3 เดือนปลดแม่พันธุ์ 3 ล้านทำหมูหันแก้ล้นตลาดกู้วิกฤติราคาตกต่ำ

3 เดือนปลดแม่พันธุ์ 3 ล้านทำหมูหันแก้ล้นตลาดกู้วิกฤติราคาตกต่ำ





ad1

“พิกบอร์ด”ลดกำลังการผลิตสุกร 10 % มุ่งสร้างความบาลานซ์ดีมานด์ซัพพลาย ตั้งแต่ 100,000 แม่พันธุ์ ถึง 500 แม่พันธุ์ เริ่มเดือนมีนาคม นำร่อง 3 เดือน คาดนำแม่พันธุ์ 3 ล้านตัวแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ หมูหัน ฯลฯ 

นายสำรอง รักชุม ประธานกรรมการ ผู้จัดการ บริษัท โชคสุขโภคภัณฑ์ ฟาร์มหมู จ.พัทลุง และคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (พิกบอาร์ด) เปิดเผยว่า พิกบอร์ดรับหลักการตัดวงจรการเลี้ยงสุกรลดลง 10 % ในระยะ 3 เดือน โดยตัดวงจรการตั้งแต่ผู้เลี้ยงรายใหญ่ ขนาด 100,000 แม่พันธุ์ 10,000 แม่พันธ์ และจนกระทั่งถึง 500 แม่พันธุ์ ทั้งนี้ในส่วนลด 10 % จะได้นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น หมูหัน ฯลฯ เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2567

ทั้งนี้ ในการตัดวงจรการเลี้ยงสุกรลง 10 % จะสร้างความสมดุลระหว่างดีมานด์กับซัพพลาย เพราะขณะนี้สุกรยังล้นการตลาด ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรราย่อยประสบภาวะขาดทุนมาต่อเนื่องตลอดในปี 2566 จนถึงขณะนี้

“โครงการจะเริ่มดำเนินการลดลงที่ต่อเนื่อง ซึ่งในรุ่นนี้มีประมาณ 1,000,000 แม่พันธุ์ ถ้ามี 100,000 แม่พันธุ์จะลดลงถึง 10,000 แม่พันธุ์ แม่พันธุ์ดังกล่าวจะผลิตลูกสุกรขุนได้ 2 รุ่น มีประมาณผลผลิตถึง 8 ล้านตัว รวมแล้วประมาณ 9 ล้านตัว เมือทยอยลงลง 10 % จะลดลงได้เกือบ 3 ล้านตัว ทำให้ราคาเกิดเสถียรภาพ”

นายสำรอง กล่าวอีกว่า ปัจจุบันสุกรโอเวอร์ซัพพลาย ทำให้สุกรตกอยู่ในมือของพ่อค้าคนกลาง และก็เป็นตัวเลือกและกำหนดราคาได้ ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยก็ไม่สามารถกำหนดราคาได้ เพราะมีตัวเลือกอยู่จำนวนมากที่จะปล่อยสุกรออก แต่เมือสุกรเข้าสู่ภาวะบาลานซ์ดีมานด์ซัพพลายสุกร ราคาสุกรเกษตรกรรายย่อยก็สามารถกำหนดราคาได้ที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อภาวะขาดทุน

ด้านสมาชิกสมาคมการค้าเลี้ยงสุกรภาคใต้ และเจ้าของฟาร์มสุกรรายใหญ่ จ.พัทลุง กล่าวว่า ตลาดสุกรยอดขายตกมากส่งผลให้กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงรายย่อยต่างพากันขาดทุนเพราะสุกรอยู่ในภาวะล้นตลาด ยกตัวอย่างในช่วงเทศกาลตรุษจีนในปี 2567 ที่ผ่านมา โดยปกติฟาร์มของตนจะมีการขายสุกรมีชีวิตออกสู่ตลาดได้ประมาณวัน 50 – 60 ตัว / วัน แต่มาในเทศกาลตรุษจีนปีนีขายได้ประมาณ 40 ตัว

“ตนยึดอาชีพเลี้ยงและค้าสุกรมา 50 ปี มีคู่ค้าในภาคใต้หลายจังหวัด ยังประสบปัญหาด้านการตลาด เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรรายเล็ก รายย่อย ที่มีคู่ค้าไม่มากจะประสบปัญหาหนักกว่าตนซึ่งเป็นเหตุเลวร้ายเกิดขึ้นในรอบ 50 ปี”

ขณะที่นายภักดิ์ ชูขาว เจ้าของฟาร์มสุกรภักดีฟาร์ม อ.ควนขนุน จ.พัทลุง กล่านว่า สถานการณ์ราคาสุกรตกต่ำมาตลอด ตอนนี้ราคาขายให้กับพ่อค้าส่งขึ้นไปข้างบนทางปริมณฑล ราคา 58 บาท 57 บาท และ 55 บาท / กก. และราคาขายในพื้นที่ 60 บาท และบางรายขาย 64 บาท และ 68 บาท / กก. จากราคาประกาศของสมาคมการค้าเลี้ยงสุกรภาคใต้ 74 บาท / กก. ขณะที่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่เท่าเดิมประมาณกว่า 90 บาท / กก.

“ตอนนี้ชะลอตัวไปแล้วประมาณ 30 % ขณะนี้ ของกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรรรายย่อย”

นายภักดี กล่าวอีกว่า ส่วนการระบายสุกรสุกรออกจากระบบการผลิตเดือนละ 10 %  จะเริ่มในเดือนมีนาคม 2567 เป็นต้นไป.

โดย...อัสวิน ภักฆวรรณ /พัทลุง