ผลักดันโขลงช้างป่าเขาอ่างฤาไน40ตัว(บวก)ข้ามฝั่งจากแปดริ้วมาหากิน พ้นป่าไร่อ้อย-มันสำปะหลัง-สวนปาล์มเกษตรกร

ผลักดันโขลงช้างป่าเขาอ่างฤาไน40ตัว(บวก)ข้ามฝั่งจากแปดริ้วมาหากิน พ้นป่าไร่อ้อย-มันสำปะหลัง-สวนปาล์มเกษตรกร





ad1

ปราจีนบุรี - ผลักดันโขลงช้างป่าเขาอ่างฤาไน40ตัว(บวก)ข้ามฝั่งจากแปดริ้วมาหากิน พ้นป่าไร่อ้อย-มันสำปะหลัง-สวนปาล์มเกษตรกร ก่อนหน้าขับโขลงแม่แปรก20ตัว(บวก)ไปล่วงหน้าแล้ว

เมื่อเวลา10.00น. วันนี้26 พ.ย.65  ผู้สื่อข่าวจ.ปราจีนบุรีรายงานว่าได้รับแจ้งจาก องค์การบริหารส่วนตำบลวังท่าช้าง(อบต.)อ.กบินทร์บุรี  ร่วมกับเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ผู้นำทัองถิ่น-ผู้ใหญ่บ้านและชุดอาสาสมัครจิตอาสาเฝ้าระวังช้างป่าและชุดอาสาสมัครทุ่งพระยา อ.สนามชัยเขตจ.ฉะเชิงเทรา  ได้ร่วมกันผลักดันช้างป่าจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน  จ.จังหวัดฉะเชิงเทรา (ในผืนป่าราบต่ำผืนสุดท้ายในเขตป่ารอยต่อ5จังหวัดภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา,จ.สระแก้ว,จ.ชลบุรี,จ.จันทบุรี, จ.ระยอง) ที่แตกโขลงข้ามฝั่งจังหวัด   เข้ามาหากินในป่าอ้อย,ไร่มันสำปะหลัง,สวนปาล์ม,สวนมะม่วง,ป่ากล้วย,นาข้าวบางส่วนที่เหลือยังไม่ได้เก็บเกี่ยวของเกษตรกร ต.วังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรโดยเฉพาะผู้ปลูกไร่อ้อยอันเป็นอาหารโปรดของช้างป่า  อย่างหนัก

 ซึ่งการผลักดัน  ได้แบ่งกำลังเป็น 2 ชุด  เดินทางสำรวจโขลงช้างป่า  ที่คาดว่าจะหลบซ่อนตัวกันอยู่ในป่าอ้อย  และเชิงเขา และมีการ  ใช้โดรนบินสัมผัสความร้อนบินสำรวจภาพมุมสูงทำการบินค้นหาโขลงช้างป่าเพื่อทำการผลักดันออกจากพื้นที่ ให้กลับคืนถิ่นที่อยู่เดิม จ.ฉะเชิงเทรา   เพื่อความปลอดภัยของชาวบ้าน  และความเสียหายของพืชผลทางการเกษตร 

ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนตำบลวังท่าช้าง(อบต.) นำโดยนายองอาจ ทาทัพ รองนายกอบต.วังท่าช้าง   พร้อมคณะ   ได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่าพบโขลงช้างป่า  รวมประมาณ 40 ตัว(บวก) พักอาศัยอยู่ในป่าอ้อย   ซึ่งติดกับป่ายูคาลิปตัส   ในพื้นที่หมู่ที่ 11 บ้านวังกวาง 

จึงทำการทำการผลักดันโขลงช้างดังกล่าวออกจากพื้นที่ โดยการผลักดันโขลงช้างป่า  มุ่งหน้าไปทางเขามะกล่อง หมู่ 14 จึงเป็นเขตอะไรต่อหมู่ที่ 20 เป็นหมู่ที่ 21 ที่เป็นพื้นที่รอยต่อจังหวัดฉะเชิงเทรา 

ในการผลักดันช้างป่าโขลงดังกล่าว   จะผลักดันโขลงช้างไปยังป่าเบาะกระสอบหรือบะกระสอบ ซึ่งเป็นพื้นที่ชั้นในสุดที่โขลงช้างป่าอ่างฤาไนพักอาศัยอยู่ประจำ 

ขณะเดียวกันก่อนหน้านี้ทางทีมเฝ้าระวังทุ่งพยา ได้ผลักดันโขลงช้างป่า แม่แปรก  รวม20ตัว(บวก) ที่ผลักดันออกจากป่าอ้อยเมื่อช่วงเที่ยงวานนี้(25พ.ย.)   ที่ผ่านมา และโขลงช้างป่า  ได้หลบหนีการผลักดันของเจ้าหน้าที่   เพื่อจะย้อนกลับ แต่ทางเจ้าหน้าที่   ไม่ลดละความพยายามเร่งทำการผลักดันโขลงช้างป่าดังกล่าวกันอย่าวไม่ลดละ กระทั่งเวลา 18:00 น.โขลงช้างป่า   ได้หนีเข้าป่าลึกเจ้าหน้าที่จึงถอนกำลังกลับ และเฝ้าระวังช้างป่าว่าจะย้อนกลับเข้ามาหากินในพื้นที่อีกเวลาใด

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติม   ปัญหาช้างป่า  ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จังหวัดฉะเชิงเทรา (ในพื้นที่ลุ่มต่ำผืนสุดท้ายในป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา,จังหวัดสระแก้ว,จังหวัดชลบุรี,จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดระยอง) มีมาเนิ่นนานนับ 30 ปี  ที่ผ่านมาระยะแรกมีเพียงแค่ในพื้นที่ ที่ช้างป่าออกจากพื้นที่มานอกเขตอำเภอสนามสนามชัยเขต,อำเภอท่าตะเกียบ 

จนต้องมีการสร้างคู-รั้วกั้นช้างป่า แต่ไม่สามารถยับยั้งได้ เนื่องจากสาเหตุหลักๆคือ จำนวนประชากรของช้างป่าที่เพิ่มทวีสูงมากขึ้น แต่แหล่งอาหาร ที่อยู่ แหล่งน้ำ มีจำกัด มีการแก้ไข  ปิด-เปิด เส้นทางผ่านผืนป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน หลังจากมีปัญหาช้างป่าถูกรถชน สัตว์ป่าดักปล้นรถขนอ้อย-มันสําปะหลัง-สับปะรด ช้างทำร้ายคน

แต่ในช่วง 10 ปี  ที่ผ่านมา ช้างป่า  พากันออกนอกพื้นที่มากขึ้นและกระจายโดยรอบผืนป่าทั้ง 5 จังหวัด  และพากันมาแบบทั้งยกโขลงเป็นร้อยตัว,มาเดี่ยว และมีแนวโน้มกลายเป็นสัตว์ประจำถิ่น มาแล้วไม่กลับคืนที่เดิมเนื่องจากในพื้นที่หากินใหม่มีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งสวนผลไม้, ไร่มันสําปะหลัง, ไร่อ้อย, ไร่ข้าวโพด, นาข้าว, ป่ากล้วย ตลอดจนแหล่งน้ำ

โดย   ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี   พื้นที่มักยกโขลงมากันสม่ำเสมอได้แก่ ตำบลวังท่าช้าง, ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอกบินทร์บุรี   และอำเภอศรีมหาโพธิ โดยจะพากันข้ามฝั่งจากถนนสายสระแก้วตัดใหม่ (สระแก้ว-พนมสารคาม) หรือสาย 359 ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อกัน

โดยมีผลขัดแย้งกับชาวบ้านในพื้นที่ อาทิ ช้างป่าถูกรถชนบาดเจ็บ-ตาย ขณะข้ามถนน,ช้างบุกรุกพืชสวนไร่นาพื้นที่การเกษตร,การพังบ้านเรือน,การทำร้ายประชาชนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต,ช้างถูกไฟช็อตตาย เป็นต้น

มานิตย์   สนับบุญ/ปราจีนบุรี รายงาน