รัฐเดินหน้านับหนึ่ง การก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ”-เร่งเวนคืน-แล้วเสร็จปี 2571

เดินหน้ารถไฟ“เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ”-เร่งเวนคืน-แล้วเสร็จปี 2571

รัฐเดินหน้านับหนึ่ง การก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ”-เร่งเวนคืน-แล้วเสร็จปี 2571





ad1

โฆษกฯ เผยรัฐบาลเดินหน้านับหนึ่งแล้วกับการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ” นายกฯ กำชับเร่งดำเนินการตามแผน เร่งเวนคืนที่ดินและส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง รฟท.พร้อมเปิดให้บริการปี 2571

วันนี้ (15 ..65) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินโครงการรถไฟทางคู่สายเหนือ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ” ระยะทาง 323 กิโลเมตร มูลค่าก่อสร้าง 72,921 ล้านบาท เพื่อเชื่อมต่อการเดินทาง และการขนส่งจากประเทศไทยไปสู่ สปป.ลาว และประเทศจีนได้นั้น พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมติดตามความคืบหน้าโครงการนี้อย่างใกล้ชิด โดยกำชับให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามแผน ทั้งนี้ การรถไฟฯ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และอยู่ในขั้นตอนการเวนคืนที่ดินซึ่งผู้รับจ้างได้เริ่มปฏิบัติงานตามหนังสือแจ้งให้เริ่มปฏิบัติงานแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา โดยภาพรวมโครงการมีความก้าวหน้า 0.051% ล่าช้ากว่าแผนงาน 0.102% (ข้อมูลเดือนกันยายน 2565) ทั้งนี้มีระยะเวลาดำเนินโครงการฯ 71 เดือน หรือประมาณ 6 ปี ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงคมนาคม ได้เร่งรัดงานอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะแล้วเสร็จ และสามารถเปิดให้บริการประชาชนได้ในปี 2571

 สำหรับโครงการรถไฟทางคู่สายเหนือ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ แบ่งสัญญาจ้างออกเป็น 3 สัญญา ประกอบด้วยสัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว งานโยธา งานระบบราง และระบบอาณัติสัญญาณ ระยะทาง 104 กิโลเมตร มูลค่าก่อสร้าง26,560 ล้านบาท ผลการดำเนินงานมีความก้าวหน้า 0.14%, สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย งานโยธา งานระบบรางและงานระบบอาณัติสัญญาณ ระยะทาง 135 กิโลเมตร มูลค่าก่อสร้าง 26,890 ล้านบาท ผลการดำเนินงานมีความก้าวหน้า 0.37% และสัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ งานโยธา งานวางระบบราง และงานอาณัติสัญญาณ ระยะทาง84 กิโลเมตร มูลค่าก่อสร้าง 19,385 ล้านบาท ผลการดำเนินงานมีความก้าวหน้า 0.50% ทั้ง 3 สัญญาสิ้นสุดการปฏิบัติงานเดือนมกราคม 2571

 ทั้งนี้ ภาพรวมผลงานการก่อสร้างล่าสุด ในส่วนของงานตามข้อกำหนดทั่วไป (General Requirements) ผู้รับจ้างได้จัดหา และบำรุงรักษาสำนักงานสนามสำหรับวิศวกร และผู้ควบคุมงาน รวมทั้งจัดหาครุภัณฑ์และอุปกรณ์สำหรับสำนักงานสนาม ตลอดจนจัดหาเจ้าหน้าที่สำนักงาน จัดประชาสัมพันธ์โครงการ และรับฟังความคิดเห็นก่อนดำเนินโครงการแล้ว ส่วนงานดิน (Earthwork) ผู้รับจ้างได้ดำเนินการปรับพื้นที่โดยถากถาง และขุดตอขุดราก (Clearing and Grubbing) และก่อสร้างคันทางดินถมด้วยวัสดุดินจากแหล่งภายนอก ขณะที่งานอุโมงค์ (Tunnelling Works) ผู้รับจ้างได้ดำเนินการสำรวจทางธรณีเทคนิคก่อนการก่อสร้าง เพื่อจัดทำรายงานและนำมาคำนวณปริมาณงานตามการออกแบบ สำหรับงานขุดทั่วไป ผู้รับจ้างได้ดำเนินการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ เพื่อนำมาคำนวณปริมาณงานตามภาพตัดทางธรณีวิทยา ส่วนผลงานการเวนคืนที่ดิน ปัจจุบันดำเนินการสำรวจอสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืน และประชุมคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ค่าตอบแทนเสร็จสิ้นแล้ว อยู่ระหว่างทยอยทำสัญญาจ่ายค่าเวนคืน และส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง โดยเฉพาะช่วงที่เป็นสายงานวิกฤติของงานก่อสร้าง 

 โครงการรถไฟทางคู่สายเหนือ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ มีจุดเริ่มต้นจากสถานีเด่นชัย จังหวัดแพร่ มุ่งหน้าขึ้นเหนือผ่านจังหวัดลำปาง พะเยา และสิ้นสุดบริเวณด่านพรมแดนเชียงของ จังหวัดเชียงราย ถือเป็นเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ ที่ใช้เวลาดำเนินการยาวนานมากนับตั้งแต่เริ่มศึกษาโครงการเมื่อปี 2503 ผ่านรัฐบาลหลายยุค จนกระทั่งปี 2561 ครมมีมติอนุมัติโครงการ ถือเป็นการปลดล็อค 60 ปี ที่รอคอย

 โครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เป็นการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายใหม่ ที่จะเปิดพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ ที่เปี่ยมด้วยศักยภาพ ทั้งด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจและการค้า โดยผ่านพื้นที่ 59 ตำบล 17 อำเภอ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ ลำปาง พะเยา และเชียงราย มีสถานีทั้งสิ้น 26 สถานี ประกอบด้วย สถานีขนาดใหญ่ 4 สถานี สถานีขนาดเล็ก 9 สถานี และป้ายหยุดรถ 13 แห่ง มีการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวก ตามหลัก Universal Design และยังมีการออกแบบรั้วกั้นเขตแนวสายทาง มีสะพานรถไฟ สะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ 40 แห่ง ทางรถยนต์ลอดรถไฟ 102 แห่ง มีทางเชื่อมรวมและกระจายจราจร ตลอดจนสะพานลอย ทางเท้า และทางรถจักรยานยนต์ข้ามและลอดทางรถไฟ แก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟ 254 จุด ตลอดแนวเส้นทาง เพื่อให้สามารถเพิ่มระดับความเร็วในการเดินทางขนส่งได้อย่างปลอดภัย

 นอกจากนี้ ยังมีลานขนถ่ายสินค้า 4 แห่ง และย่านกองเก็บและบรรทุกตู้สินค้า 1 แห่ง ที่สถานีเชียงของ บนพื้นที่ 150 ไร่พร้อมแนวถนนเชื่อมต่อด่านชายแดนเชียงของ ทั้งนี้เส้นทางโครงการฯ อยู่ในพื้นที่ .แพร่ ระยะทาง 77.20 กิโลเมตร มีสถานี คือ เด่นชัยสูงเม่นแพร่แม่คำมี ,หนองเสี้ยว และสอง อยู่ในพื้นที่ .ลำปาง ระยะทาง 52.40 กิโลเมตร มี 3 สถานี คือ แม่ตีบ ,งาว และปงเตา อยู่ในพื้นที่ .พะเยา ระยะทาง 54.10 กิโลเมตร มี 6 สถานี คือ มหาวิทยาลัยพะเยาบ้านโทกหวาก ,พะเยา , ดงเจนบ้านร้อง และบ้านใหม่ และอยู่ในพื้นที่ เชียงราย ระยะทาง 139.40 กิโลเมตร มี 11 สถานี คือ ป่าแดดป่าแงะบ้านโป่งเกลือ ,สันป่าเหียงเชียงรายทุ่งก่อเวียงเชียงรุ้งชุมทางบ้านป่าซางบ้านเกี๋ยงศรีดอนชัย และเชียงของ

 เมื่อการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเหนือ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของแล้วเสร็จ จะเป็นการสร้างสถิติใหม่ และไฮไลท์สำคัญ เพราะจะเป็นอุโมงค์รถไฟที่มีความยาวที่สุดในประเทศไทย ซึ่งโครงการนี้มีเส้นทางผ่านภูเขาสูง และเขตอุทยาน จึงต้องออกแบบก่อสร้างเป็นคันทางระดับดิน และทางรถไฟยกระดับ รวมถึงมีการเจาะภูเขาก่อสร้างอุโมงค์ 4 แห่งซึ่งมีความสูงเหนือระดับพื้นดิน เท่ากับตึกประมาณ 20 ชั้น โดยระยะทางในอุโมงค์ทั้งขาขึ้น และขาล่องรวม 27.03 กิโลเมตร ที่ .แพร่ อยู่อำเภอสอง 2 อุโมงค์ โดยอุโมงค์ที่ 1 มีความยาว 1.175 กิโลเมตร อุโมงค์ที่ 2 ความยาว 6.240 กิโลเมตร ส่วนอุโมงค์ที่ 3 อยู่ .เมือง .พะเยา ความยาว 2.700 กิโลเมตร และอุโมงค์ที่ 4 อยู่ .ดอยหลวง .เชียงรายความยาว 3.400 กิโลเมตร 

 นอกจากนี้ตลอดสองข้างทางของเส้นทางสายใหม่ ยังมีความสวยงามของธรรมชาติ ผู้โดยสารจะได้เพลิดเพลินไปกับวิวผืนป่าที่เขียวชอุ่ม สดชื่นสบายตาแบบพาโนรามา โดยรถไฟจะแล่นผ่านเทือกเขา สะพาน สลับกับลอดอุโมงค์ จึงขึ้นแท่นเป็นเส้นทางรถไฟที่มีทัศนียภาพสวยงามตลอดทาง และจะสร้างความประทับใจ ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติ ส่งเสริมการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวเดิม และแหล่งท่องเที่ยวใหม่ รถไฟสายนี้จึงมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจสูงมาก นอกจากช่วยสนับสนุนการขนส่งสินค้าไปยังจีนตอนใต้แล้ว ยังเป็นเส้นทางขนส่งผู้โดยสาร และมองว่าจะมีนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติ เดินทางเข้ามายัง .แพร่มากขึ้น เพื่อเดินทางต่อไปยัง .เชียงราย และ .เชียงของ ข้ามพรมแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

 รถไฟสาย เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ จะช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางได้เร็วกว่า 1 ชม.-1.30 ชมเมื่อเทียบกับการเดินทางด้วยรถยนต์ จึงเป็นเส้นทางรถไฟแห่งอนาคต ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่ม ทั้งด้านการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจการค้าสร้างรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่ที่เส้นทางตัดผ่าน ตลอดจนช่วยลดต้นทุนด้านการขนส่งอย่างยั่งยืน และเป็นการเปิดประตูสู่การค้าชายแดนภาคเหนือ เพิ่มช่องทางส่งออกสินค้าจากไทย และสร้างโอกาสที่ดีต่อการค้า การลงทุนของประเทศด้วย