คนส.-240 นักวิชาการ-ประชาสังคม-ประชาชน รวมพลังคัดค้านกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าดำเนินคดีน.ศ.จัดกิจกรรม“สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเองกับสันติภาพปาตานี

คนส.-240 นักวิชาการ-ประชาสังคม-ประชาชน รวมพลังคัดค้านกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าดำเนินคดีน.ศ.จัดกิจกรรม“สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเองกับสันติภาพปาตานี





ad1

จากกรณีที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ได้ส่งตัวแทนเข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองปัตตานีเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2566 เพื่อให้ดำเนินคดีกับนักศึกษาและนักกิจกรรมจำนวนรวม 5 คน ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 114 ฐานตระเตรียมการเพื่อเป็นกบฏ มาตรา 116 ฐานยุยงปลุกปั่นให้ประชาชนก่อความไม่สงบ มาตรา 209 ฐานเป็นอั้งยี่ และมาตรา 210 ฐานเป็นซ่องโจร จากการจัดและเข้าร่วมงานเสวนา “สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเอง (Self Determination) กับสันติภาพปาตานี” ซึ่งจัดขึ้นที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นั้น 

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) และผู้มีรายชื่อแนบท้าย มีความเห็นต่อการดำเนินการดังกล่าวของฝ่ายความมั่นคง ดังนี้

1. การดำเนินคดีข้างต้นขาดความสมเหตุสมผลทางกฎหมาย เพราะแม้การจัดทำประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชจะไม่สามารถกระทำได้ภายใต้กรอบของกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่ไม่ได้หมายความว่าการเสนอความคิดหรือความฝันเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ในฐานะที่เชื่อว่าจะเป็นทางออกของปัญหาความขัดแย้งจะถือว่าเป็นกบฏ เนื่องจากตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 การกระทำความผิดฐานกบฏนั้นจะต้องมีลักษณะเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ส่วนมาตรา 114 ที่กำหนดความผิดไปถึงการตระเตรียมการด้วยนั้นจึงต้องตีความให้สอดคล้องกับมาตราหลัก คือเป็นการตระเตรียมการต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การใช้กำลังประทุษร้ายฯ ในขณะที่คำถามเกี่ยวกับประชามติของกลุ่มนักศึกษาในงานเสวนาข้างต้นเป็นการเสนอให้แก้ปัญหาด้วยกระบวนการที่เปิดเผย สงบ และสันติ ด้วยกระบวนการที่ยอมรับกันในทางสากล จึงไม่สมเหตุสมผลอย่างยิ่งที่จะตีความการกระทำเพียงเท่านี้ให้เข้าลักษณะเป็นการตระเตรียมการหรือสมคบกันเพื่อเป็นกบฏ 

ส่วนการตั้งข้อหาในความผิดฐานยุยงปลุกปั่นตามมาตรา 116 นั้น เมื่อข้อเสนอเกี่ยวกับการประชามติเป็นการใช้เสรีภาพเพื่อเสนอทางออกด้วยกระบวนการที่สงบและสันติ ซึ่งจะเป็นไปได้ย่อมต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมาย จึงไม่สมเหตุสมผลเช่นกันที่จะเหมารวมว่าข้อเสนอดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้ประชาชนก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักรหรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตราดังกล่าว  ทั้งนี้ มิพักต้องกล่าวถึงความสมเหตุสมผลของการตั้งข้อหาในความผิดฐานเป็นอั้งยี่และเป็นซ่องโจร ซึ่งกฎหมายมีเจตนารมณ์ให้ใช้กับกลุ่มหรือองค์กรอาชญากรรม แต่กลับนำมาใช้กับนักศึกษาและนักกิจกรรมซึ่งนำเสนอความคิดโดยเปิดเผยผ่านเวทีเสวนาสาธารณะ

2. การนำเสนอความคิดเห็นหรือความฝันที่อยากเห็นย่อมเป็นสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรอง ซึ่งสอดคล้องกับทุกสังคมที่ถือตนว่าเป็นประชาธิปไตย แม้ว่าเสรีภาพดังกล่าวจะมีข้อจำกัดในบางประการแต่ก็ต้องระมัดระวังไม่ตีความข้อจำกัดเหล่านั้นจนขยายกว้างจนเกินไป จนกระทั่งแม้แต่การแสดงออกถึงความคิดเห็น ความเชื่อ หรือแม้แต่ความฝันก็กลายเป็นสิ่งต้องห้าม ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพิจารณาจากคำถามในกระบวนการทำประชามติจำลองที่ว่า "คุณเห็นด้วยกับสิทธิในการกำหนดชะตากรรมตนเองหรือไม่ ที่จะให้ประชาชนปาตานีสามารถออกเสียงประชามติแยกตัวเป็นเอกราชได้อย่างถูกกฎหมาย" สะท้อนว่าแม้จะให้ความสนใจต่อสิทธิในการกำหนดชะตากรรมตนเอง แต่ผู้จัดกิจกรรมก็ตระหนักดีว่ากระบวนการดังกล่าวต้องเป็นไปอย่าง “ถูกกฎหมาย” และเป็นสันติวิธี ปราศจากจากอาวุธและความรุนแรง  สังคมไทยจึงควรใช้โอกาสนี้ทำความเข้าใจและร่วมเรียนรู้ ถกเถียง และหาข้อสรุปบนพื้นฐานของความเคารพซึ่งกันและกัน มากกว่าจะที่ใช้กฎหมายเพื่อจัดการความความคิดเห็นหรือความฝันที่แตกต่าง

3. การดำเนินคดีจากคำถามประชามติเป็นการใช้กฎหมายปิดปาก (SLAPP LAW) อันเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ การตั้งข้อหาหนักต่อเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ เพียงเพราะต้องการหยุดการนำเสนอความคิดเห็นที่แม้จะเป็นไปอย่างสันติ ปราศจากความรุนแรง แต่ก่อให้เกิดความ "ไม่สบายใจ" แก่บางฝ่าย จึงนับว่าเป็นการใช้กฎหมายปิดปากเพื่อปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งในสถานการณ์ของความรุนแรงชายแดนใต้ที่ดำเนินมา 18 ปี การละเลยที่จะรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวในกระบวนการที่ถูกกฎหมายคือความสูญเปล่าของห้วงเวลาเกือบสองทศวรรษในการทำงานความมั่นคงชายแดนใต้ของรัฐ และยิ่งจะเป็นการกดทับสร้างความตึงเครียดในพื้นที่ ทำลายความไว้เนื้อเชื่อใจของประชาชนที่มีต่อรัฐให้รุนแรงยิ่งขึ้น

จากกรณีนี้  คนส. และผู้มีรายชื่อแนบท้าย ขอเรียกร้องผู้เกี่ยวข้องในสถานการณ์นี้ ดังต่อไปนี้

1. ขอให้ กอ.รมน. และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องหยุดใช้ การดำเนินคดีด้วยการใช้กฎหมายปิดปาก (SLAPP LAW) ต่อนักศึกษาและนักกิจกรรม และรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างของคนในพื้นที่อย่างจริงใจเพื่อเป็นการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง หน่วยงานรัฐและ กอ.รมน. ไม่ควรเป็นผู้สร้างเงื่อนไขให้กับการต่อสู้ด้วยอาวุธและความรุนแรงเสียเอง

2. ขอให้สื่อมวลชนนำเสนอข้อมูลด้วยความรอบคอบและส่งเสริมพื้นที่การสื่อสารของคนในสังคมด้วยความประณีตมีวิจารณญาณ ประเด็นดังกล่าวมีความอ่อนไหวต่อสังคมไทย เป็นเรื่องยากและท้าทายในการทำหน้าที่เป็นสื่อกลางความขัดแย้งนี้ อย่างไรก็ดี สื่อมวลชน คือ ความหวัง และนั่นอาจจะเป็นเกียรติภูมิแห่งสื่อมวลชนไทย

3. ขอให้สังคมไทยมีความอดทนอดกลั้นรับฟังเสียงที่แตกต่างและข้ามผ่านความกลัวที่จะสูญเสียเอกราช หากความขัดแย้งได้แปรเปลี่ยนเป็นความเข้าใจและไว้เนื้อเชื่อใจ สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเองของคนชายแดนใต้ที่ขนานนามตนเองว่าปตานีจะไม่ใช่ความน่ากลัวเพราะไม่ใช่ความขัดแย้งหรือปฏิปักษ์ต่อรัฐไทย

ด้วยความเคารพในสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) และ ผู้ลงนามแนบท้าย
1. กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
2. กนกวรรณ มีพรหม ประชาชน 
3. กรชนก วงษ์เบาะ ประชาชน 
4. กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
5. กิตติภพ แก้วสุวรรณ์ กลุ่มคบเพลิง (The torch)  
6. กิติมา ขุนทอง มรภ. สกลนคร 
7. กุสุมา กูใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 
8. คคนางค์ โปตานนท์ The Young Vision 
9. คมลักษณ์ ไชยยะ 
10. เคท ครั้งพิบูลย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
11. โครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม 
12. งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา 
13. จารุวัจน์ สองเมือง มหาวิทยาลัยฟาฏอนี 
14. เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลาคนรินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 
15. ฉันท์หทัย (อรทัย) อาจอ่ำ นักวิชาการอิสรภาพ/ข้าราชการบำนาญ 
16. ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
17. ชนกันต์ นภารักษาวงศ์ พรรคอาทิตย์ใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
18. ชลิต รัษฐปานะ ประชาชน 
19. ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
20. ชัชวาล ปุญปัน ข้าราชการบำนาญ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
21. ซอลาฮูดิน มานิ๊ ชมรมมุสลิม มนร. 
22. ซอฮาบูดิน เลาะยะพา Patani baru 
23. ซะฮมี สะแต The Patani 
24. ซัมซู มาชัย Bangkit pemuda 
25. ซาฟียะห์ ตาเยะ 
26. ซายฟู อานิง 
27. ซาลาฮูดดีน กาดำ Bangkit Pemuda Patani  
28. ซาฮารี เจ๊ะหลง 
29. ซำซู อาแว Pelajar Bangsa 
30. ซุลกอรนัย เจะแต 
31. ซูกริฟฟี ลาเตะ The Patani 
32. ซูปียัน ทองคำศรี 
33. ซูลฟาร์ มานิ๊ 
34. ซูวัยบะห์ อะบิลเฮม 
35. ซูไฮมิง สะมะแอ The Patani 
36. ฐนพงศ์ ลือขจรชัย ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 
37. ฐาปกรณ์ กำจร 
38. ฐิตินบ โกมลนิมิ 
39. ณพกิตติ มะโนชัย ภูพานบ้านนักรบ (สกลนคร) 
40. ณภัค เสรีรักษ์ 
41. ณัฐพงศ์ มาลี 
42. ต่วนอิสกันดาร์ ดาโต๊ะมูลียอ  
43. ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
44. ตูแวดานียา ตูแวแมแง  สำนักปาตานีรายาเพิ่อสันติภาพและการพัฒนา (LEMPAR)  
45. ทยากร ราชครุฑ ภูพานปฏิวัติ 
46. ทวีศักดิ์ ปิ 
47. ทักษิณ บำรุงไทย นักกิจกรรม ภาคเหนือ 
48. ทัศนัย เศรษฐเสรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
49. ธนพงษ์ เชื้อเมืองพาน กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง 
50. ธนพร วิจันทร์ เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน 
51. ธนาคาร สาระคำ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 
52. ธนิษฐ์ นีละโยธิน 
53. ธนู แนบเนียร 
54. ธิดารัตน์ ศักดิ์วีระกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
55. ธิติมา ทองศรี สหภาพคนทำงาน 
56. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

