น่าสะพรึง!ญี่ปุ่นเผชิญ ซุปเปอร์ไต้ฝุ่น " หินหนามหน่อ" ซึ่งเป็นเป็นพายุกำลังแรงที่สุดของโลกในปีนี้

น่าสะพรึง!ญี่ปุ่นเผชิญ ซุปเปอร์ไต้ฝุ่น " หินหนามหน่อ"

น่าสะพรึง!ญี่ปุ่นเผชิญ ซุปเปอร์ไต้ฝุ่น " หินหนามหน่อ" ซึ่งเป็นเป็นพายุกำลังแรงที่สุดของโลกในปีนี้





ad1

31 ส.ค. 2565  ศูนย์เตือนภัยร่วมพายุไต้ฝุ่นของสหรัฐฯ แจ้งว่าซุปเปอร์ไต้ฝุ่นหินหนามหน่อ ได้ทวีกำลังขณะเคลื่อนตัวสู่ทะเลตะวันออก จนมีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุสูงถึง 257 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และอิทธิพลของพายุกำลังแรงลูกนี้ จะทำให้เกิดคลื่นในทะเลมีความสูงได้สูงสุดถึง 15 เมตร

ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นหินหนามหน่อ มีแนวโน้มเคลื่อนตัวมุ่งหน้าผ่านเกาะหลายเกาะทางตอนใต้ของญี่ปุ่น ก่อนจะมุ่งหน้าไปยังชายฝั่งตะวันออกของจีน ซึ่งอิทธิพลของซุปเปอร์ไต้ฝุ่นหินหนามหน่อ จะทำให้เกิดฝนตกหนักมาก  รวมถึงหมู่เกาะริวกิว ซึ่งเป็นหมู่เกาะยาวรูปโซ่ในแปซิฟิกตะวันตก อยู่สุดขอบทางตะวันออกของทะเลจีนตะวันออก มีโอกาสจะเกิดฝนตกหนัก จนวัดปริมาณน้ำฝนสะสมได้สูงถึง 200-300 มม. ซึ่งสามารถทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน

พายุซุปเปอร์ไต้ฝุ่น หีนหนามหน่อ ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก ทางทิศใต้ของประเทศญี่ปุ่น เป็นพายุลูกที่ 11 ของปีนี้ เคลื่อนที่ไปทางตะวันตก ในแนวใกล้เกาะโอกินาวาของประเทศญี่ปุ่น ดังนี้ 

วันที่ 30 สิงหาคม เคลื่อนตัวในทะเลทวีกำลังแรงจากพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 เป็นระดับ 4

วันที่ 31 สิงหาคม ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นซุปเปอร์ไต้ฝุ่นระดับสูงสุด คือระดับ 5 

วันที่ 1 กันยายนอ่อนตัวลงเล็กน้อยเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (ในวันที่ 1, 2 และ 3 ก.ย. นั้น เคลื่อนตัวอย่างช้าๆ อยู่ในบริเวณทางทิศใต้ของเกาะโอกินาวา)

วันที่ 2 กันยายน เปลี่ยนการเคลื่อนตัวไป ไปเป็นทิศเหนือค่อยไปทางตะวันตกเล็กน้อย ทำให้ฝนตกหนักมากที่เกาะโอกินาวา ของญี่ปุ่น

วันที่ 3 กันยายน ลดความรุนแรงลงเป็นไต้ฝุ่นระดับ 3  ทำให้ฝนตกหนักมากที่เกาะโอกินาว่าของญี่ปุ่น

วันที่ 4 ก.ย. เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ

วันที่ 6 ก.ย. เคลื่อนที่ผ่านตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดฝนตกหนักมาก

วันที่ 7 ก.ย. เคลื่อนที่เข้าสู่พื้นที่ชายฝั่งทางตะวันออกของประเทศรัสเซีย ทำให้เกิดฝนตกหนัก และสลายตัวไป ประมาณวันที่ 9 กันยายน

ตามรายงานของสำนักอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติญี่ปุ่นซึ่งเฝ้าติดตามพายุซุปเปอร์ไต้ฝุ่นหินหนามหน่ออย่างใกล้ชิด ประกาศว่า พายุหินหนามหน่อ จัดเป็นพายุกำลังแรงที่สุดของโลกในปีนี้ เมื่อวัดจากความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางของพายุ