องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก สานต่ออย่างยั่งยืน ใน “โครงการต้นแบบพรุ่งนี้ที่ดีกว่า Build Back Better for Elephants

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก สานต่ออย่างยั่งยืน ใน “โครงการต้นแบบพรุ่งนี้ที่ดีกว่า Build Back Better for Elephants





ad1


องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก สานต่ออย่างยั่งยืน
ใน “โครงการต้นแบบพรุ่งนี้ที่ดีกว่า Build Back Better for Elephants
เพื่อสวัสดิภาพช้าง รับ “วันช้างไทย”

กรุงเทพฯ, 13 มีนาคม 2566(วันช้างไทย) – ประเทศไทยจัดเป็นศูนย์กลางในการใช้ช้างในธุรกิจท่องเที่ยวและความบันเทิง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวมานานหลายปี ซึ่งปัจจุบัน มีช้างไทยกว่า 3,000 ตัวที่ถูกนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ช้างเหล่านี้จะถูกฝึกตั้งแต่ยังเล็ก ช้างเด็กจะถูกพรากจากแม่ตั้งแต่ยังเล็ก ถูกกักขัง เฆี่ยนตี ล่ามโซ่ ให้เชื่อฟังคำสั่ง ก่อนจะถูกส่งไปใช้งานตามปางช้างต่างๆ ผ่านกิจกรรมแสดงโชว์ ให้นักท่องเที่ยวขี่ อาบน้ำ ฯลฯ โดยที่ช้างเหล่านี้ไม่ได้มีโอกาสได้ใช้ชีวิตและแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ ในขณะที่กระแสการท่องเที่ยววิถีใหม่อย่างรับผิดชอบและยั่งยืนแบบไม่ทำร้ายช้างคือทางออกและโอกาสของธุรกิจการท่องเที่ยวทั่วโลกในอนาคต


องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก World Animal Protection ยืนหยัดเคียงข้างช้างไทย โดยมุ่งมั่นในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาสวัสดิภาพช้างตลอดมาผ่านการสนับสนุนให้เงินช่วยเหลือฉุกเฉิน “ปางช้างที่เป็นมิตรต่อช้าง” ทุกเดือน ตั้งแต่ช่วงวิกฤตโควิด-19 ปีพ.ศ.2563  จนถึงปัจจุบัน เป็นจำนวน 9 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด เพื่อให้ปางช้างสามารถอยู่รอด และพัฒนามาตรฐานสวัสดิภาพเข้มแข็งขึ้นได้แม้ในภาวะยากลำบาก ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการดูแลช้างและควาญช้าง อาทิ ค่าอาหารช้าง ค่ารักษาพยาบาลช้าง เงินเดือนควาญช้าง เป็นต้น รวมงบประมาณกว่า 20 ล้านบาทต่อปี  และที่ผ่านมาองค์กรฯ ยังขยายความช่วยเหลือปางช้างผ่านการให้เงินทุนงบประมาณ 2 ล้านบาท ผ่าน 'โครงการพรุ่งนี้ที่ดีกว่าของช้าง' (Build Back Better for Elephants) โดยล่าสุดปีนี้องค์กรฯ พร้อมเดินหน้าเปิดรับสมัครปางช้างทุกแห่งที่มีความมุ่งมั่นจะพัฒนาสวัสดิภาพช้างให้สูงยิ่งขึ้น เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับพรุ่งนี้ที่ดีกว่าของช้างที่เป็นจริงได้อย่างยั่งยืน 


นายฉัตรณรงค์ เมืองวงษ์ ผู้จัดการแคมเปญสัตว์ป่า กล่าวว่า  “ในโอกาสวันช้างไทยซึ่งตรงกับวันที่ 13 มีนาคมของทุกปี องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกขอประกาศเจตนารมณ์ว่าจะเราจะยืนหยัดเคียงข้างช้างไทย และปางช้างที่เป็นมิตรต่อช้าง ตลอดจนปางช้างทั่วไปที่มีความมุ่งมั่นในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาสวัสดิภาพช้าง ผ่านโครงการความร่วมมือต่างๆ อีกมากมาย รวมถึงการรณรงค์กับภาครัฐและประชาชนทั่วไปให้เห็นความสำคัญของสวัสดิภาพช้างมากยิ่งขึ้น ตลอดจนหยุดสนับสนุนกิจกรรมท่องเที่ยวที่เป็นการทำร้ายช้าง” 
 ทั้งนี้ ที่ผ่านมาองค์กรฯ ได้มุ่งมั่นที่จะยกระดับการพัฒนาสวัสดิภาพช้างให้สูงขึ้นอีก โดยร่วมมือกับปางช้างทุกแห่งที่มีความมุ่งมั่นจะปรับเปลี่ยนและพัฒนาสวัสดิภาพช้างให้สูงยิ่งขึ้นอีก 4 ปางช้าง ด้วยการให้เงินทุนผ่าน “โครงการพรุ่งนี้ที่ดีกว่าของช้าง” (Build Back Better for Elephants) ใช้งบประมาณรวมกว่า 2 ล้านบาท ดังนี้  
- การติดตั้งระบบน้ำบาดาลและการปลูกกล้วย ณ Sappraiwan Elephant Resort & Sanctuary จ.พิษณุโลก (พฤศจิกายน 2564 - พฤษภาคม 2565)
- การปลูกกล้วย อ้อย และหญ้าเนเปียร์ ณ Elephant Peace Project จ.เชียงราย (พฤศจิกายน 2564 - พฤษภาคม 2565)
- การทดลองเปลี่ยนโซ่ผูกช้างเป็นวัสดุสังเคราะห์น้ำหนักเบา ณ Somboon Legacy Foundation จ.กาญจนบุรี (กันยายน 2565 - ปัจจุบัน)
- การก่อสร้างที่อยู่สำหรับช้างชราเพื่อช่วยเหลือช้างเพิ่ม ณ BEES - Burm and Emily's Elephant Sanctuary (ธันวาคม 2565 - ปัจจุบัน)
  สำหรับ 'โครงการพรุ่งนี้ที่ดีกว่าของช้าง' (Build Back Better for Elephants) ประจำปี 2566 นี้กำลังจะเปิดรับผู้สมัครเร็วๆ นี้  โดยปางช้างทุกแห่งที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดได้จากเว็บไซต์และช่องทางโซเชียลมีเดียขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมของงานได้ที่ www.worldanimalprotection.or.th
เครดิตภาพถ่าย World Animal Protection/Nicolas Axelrodเกี่ยวกับองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก 

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนระดับโลกมีสำนักงาน 14 แห่งทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยซึ่งได้มีการดำเนินการเพื่อปกป้องสัตว์จากความทุกข์ทรมาน มาเป็นเวลา 55 ปีโดยมุ่งเน้นการยกระดับ สวัสดิภาพสัตว์ และยุติการทุกข์ทรมาน และการทารุณกรรมสัตว์อย่างถาวร โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ ประเทศอังกฤษ ที่ผ่านมาองค์กรฯ ได้ดำเนินกิจกรรมผ่านโครงการต่างๆ ในประเทศไทย อาทิ โครงการส่งเสริมระบบอาหารอย่างยั่งยืน โดยยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ฟาร์ม การยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ที่อยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว  เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต ช้างไทยให้ดีขึ้นและเพื่อให้สัตว์ป่าทุกตัวได้มีโอกาสที่จะมีชีวิตอย่างมีอิสระตามธรรมชาติโดยตระหนักถึงความสำคัญ ของคุณภาพชีวิตสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพชีวิตมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมอย่างเกื้อกูลกัน


องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย
คุณอภิลักษณ์ พวงแก้ว  โทร. 0889463645  Email: [email protected]