57. นภัสสร บุญรีย์ 
58. นวพล กัลยา กอผือรื้อเผด็จการ

59. นัชมุดดิน กือนิ 
60. นัทธมน ศุภรเวทย์ 
61. นันท์พิพัชญ์ คำวงค์ปิน ข้าราชการบำนาญ 
62. นาดีญา วาปอ Pelajar Bangsa 
63. นาตยา อยู่คง  คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 
64. นาอีมย์ ดอเลาะ ประชาชนแห่งประชาธิปไตยต้านทรราช 
65. นิเซง มะมิน 
66. นูร์ญาณี กาเซ็ง The Patani (Tenggara) 
67. นูรออาซียาน กะปิเยาะ  Perwani  (จูเนียร์) 
68. นูรอัยนี เกิดยินดี 
69. เนรัญธิญา สรรพประเสริฐ 
70. บังอร แซ่เหลี่ยง 
71. บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี 
72. บารมี ชัยรัตน์ สมัชขาคนจน 
73. บุณฑริก จริโมภาส 
74. บุณฑริกา มีชูชีพ 
75. บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
76. บูรพา เล็กล้วนงาม เพจ Thai online station  
77. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว 
78. ปพิชญานันท์ จารุอริยานนท์ คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) 
79. ประกีรติ สัตสุต คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
80. ประภาส ปิ่นตบแต่ง 
81. ปราโมทย์ ระวิน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา 
82. ปัญญาโชติ ธนลาภกุล 
83. ปิยะโชติ อินทรนิวาส สื่อมวลชนอิสระ 
84. ปิยากร เลี่ยนกัตวา 
85. พรชัย แซ่ซิ้ม 
86. พรรณวสา สรรพประเสริฐ 
87. พลัง หนูเหลือ กลุ่มกระบี่ไม่ทน 
88. พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
89. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ 
90. พิชยา เกตุอุดม 
91. พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ สื่อมวลชน 
92. พินิจ ทองคำ 
93. พุทธณี กางกั้น 
94. พุทธพล มงคลวรวรรณ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
95. พุทธิมา พุทธนุกูล 
96. พูลสิทธิ์ งามฤทธิ์ สหภาพคนทำงาน 
97. ฟิตตรี อีซอ The Patani 
98. ฟิรดาวส์ หะยีอายุ 
99. ภวัต หิรัณย์ภณ 
100. ภักดิ์กมล ศิริวัฒน์ 
101. ภัควดี วีระภาสพงษ์ 
102. ภัทรภร ภู่ทอง 
103. ภัทราภรณ์ สุขเสริม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุลราชธานี 
104. ภาวิณี ไชยภาค ธนาคารเมล็ดพันธุ์ 
105. ภาสกร อินทุมาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
106. ภูมิรพี ธรรมรักษ์ PiGeon_Freedom.1 
107. มะยาตี หามิ 
108. มานียา รักษาผล สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล 
109. มารุวรรณ หะยีดอเล๊าะ The Patani 
110. มุสตากีม ยูโซะ  The Patani  
111. มุสลิม สะอุ The Patani 
112. มูฮำหมัดเซาฟีร อาแซ
The Patani  
113. มูนีเราะฮ์ ยีดำ 
114. มูหามะฮาซัน เจ๊ะอารง The Patani  
115. มูฮัมหมัด สาอุ 
116. มูฮัมหมัดอาฟิต ดาราแม 
117. มูฮัมหมัดกัสดาฟี กูนา The Patani Resource 
118. มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
119. มูฮาหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะ 
120. มูฮำมัดรอฟีกีน สือนิ Pelajar Bangsa 
121. มูฮำหมัดรุสดี ดอเลาะ พรรคกิจประชา (มาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี) 
122. มูฮำหมัดอะนัส สาแม 
123. มูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ 
124. มูฮำหมัดฮาซัน ดือเล๊าะ 
125. ยามารุดดิน ทรงศิริ 
126. ยาสมิน ซัตตาร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  
127. ยุสรีฮา เปาะดาโอะ 
128. ยูนัยดี ยะลาแป สภาพัฒนาชุมชนบ้านรือเป 
129. เยาวลักษณ์ อนุพันธ์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน