‘บิ๊กตู่’ ย้ำปี 65 ปีแห่งการแก้หนี้! สั่งเร่งรัดให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

บิ๊กตู่’ ย้ำปี 65 ปีแห่งการแก้หนี้!

‘บิ๊กตู่’ ย้ำปี 65 ปีแห่งการแก้หนี้! สั่งเร่งรัดให้เกิดผลเป็นรูปธรรม





ad1

 - ตามนโยบาย ‘พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา’ นายกรัฐมนตรี กำหนดให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน โดยตั้งเป้าดำเนินการครอบคลุม การแก้ปัญหาทั้ง 8 ด้านนั้น
.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นโยบายแก้หนี้นับเป็นอีกหนึ่งงานใหญ่ ที่ท้าทายอย่างมาก ท่ามกลางมูลค่า “หนี้ครัวเรือน” ในไทยที่สูงมาก มูลค่าสูงถึง 14.35 ล้านล้านบาท ในขณะที่ “หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้” หรือหนี้เสีย NPLs มีมูลค่า 1.5 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีก ประกอบกับปัญหา “ภาระค่าครองชีพ” ที่ปรับสูงขึ้นตามราคาสินค้า ซึ่งจะกระทบหนักต่อกลุ่มลูกจ้างค่าแรงขั้นต่ำ!
.
▪️ นายกฯ เร่งสั่งการปี 2565 ปีแห่งการ “แก้หนี้ครัวเรือน”
.
ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (1 มี.ค. 2565) พล.อ.ประยุทธ์ ได้สั่งเน้นย้ำการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน โดยรายงานให้ ครม. ทราบถึงการไปเป็นประธานมหกรรมไก่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือนครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายหลักของรัฐบาลที่กำหนดให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน โดยครอบคลุมแก้ปัญหาหนี้ 8 ด้าน อาทิ หนี้ กยศ. หนี้เช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์ หนี้สินข้าราชการ และหนี้บัตรเครดิต เป็นต้น
.
นายกรัฐมนตรี ย้ำถึงการปรับปรุงขั้นตอนกระบวนการยุติธรรม ให้สอดคล้องกับสภาวะหนี้ในปัจจุบัน โดยเน้นย้ำว่าการแก้ปัญหาหนี้สินครัวเรือนเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วย  อาทิ ศูนย์ไก่เกลียข้อพิพาท กรมบังคับคดี กรมควบคุมสิทธิ์และเสรีภาพ กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาหรือ กยศ. ติดตามความคืบหน้าและเร่งดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยให้รายงานความก้าวหน้าในการแก้ปัญหาทุกไตรมาส
.
▪️ คาดการณ์ “หนี้สินครัวเรือน” มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก!
.
ในขณะที่ล่าสุดข้อมูลจากรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 4 และภาพรวมปี 2564 โดย “สภาพัฒน์” คาดการณ์ว่าในระยะถัดไปคาดว่า “หนี้สินครัวเรือน” จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สาเหตุมาจาก 2 ปัจจัยสำคัญ คือ

1 - ครัวเรือนรายได้สูงหรือที่ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต ยังมีแนวโน้มก่อหนี้เพิ่ม โดยเฉพาะในสินเชื่อเพื่อยานยนต์ และสินเชื่อที่อยู่อาศัย

2 - กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด19 มีความต้องการสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล เพื่อนำมาชดเชยสภาพคล่องจากรายได้ที่ยังไม่ฟื้นตัว
.
สภาพัฒน์ ชี้ด้วยว่าสถานการณ์หนี้สินครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงในปัจจุบัน อาจเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป เพื่อบรรเทาผลกระทบต้องให้ความสำคัญอย่างน้อย 3 ด้าน คือ 1. เร่งดำเนินมาตรการการแก้ไขปัญหาหนี้ 2. ส่งเสริมให้ครัวเรือนเข้าถึงสินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง และ 3. ส่งเสริมให้ครัวเรือนได้รับการจ้างงานที่มีรายได้เพิ่มขึ้น