มหกรรม “วันเกษตรปราจีนบุรี ครั้งที่ 56”ยิ่งใหญ่สร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น

มหกรรม “วันเกษตรปราจีนบุรี ครั้งที่ 56”ยิ่งใหญ่สร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น





ad1

ปราจีนบุรี–ขนผลไม้จากสวนนำมาจัดงาน “วันเกษตรปราจีนบุรี ครั้งที่ 56”อย่างใหญ่  หลังเว้นวรรคมา 2 ปี   สร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น  บูมผลไม้ปราจีนฯหลากหลาย เน้น “ทุเรียนนาพันธุ์” กำลังออกผลผลิตอร่อยที่สุดในประเทศ!!  เนื้อทุเรียนของจังหวัดปราจีนบุรี   มีลักษณะแห้ง เนื้อละเอียด เหนียว และรสชาติดี

เมื่อเวลา 13.00 น.  วันนี้ 18 พ.ค.65  ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรี รายงานว่า   ที่ริมปรือบ้านสวน หรือ  สวนจ่าแมน  หมู่ที่ 5 ตำบลไม้เค็ด อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี   นายอนุชิต สังฆสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี , นายวินัย ลักษณะวิลาศ เกษตรจังหวัดปราจีนบุรี, นายสุนทร วิลาวัลย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี, นายแพทย์สุรินทร์ สืบซึ้ง สาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี ,  นางวันดี เผือกอุดม ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยโดยททท.  สำนักงานจังหวัดนครนายก ,  นายณรงค์พันธ์ เจนประกอบ ประชาสัมพันธ์จังหวัดปราจีนบุรีร่วมแถลงข่าวการจัดงาน    วันเกษตรปราจีนบุรี ครั้งที่ 56

นายอนุชิต สังฆสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่า    ชาวสวนผลไม้ปราจีนฯ  ขอเชิญเที่ยวงาน วันเกษตรปราจีนบุรี ๒๕๖๕  กำหนดงาน  ระหว่าง  วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕ - วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๕   ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๕ (ศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรีหลังเก่า)  ถนนปราจีนอนุสรณ์ อ.เมืองปราจีนบุรี  

กิจกรรมหลากหลาย  อาทิ   การออกร้านของชาวสวนผลไม้ปราจีนบุรี การจำหน่ายกิ่งพันทางการเกษตร  ชมการประกวดผลไม้ ผลผลิตทางการเกษตร ชิงเงินรางวัล ชมการประกวดธิดาช้าง ชิงถ้วยพร้อมเงินรางวัล ชมการประกวดธิดาเกษตร ชิงถ้วยพร้อมเงินรางวัล

การจัดงานวันเกษตรปราจีนบุรี เป็นงานประจำปี   ที่สำคัญงานหนึ่งของจังหวัดปราจีนบุรี เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของผลไม้ พันธุ์ไม้ ผลผลิต  และ  ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีคุณภาพของจังหวัดปราจีนบุรี   ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ตลอดทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้เกษตรกรผู้ผลิตได้จำหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางด้านการเกษตรให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงในราคาที่ยุติธรรม โดยได้ดำเนินการจัดต่อเนื่องกันมาทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2507 เป็นต้นมา

 แต่ได้มาหยุดจัดงานในปี พ.ศ.2563 และ พ.ศ.2564 เป็นเวลา 2 ปีติดต่อกัน เนื่องจากขณะนั้นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) กำลังระบาดต่อเนื่องเป็นวงกว้าง ไปทั่วประเทศ ซึ่งในฤดูกาลผลิต 2 ปีที่ผ่านมานั้น เกษตรกรชาวสวนได้รับผลกระทบในทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก

แต่เนื่องจากขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) มีแนวโน้มของความรุนแรงลดลง จังหวัดปราจีนบุรีจึงได้กำหนดการจัดงานขึ้น    ภายใต้การดำเนินงานตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) อย่างเคร่งครัด” นายอนุชิตกล่าว

นายวินัย ลักษณะวิลาศ เกษตรจังหวัดปราจีนบุรี  กล่าวว่า   พื้นที่ทำการเกษตร จ.ปราจีนบุรี มีจำนวน 773,775 ไร่      จากพื้นที่ของจังหวัดปราจีนบุรี ที่มีอยู่ทั้งหมดประมาณ 3 ล้านไร่

การผลิตสินค้าเกษตรด้านพืชที่สำคัญประกอบด้วย ข้าวนาปี 417,021 ไร่ ข้าวนาปรัง 122,452 ไร่ มันสําปะหลัง 111,484 ไร่ ยางพารา 38,854 ไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 21,809 ไร่ ปาล์มน้ำมัน 18,552 ไร่ ทุเรียน 7,845 ไร่ ไผ่ตง 7,424 ไร่ ลำไย 2,123 ไร่ กระท้อน 1,882 ไร่ มังคุด 1,463 ไร่ ลองกอง 393 ไร่ เงาะ 376 ไร่ ฯลฯ

สามารถทำให้เศรษฐกิจด้านการเกษตรของจังหวัดปราจีนบุรีขยายตัว และ    ส่งผลจังหวัดปราจีนบุรีมีชื่อเสียง  ทางด้านคุณภาพของผลไม้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทุเรียน” ดังปรากฏสำคัญเป็นส่วนหนึ่งของคำขวัญจังหวัดปราจีนบุรี ที่ว่า “ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมือง ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวารวดี”

พื้นที่ปลูกทุเรียน  นั้น   มีพื้นที่การปลูกประมาณเกือบ 1 หมื่นไร่  ดูแลกันอย่างมึคุณภาพสูงสุด   เหตุผลที่ทำให้ไม้ผลชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ทุเรียน   ของจังหวัดปราจีนบุรี  มีคุณภาพดีสามารถสรุปได้ ดังนี้

สภาพของดิน ในบริเวณที่มีการปลูกไม้ผลส่วนใหญ่เป็นดินชุดที่ 35 เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ หรือเกิดจากการสลายตัวผุพังของหินเนื้อหยาบ ปะปนด้วยดินลูกรังเก่าพบบริเวณพื้นที่ดินที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นจนถึงที่ลาดเชิงเขา มีความลาดชันประมาณ 3 - 20 % ทำให้มีการระบายน้ำดี ไม่มีน้ำท่วมขัง ระดับน้ำใต้ดินอยู่ลึก 1.50 เมตร ตลอดปี  มี pH ประมาณ 4.5 - 5.5 ซึ่งเหมาะสมกับการปลูกไม้ผล  

 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,709.7 มิลลิเมตร/ปี  โดยมีการกระจายตัวของฝนเฉลี่ย 129วัน/ปี ซึ่งเหมาะสมกับการปลูกไม้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทุเรียน” เนื่องจากมีปริมาณน้ำฝนไม่มากเกินไป การกระจายตัวของฝนเหมาะสม ไม่มีฝนตกมากในช่วงปลายเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม    ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่   ทุเรียนเริ่มแก่ จึงส่งผลให้   เนื้อทุเรียนของจังหวัดปราจีนบุรี   มีลักษณะแห้ง เนื้อละเอียด เหนียว และรสชาติดี”นายวินัยกล่าว

ด้านนายมนัส   ฮวดจึง ประธานชมรมชาวสวน จ.ปราจีนบุรี  กล่าวว่า   “ทุเรียน” ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงที่สุดของจังหวัดปราจีนบุรี   จะออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ถึง  กลางเดือนมิถุนายน 

โดย  “ทุเรียนปราจีนบุรี” ที่ขึ้นชื่อลือชาเรื่องรสชาติ  ความอร่อยสุดๆ โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ทุเรียนปราจีน จังหวัดปราจีนบุรี” เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2559

ทุเรียนปราจีนบุรี ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสินค้า GI มีจำนวน 7 สายพันธุ์ แบ่งเป็นทุเรียนพันธุ์การค้าคือ ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว พันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี พันธุ์กระดุมทอง และทุเรียนสายพันธุ์พื้นเมือง ประกอบด้วย ทุเรียนพันธุ์กบชายน้ำ พันธุ์ชมพูศรี และพันธุ์กำปั่น
แหล่งปลูกกระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอศรีมหาโพธิ และอำเภอนาดี ที่มีสภาพดินเหมาะสมสำหรับเพาะปลูกทุเรียน เพราะสภาพดินชั้นบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินชั้นล่างเป็นหินผุและศิลาแลง ทำให้การระบายน้ำสะดวก น้ำไม่ขังในเนื้อดิน การกระจายตัวของธาตุอาหารทั่วถึง ลักษณะภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝน ประกอบกับความชื้นสัมพัทธ์เหมาะสมพอดีกัน


เกษตรกรชาวสวนทุเรียนปราจีนบุรีแต่ละรายจะมีพื้นที่ปลูกทุเรียนไม่มาก ใช้แรงงานคนในครอบครัวเป็นหลัก จึงมีการดูแลรักษาที่ดี แถมปลูกดูแลในลักษณะเกษตรอินทรีย์ ไม่ค่อยใช้สารเคมี สวนทุเรียนส่วนใหญ่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรปลอดภัย (แปลง GAP) จากกรมวิชาการเกษตร เมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยว ชาวสวนจะตัดตามความสุกแก่ในแต่ละมีด 
ทำให้ได้ทุเรียนคุณภาพดี เนื้อทุเรียนมีสีเหลือง แห้ง หนา เส้นใยน้อย หวานมัน เปลือกผลบาง ผิวเปลือกสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม หนามถี่ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นสำคัญของทุเรียนปราจีนบุรีที่โดนใจแม่ค้าและผู้บริโภคอย่างแรง ทำให้ขายผลผลิตได้ราคาดี จนผลิตไม่พอขายอีกต่างหาก

ดังนั้น   การจัดงานวันเกษตรปราจีนบุรี ในปีนี้   จึงได้กำหนดการจัดงานในระหว่างวันที่ 25 พฤษภาคม ถึง 5 มิถุนายน 2565 รวม 12 วัน   ซึ่งรายละเอียดของกิจกรรมในงาน มีดังนี้ การประกวดหน่อไม้ใหญ่ ผลไม้ยักษ์ และผักยาว ได้แก่ หน่อไม้ใหญ่  ผลไม้ยักษ์ ได้แก่ ทุเรียน ส้มโอ กระท้อน ขนุน    ผักยาว ได้แก่ บวบหอมยาว บวบเหลี่ยมยาว ถั่วฝักยาว   การประกวดผลไม้คุณภาพ และ  หน่อไม้ไผ่ตงคุณภาพ 8 ประเภท  ประกอบด้วย  ทุเรียน (พันธุ์หมอนทอง และพันธุ์ชะนี)  เงาะ (พันธุ์โรงเรียน)  ส้มโอ (พันธุ์ทองดี และพันธุ์อื่นๆ)   ขนุน (พันธุ์เนื้อสีเหลือง และเนื้อสีอื่นๆ)  กระท้อน (น้ำหนักไม่น้อยกว่า 0.5 กิโลกรัม/ผล) มังคุลองกอง  และ หน่อไม้ไผ่ตง

ส่วน  การประกวดกิ่งพันธุ์ไม้ผล จำนวน 5 ชนิด ได้แก่  กิ่งพันธุ์ทุเรียน พันธุ์หมอนทอง   กิ่งพันธุ์กระท้อน พันธุ์อีล่า กิ่งพันธุ์ขนุน พันธุ์แดงสุริยา   กิ่งพันธุ์ส้มโอ พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง   กิ่งพันธุ์มะยงชิด กิจกรรมที่มีตลอดงาน ได้แก่    การจัดจำหน่ายผลไม้ พันธุ์ไม้ ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ของเกษตรกร Smart Farmer Young Smart Farmer วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และสินค้า OTOP ต่างๆ ที่มาจากพื้นที่ต่างๆ ทั่วทั้งจังหวัด และการจำหน่ายสินค้าทั่วไป  และ   การแสดงและการประกวดบนเวที ได้แก่ การแสดงดนตรี การประกวดธิดาเกษตรและธิดาช้าง”นายนมัสกล่าว

ด้านนายสุนทร   วิลาวัลย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี (อบจ.) กล่าวว่า  แหล่งทุเรียนันธุ์ดี อื่น ๆ อาทิ นนทบุรี  มีอสังหาริมทรัพย์ตึกรามบ้านช่อง ขึ้นแทนพื้นที่หมดการปลูก  ทุเรียนปราจีนฯที่ เนื้อทุเรียนของจังหวัดปราจีนบุรี   มีลักษณะแห้ง เนื้อละเอียด เหนียว และ รสชาติดี   จึงได้รับความนิยม มาเป็นอันดับ 1แทนในขณะนี้     อยากให้มาเที่ยวเลือกซื้อหากัน   พบกับชาวสวนผู้ผลิตกันโดยตรง  รับประทานทุเรียนแล้ว    ตามด้วยมังคุดปราจีนฯเนื้อหวานสนิท  แม้ผิวจะไม่สวนเท่าใดกตาม”  นายสุนทรกล่าว

มานิตย์   สนับบุญ/ปราจีนบุรี  รายงาน