3 หน่วยงานรัฐตากเซ็นเอ็มโอยู 13 องค์กรเครื่อข่ายอบรมเสริมศักยภาพผู้นำชุมชน

3 หน่วยงานรัฐตากเซ็นเอ็มโอยู 13 องค์กรเครื่อข่ายอบรมเสริมศักยภาพผู้นำชุมชน





ad1

ตาก-"นอภ.แม่สอด- ผอ.รพ.แม่สอด- รองอธิบดีอัยการ ภ.6. ร่วม 13 องค์กรเครือข่าย พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU โครงการอบรมเสริมศักยภาพผู้นำชุมชนในการช่วยเหลือสตรีและเด็กที่ถูกกระทำรุนแรง

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2565  นายสมชาย ไตรทิพย์ชาติสกุล นายอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ,นายแพทย์ธวัชขัย เศรษฐศุภพนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่สอด,นายสมพงษ์ เย็นแก้ว รองอธิบดีอัยการภาค 6 สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิ และช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก(สาขาแม่สอด),ผู้แทน พ.ต.อ.มนต์ศักดิ์ แก้วอ่อน ผกก.สภ.แม่สอด จ.ตาก  

เดินทางมาร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU โครงการอบรมเสริมศักยภาพผู้นำชุมชนในการช่วยเหลือสตรีและเด็กที่ถูกกระทำรุนแรง ร่วมกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ,สำนักงานอัยการ,สวัสดิการคุ้มครองแรงงาน, สำนักงานพัฒนาทรัพยากรและความมั่นคงของมนุษย์ ,องค์กรภาคเอกชน และองค์กรภาคเครือข่าย 13 องค์กร โดยมีการทำ MOU ณ โรงแรมมอนเต้ อ.แม่สอด จ.ตาก

โดย โครงการ: Services & Access สนับสนุนโดยโครงการ Safe and Fair จัดขึ้นโดย: ศูนย์พึ่งได้ (OSCC)โรงพยาบาลแม่สอด Migrant Women Project มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ (FLEP) มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของกลุ่มชาติพันธุ์ (MAP) และมูลนิธิสุวรรณนิมิต กลุ่มเป้าหมาย: ผู้นำชุมชน (กำนัน สารวัตรกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน) จำนวนประมาณ 40 คน โดยมีที่มาของผู้หญิงทุกคนรวมถึงแรงงานหญิงข้ามชาติมีสิทธิได้รับการคุ้มครองจากการเลือกปฏิบัติใดๆตามที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี (CEDAW) แต่จากการทำงานของเครือข่ายองคก์รให้ความช่วยเหลือแก่แรงงานข้าชาติพบว่า ผู้หญิงที่ประสบปัญหาถูกกระทำความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ

ทั้งความรุนแรงในครอบครัว หรือประสบกับความรุนแรงทางเพศที่เกิดขึ้นในที่ทำงานและที่เกิดขึ้นในที่ชุมชนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงความคุ้มครองทางกฎหมาย เนื่องจากไม่รู้ถึงสิทธิทางกฎหมาย โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงที่เป็นแรงงานข้ามชาติที่มีอุปสรรคด้านภาษา อีกท้งยังไม่กล้าแจ้งความเพราะกลัวว่าจะถูกกดำเนินคดีจากการเข้าเมืองหรือไม่มีใบอนุญาตทำงานที่ถูกต้อง บางคนอาจจะกลัวตกงานเนื่องจากผู้กระทำเป็ นนายจ้างหรือหัวหน้างาน ทำให้ต้องเก็บปัญหาไว้เพียงลำพัง ประกอบกับมายาคติที่ว่าความรุนแรงต่อผู้หญิงที่ยังเป็ นเพียงเรื่องส่วนตัว โดยเฉพาะเมื่อเกิดจากการกระทำของสามีหรือคนรัก

ในปีพ.ศ. 2558 คณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิผู้หญิงและสิทธิเด็ก ได้จัดทำ แผนปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรีASEAN Regional Plan of Action ซึ่งได้ให้ความสำคัญ กับความหลากหลายของผู้หญิงกลุ่มต่างๆที่ถูก เลือกปฏิบัติและไมได้รับความเสมอภาคทำให้ต้องอยู่ใ นสภาวะเปราะบางต่อการถูกกระทำความรุนแรง ซึ่งรวมถึงแรงงานหญิงย้ายถิ่นทั้งที่มีเอกสารและที่ไม่มีเอกสาร แผนปฏิบัติการฯ เน้นถึงความมุ่งมั่นของรัฐภาคีแห่งอาเซียนในการให้ความคุมครองแก่หญิงที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องดำ เนินการให้ความช่วยเหลือ ที่มีประสิทธิภาพ คำนึงถึง พื้นที่ทางภูมิศาสตร์และตอบสนองต่อความตอ้งการที่หลากหลายของผู้หญิงทั้งปวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงที่ประสบกับการถูกเลือปฏิบตัิซ้าซ้อน

โครงการส่งเสริมการเข้าถึงความช่วยเหลือคุ้มครองของแรงงานหญิงข้ามชาติที่ประสบความรุนแรง (SERVICES & ACCESS) (ประกอบด้วย มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์(MAP) และ Migrant Women Project , Mae Sot) สนับสนุนโดย โครงการปลอดภัยและยุติธรรม (SAFE & FAIR)1 ตระหนักถึงบทบาทของผู้นำชุมชนในการให้ความช่วยเหลือคุ้มครองแก่ผู้หญิงจากความรุนแรง เนื่องจากมีโอกาสพบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศในชุมชน

ทางโครงการฯ จึงร่วมกับศูนย์พึ่งได้ (OSCC) โรงพยาบาลแม่สอด และมูลนิธิสุวรรณนิมิตจัดให้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการช่วยเหลือคุ้มครองสตรีและเด็กที่ถูกกระทำรุนแรงและจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความเข้าใจให้กับผู้นำชุมชน กำนัน  สารวัตรกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้สามารถประสานส่งต่อให้ผูห้ ญิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานหญิงข้ามชาติที่ประสบความรุนแรงให้เข้าถึงความช่วยเหลือคุ้มครอง

โดยมีวัตถุประสงค์ หลักๆ
• เพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือในการช่วยเหลือคุ้มครองแก่ผู้หญิงและเด็กที่ถูกกระทา รุนแรงให้
สามารถเข้าถึงบริการทางสังคมและความคุ้มครองทางกฎหมาย
• เพื่อสร้างความเข้าใจในปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงซึ่งเป็ นความรุนแรงจากฐานคติเพศภาวะจาก
มุมมองสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาคระหว่างเพศ 
• เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเรียนรู้กระบวนการทำงานช่วยเหลือคุ้มครองผู้หญิงที่ถูกกระทำรุนแรงและมีข้อมูลใน
การประสานส่งต่อผู้หญิงที่ประสบความรุนแรงเพื่อรับบริการและได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสม