลภาวะต่างๆ

เพราะว่าการเลือกวัตถุดิบมาใช้ในขบวนการผลิตเยื่อกระดาษนั้น มาจากไม้ยูคาลิปตัส และยังมีส่วนประกอบอื่นๆอย่างชานอ้อย  ข้อดีบรรจุภัณฑ์เยื่อกระดาษ สามารถย่อยสลายได้เอง และยังนำไปรีไซเคิลได้ ช่วยลดปัญหามลภาวะทางขยะที่ถูกทิ้ง ซึ่งปัจจุบันเยื่อกระดาษที่หันมาทำผลิตภัณฑ์รักษ์โลก กำลังได้รับความนิยมสูง อีกทั้ง ยังส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรที่มีความใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย 
    
ในขณะเดียวกัน บรรดากากตะกอนจากขบวนการผลิตเยื่อกระดาษ ยังสามารถนำมาทำปุ๋ย ที่เป็นกากอุตสาหกรรมนั้น จะต้องเป็นกากที่ไม่เป็นอันตราย อาทิ กากตะกอนชีวภาพ, Bio Sludge กากตะกอนจากระบบบำบัดนำเสีย

อย่างประเภทกากของเสียจากโรงงานเยื่อกระดาษ สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบร่วมหมัก ทำปุ๋ยอินทรีย์ได้ชั้นดี และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมี ช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทางการเกษตรในไร่นา
    
ซึ่งใครที่เลือกใช้ “ปุ๋ยอินทรีย์” ที่มีส่วนผสมของอะมิโนฮิวมิก ที่มีส่วนผสมประกอบการหมักผสม กากตะกอนหรือเยื่อกระดาษนั้น ยังสามารถช่วยลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่ถูกปล่อยออกมาจากโรงงาน เมื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้ง ช่วยลดปริมาณกากของเสียที่ต้องฝังกลบ ด้วยปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้คุณภาพมาตรฐาน

ยิ่งในยุคปัจจุบันนี้ เกษตรกรไทยต้องเผชิญกับปัญหามากมาย ทั้งโลกรวน ดินเสื่อมคุณภาพ ต้นพืชอ่อนแอ หรือผลผลิตไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง เพราะฉะนั้น การเลือกใช้สารบำรุงดินและพืชที่มีประสิทธิภาพนั้นเป็นเรื่องจำเป็น  ซึ่งปุ๋ยที่ได้มาจากกระบวนการผลิตเยื่อกระกาษ เปลือกไม้ยูคาฯ มีธาตุอาหารครบ ทั้งหลักและรอง ทำให้ดินร่วนชุย และอุ้มน้ำได้ดีพิเศษ ธาตุอาหารมีทั้งแคลเซียล ช่วยให้พืชมีความแข็งแรง ต้านทานโรคและแมลง ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า ยุคนี้แมลง เป็นตัวปัญหาใหญ่ในการเพาะปลูกพืชทั่วไปของเกษตร 
     
สำหรับส่วนผสมในปุ๋ยจะมีธาตุและแมกนีเซีม สามารถช่วยให้พืชเขียวนาน และโตไว ส่วนธาตุรอง ช่วยให้พืชเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์  ชนิดของพืชที่ใช้ “ปุ๋ยอินทรีย์ ไทยกรีน” เกษตรกรสามารถใช้ได้ในนาข้าว , พืชไร่,ไม้ผล ไม้ยืนต้น ยิ่งเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันและยางพารา รวมถึง พืชผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ และยังสามารถใช้กับสนามหญ้าได้ดี

ว่ากันไปแล้ว “ปุ๋ยอินทรีย์ ไทยกรีน” เหมาะสำหรับพืชทุกชนิด เพราะว่าวัตถุดิบหลักที่ได้จากอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ ในเครือ SCGP อีกทั้ง ยังช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อม “เกษตรกรอยู่ได้ โลกอยู่ดี พืชผลเติบโตสวยงาม” สร้างรอยยิ้มพี่น้อง เกษตรไทย