แม่ค้าปัตตานีร้อง"จุรินทร์"เอาผิดแรงงานต่างด้าวเปิดร้านค้าแย่งคนไทย

แม่ค้าปัตตานีร้อง"จุรินทร์"เอาผิดแรงงานต่างด้าวเปิดร้านค้าแย่งคนไทย





ad1

ปัตตานี-แม่ค้าสะพานปลาชูป้ายร้อง"จุรินทร์" ขอความเป็นธรรม ลั่นเอาผิดแรงงานต่างด้าว ถือครองกรรมสิทธิ์เปิดร้านค้าแย่งกับคนไทย


 
เมื่อวันที่ 16 ต.ค.25 64) ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อเวลา10.00น.ที่สมาคมประมงจังหวัดปัตตานี ภายในองค์การสะพานปลา อ.เมือง จ.ปัตตานี  นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  พร้อมคณะ เดินทางลงพื้นที่เพื่อร่วมประชุมหารือร่วมกับสมาคมประมงจังหวัดปัตตานี เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมงในพื้นที่  ซึ่งก่อนที่นายจุรินทร์ จะมาถึงที่ประชุม ได้มีปบรรดาพ่อค้าแม่ค้าแผงขายปลาในองค์การสะพานปลา ประมาณ 50 คน ได้ร่วมตัวกันพร้อมถือป้ายเรียกร้องให้ทาง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เข้าช่วยเหลือหลังจากที่ผ่านมา  

ทางแม่ค้าพ่อค้า ได้รับผลกรทบจากหลักเกณฑ์การจัดทำสัญญา เช้าตลาดจำหน่ายสิ้นค้าสัตว์น้ำทุกชนิด เนื่องจากมีค่าเรียกเก็บค่ะรรมเนียมตลาดใหม่ล็อคละ 30,000 บาท ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าทุกคนไม่เห็นด้วย เพราะว่าล๊อคใหม่ทำให้พ่อค้าแม่ค้าในตลอดไม่สามารถใช้งานได้จริง เนื่องจากมีขนาดเล็กและไม่เหมาะสมต่อการทำการค้าขายสัตว์น้ำทุกชนิด นอกจานี้ยังขอให้มีการตรวจสอบแรงงานต่างด้าวที่ประกอบอาชีพสงวนที่ห้ามโดยเด็ดขาด  เนื่องจากภายในท่าเทียบเรือประมงปัตตานี พบแรงงานต่างด้าวจำหน่ายสิ้นค้าสัตว์น้ำ ในช่วงเวลา 04.00 น.-09.00 น. ซึ่งเป็นอาชีพสงวนที่ห้ามแรงงานต่างด้าวทำโดยเด็ดขาด โดยหน่วยงานท่าเทียบเรือมีการตรวจสอบและพบว่ามีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นจริง แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาจัดการแก้ไขปัญหา ดังกล่าว ซึ่งทางด้านของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เดินทางไปพบปะกลุ่มแม่ค้าพ่อค้าดังกล่าว พร้อมรับเรื่องความเดือดร้อนของชาวบ้านเข้าในที่ประชุมทันที่

โดยในที่ประชุมในวันนี้ มีหลายหน่อยงานเข้าร่วมประชุม ร่วมรับฟัง และร่วมกันแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของชาวประมงในพื้นที่ โดยมีวาระการประชุมหลัก ๆ ใน 5 เรื่อง ก็คือ 1 ในเรื่องของการจ่ายเงินชดเชย ซื้อเรือประมงพาณิช ที่ได้มีการดำเนินการค้างคามาหลายปี ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการ IUU บังคับใช้ในประเทศ  โดยมีเรือในจังหวัดปัตตานี ที่จะต้องเข้าไปดูแลในการจ่ายเงินเยียวยา ทั้งสิ้นจำนวน 423 ลำ ซึ่งในจำนวนนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แบ่งออกเป็น โดยเรือจำนวน 101 ลำ ที่ได้ตกลงกับภาคเอกชน ว่าจะเร่งรัดให้มีการจ่ายเงินชดเชยให้ก่อน โดยมีวงเงินที่จะขอดำเนินการ จำนวน 245 ล้านบาท โดยจะนำเข้าในที่ประชุมอีกครั้งในวันที่ 28 ต.ค.นี้ 

โดยทางศอบต.เป็นผู้จัดวาระการประชุม ประเด็นที่ 2 คือ เรื่องของการแก้ไขพระราชกำหนด การประมง ปี 58 ซึ่งขณะนี้ผู้ประกอบการประมงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ และทั่วประเทศ ต้องการให้เร่งรัดแก้ไข กฎหมายฉบับนี้โดยเร็ว เพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้  ซึ่งในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการยื่นแก้ไขพระราชบัญญัติ ฉบับนี้ เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฏรแล้ว เพียงแต่ต้องทำตามขั้นตอนของทางรัฐธรรมนูญ ในการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ประเด็นที่ 3 มีความเห็นต้องการให้ผู้ประกอบอาชีพประมงพาณิช หลังจากขายเรือ หรือจำเป็นจะต้องเลิกอาชีพ ให้สามารถมีทางเลือกในการประกอบอาชีพอื่น ซึ่งมีอยู่ 12 ราย ที่ต้องการไปทำอาชีพเกษตรกรรม แต่จำเป็นต้องมีที่ดินทำกิน จึงได้ขอที่ดินทำกินไปยังนิคมสร้างตนเอง จ.ยะลา 

ซึ่งเรื่องนี้ได้มอบหมายให้ทาง ศอ.บต. ได้ประสานไปยังสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ต่อไป ประเด็นที่ 4 เรื่องที่ผู้ค้าสัตว์น้ำ ที่แผงขายในองค์การสะพานปลา ร้องเรียนว่ามีการปรับเปลี่ยน สิทธิการให้เช้า และปรับเปลี่ยนขนาดของแผงค้า ให้เล็กลง ซึ่งเรื่องนี้ทางที่ประชุมได้ขอให้ องค์การสะพานปลา ได้ลงมาแก้ไขเรื่องนี้ร่วมกับทางจังหวัด และผู้ค้าด้วยตนเอง คาดว่าใช้เวลาไม่นานจะรู้ผล โดยยึดหลักให้ความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย  และประเด็นที่ 5 คือมีการ้องเรียนว่า ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าว

ซึ่งมีสิทธิ์แค่มาทำงาน แต่กลับมาทำธุรกิจ และเป็นเจ้าของธุรกิจ เสียเอง เท่ากับเป็นการแย้งอาชีพคนไทย และผู้ประกอบการในท้องถิ่น ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าผิดพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของแคนต่างด้าว จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับตั่งแต่ 1 แสน – 1 ล้านบาท และถ้ายังไม่เลิกการกระทำก็มีโทษปรับรายวัน วันละ 1หมื่น -5 หมื่นบาท และได้กำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หารือและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด 

ในขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี สถานการณ์ล่าสุด ยังพบตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ยังน่าเป็นห่วง เนื่องจากพบตัวเลขเกิน 600 อีกครั้ง โดยล่าสุด พบผู้ติเชื้อรายใหม่สูงขึ้นอีก 647 ราย ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 29,428 ราย และพบผู้เสียชีวิตรายใหม่อีก 1 ราย ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 342 ราย