ส.สตรีนักธุรกิจผนึกพันธมิตรเดินหน้าโครงการ“ทิ้งถูก ผูกโบแดง โควิดไม่กระจาย”

ส.สตรีนักธุรกิจผนึกพันธมิตรเดินหน้าโครงการ“ทิ้งถูก ผูกโบแดง โควิดไม่กระจาย”





ad1

สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่าย แถลงข่าวประกาศความร่วมมือโครงการ“ทิ้งถูก ผูกโบแดง โควิดไม่กระจาย”

ด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่าหรือ โควิด-19 พฤติกรรมการใช้เครื่องป้องกัน ถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน อาทิเช่น หน้ากากอนามัย ถุงมือและชุดตรวจแอนติเจนเทสต์ คิท ทำให้เกิดขยะติดเชื้อในปริมาณสูงควบคู่ไปด้วย สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยกรุงเทพฯ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ (สธวท กรุงเทพฯ) พร้อมด้วยองค์กรเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจและภาคสาธารณกุศล จึงได้จัดแถลงข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการจัดการขยะติดเชื้อ ทิ้งถูก ผูกโบแดง โควิดไม่กระจาย เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนักรู้ถึงอันตรายจากการแพร่กระจายของเชื้อโรค แนะนำวิธีการแยกขยะติดเชื้ออย่างถูกวิธี ด้วยการแยกขยะติดเชื้อใส่ถุงผูกโบแดงให้เป็นสัญลักษณ์

นอกเหนือจากการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ คณะทำงานกำลังดำเนินการเปิดอบรม ให้กับ 100 ผู้นำชุมชนรวมมากกว่า 30,000 หลังคาเรือน เพื่อสร้างเป็นพื้นที่ชุมชนต้นแบบของโครงการ ใน 50 เขตกรุงเทพฯกลางเดือนพฤศจิกายนนี้และจะใช้ สื่อการอบรมอิเล็กทรอนิกส์ ส่งไม้ต่อขยายผล ในวงกว้างต่อไป

ศ.สพญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ ประธานโครงการ ประธานมูลนิธิเอิร์ธ อะเจนด้า และอุปนายก สธวท กรุงเทพฯ กล่าวว่า ขยะติดเชื้อเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทย จึงเป็นปัญหาใหม่ด้วย เนื่องจากการทิ้งไม่ถูกเพื่อมุ่งเน้นการรณรงค์ให้เกิดการรับรู้ถึงผลกระทบ จากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส โควิด-19 และแนะนำวิธีการจัดการขยะติดเชื้อให้ถูกวิธี เกิดจากการรวมพลัง ระดมความคิด หาวิธีง่ายๆให้ปฏิบัติได้จริงด้วยความร่วมมือของ สำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร กรมอนามัย กรมควบคุมมลพิษและศูนย์เชี่ยวชาญ เฉพาะทางด้านโรคสัตว์น้ำ จุฬาฯ ทำงานร่วมกันในเชิงข้อมูลทางวิชาการ และ มีสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทยและสมาคมธุรกิจอาคารชุดไทย ร่วมงานในด้านชุมชนสัมพันธ์ ด้วยคาดหวังว่าจะช่วยให้ระบบการบริหารจัดการ ขยะติดเชื้อมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ทั้งนี้การจัดทำสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ เกี่ยวกับผลกระทบและอันตรายจากขยะติดเชื้อและเผยแพร่ขั้นตอนการจัดการขยะติดเชื้ออย่างถูกวิธีรวมถึงจะทำสื่ออิเล็กทรอนิกส์หลักสูตรการอบรมการจัดการพื้นที่ส่วนกลางให้กับผู้นำชุมชน ข้าพเจ้าเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดการขยะติดเชื้อให้ถูกวิธีจะเป็นมาตรการที่ลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 ได้ จึงขอเชิญชวนประชาชนหน่วยงานองค์กรทุกภาคส่วน ร่วมเป็นองค์กรสนับสนุนร่วมเป็นหนึ่ง ในโครงการทิ้งถูก ผูกโบแดง โควิดไม่กระจายเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะที่ดีเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป และขอให้ระลึกเสมอว่าถ้าทิ้งขยะไม่ถูกโควิดก็ไม่จบ

ดร.ณ ฤดี เคียงศิริ นายกสธวท กรุงเทพฯ และประธานร่วมโครงการ กล่าวว่า “ด้วยมีความตระหนักถึงผลกระทบและอันตรายจากขยะติดเชื้อที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิตในสังคม โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เชื้อไวรัสโควิด-19 กำลังแพร่ระบาดในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็น เมืองขนาดใหญ่ สธวท กรุงเทพ เป็นองค์กรที่ริเริ่มจัดทำโครงการต้นแบบนำร่องการจัดการขยะติดเชื้อ “ทิ้งถูก ผูกโบแดง โควิดไม่กระจาย” ร่วมกับสมาคมสมาชิกของสหพันธ์ฯ อีก 21 จังหวัด จึงเร่งผลักดันและ รณรงค์ให้ประชาชนร่วมกัน ทิ้งขยะให้ถูก โดยแยกทิ้งขยะติดเชื้อแล้วจัดการผูกโบแดง เป็นสัญลักษณ์ว่า เป็นขยะติดเชื้อเพื่อสื่อสารให้ผู้จัดการเก็บและทำลายขยะได้รู้ ได้เข้าใจ และนำไปดำเนินการจัดเก็บขยะและกำจัดขยะได้อย่างถูกวิธี”


นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผู้อ านวยการสำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ปัญหาปริมาณขยะติดเชื้อ มีสาเหตุหลักเพราะประชาชน ไม่คัดแยกขยะ การทิ้งปะปนกันจะทำให้ขยะทั้งกองกลายเป็นขยะติดเชื้อ โครงการทิ้งถูก ผูกโบแดง โควิดไม่กระจาย ภายใต้โมเดล เชิงสัญลักษณ์ โบสีแดงผูกถุงขยะ จะช่วยลดปริมาณขยะติดเชื้อ ทำให้ระบบการจัดการเก็บและเผาขยะ มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ขยะติดเชื้อคือแหล่งแพร่เชื้อโรค โครงการความร่วมมือ การจัดการขยะติดเชื้อนี้ จะเป็นหนึ่งวิธีการ ลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ซึ่งเป็นปัญหา กระทบต่อการดำรงชีวิตและ สุขภาพของคนทั้งประเทศ ประชาชนควรมีความรู้เรื่องผลกระทบและวิธีการกำจัดขยะติดเชื้ออย่างถูกวิธี เพื่อสุขอนามัยของตนเอง

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า คำว่าขยะ จะมาพร้อมกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ยิ่งขยะติดเชื้อ ยิ่งต้องตระหนัก ถึงอันตรายที่มีต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มทวีคูณ

ดร.ฐนิดา เหตระกูล รองหัวหน้าฝ่ายวิชาการ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคสัตว์น้ำ จุฬาฯกล่าวว่า ปัญหาขยะติดเชื้อที่ทิ้งไม่ถูก นอกจากโควิด ที่แพร่กระจาย ในมนุษย์ไม่จบ ยังเป็นปัญหา กับ สัตว์น้ำ และสภาพแวดล้อมทางน้ำอีกด้วย ที่ผ่านมาเกิดหลายกรณีสัตว์น้ำตายเพราะสายคล้องหู หน้ากากอนามัย ไปพันรัดทำร้ายสัตว์จนเสียชีวิต