‘หนี้ครัวเรือนไทย’ สูงอันดับต้นของโลก! เตือน “ดอกเบี้ยขาขึ้น” จุดชนวนระเบิดเศรษฐกิจ

‘หนี้ครัวเรือนไทย’ สูงอันดับต้นของโลก! เตือน “ดอกเบี้ยขาขึ้น”

‘หนี้ครัวเรือนไทย’ สูงอันดับต้นของโลก! เตือน “ดอกเบี้ยขาขึ้น” จุดชนวนระเบิดเศรษฐกิจ





ad1

 ปัญหา “หนี้ครัวเรือน” ในประเทศไทย มีโอกาสส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรุนแรง และหนักกว่าประเทศอื่น ตามรายงานของ Credit Suisse ระบุว่า ไทยเป็นหนึ่งในประเทศ ที่มีความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งสูงที่สุดในโลก!
.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดรายงานวิเคราะห์ KKP Research กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ออกมาเตือนว่า “ดอกเบี้ยขาขึ้น” อาจจุดชนวนระเบิดหนี้ครัวเรือนไทย เนื่องจากปัจจุบัน “หนี้ภาคครัวเรือน” เพิ่มสูงขึ้นเกิน 90% ของ GDP และสูงเป็นลำดับที่ 11 ของโลก เนื่องจากภาคครัวเรือนไทยมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย 
.
▪️ เตือนเศรษฐกิจไทยกำลังจะเข้าสู่ “วัฏจักรเศรษฐกิจขาลง” ที่ยาวนาน!
.
รายงานชี้ว่า “ไทยเป็นประเทศรายได้ต่อหัวยังไม่สูง แต่ครัวเรือนกลับมีหนี้สูงมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก” โดยครัวเรือนรายได้น้อยที่สุด 20% แรก มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ยเพียงประมาณ 10,000 บาท ในขณะที่ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำต่อเดือนอยู่ที่ 12,000 บาท ครัวเรือนเหล่านี้จึงจำเป็นต้องกู้ยืมเงินเพื่อบริโภค ทำให้สัดส่วนหนี้เพื่อการบริโภคระยะสั้น เมื่อเทียบกับหนี้ครัวเรือนทั้งหมด มากกว่าประเทศพัฒนาแล้ว 
.
KKP Research ประเมินว่าในสถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น เศรษฐกิจไทยกำลังจะเข้าสู่ “วัฏจักรเศรษฐกิจขาลง” ที่ยาวนาน โดยผลกระทบจะเกิดจาก

1 - ภาระหนี้ที่จะปรับสูงขึ้นตามทิศทางอัตราดอกเบี้ย

2 - หนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น จะทำให้การบริโภคเติบโตช้าลง

3 - การกระตุ้นการบริโภคด้วยหนี้จะถึงทางตัน
.
▪️ แนะจับตาความสามารถ “ชำระหนี้” อย่างใกล้ชิด!
.
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2565 สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ “สภาพัฒน์” รายงานยอดหนี้ครัวเรือนไทย ในไตรมาส 4 ของปี 2564  มีมูลค่า 14.58 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 90.1% ต่อจีดีพี จากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่อยู่ระดับ 89.7% ต่อจีดีพี โดยกลุ่มสินเชื่อที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น คือ สินเชื่อเพื่อยานยนต์ ขยายตัว 1.2% จาก 0.3% ในไตรมาสก่อน และสินเชื่อบัตรเครดิต ขยายตัว 1.6% จากการหดตัว 0.5% ในไตรมาสก่อน
.
ดังนั้น จึงต้องติดตามความสามารถในการชำระหนี้อย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
 
1 - ครัวเรือนมีฐานะการเงินเปราะบางมากขึ้น จากการเผชิญภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวมาอย่างยาวนาน ทำให้ครัวเรือนโดยเฉพาะกลุ่มรายได้น้อยมีสภาพคล่องต่ำ 

2 - รายได้ครัวเรือนยังไม่ฟื้นตัว แม้การจ้างงานจะเพิ่มขึ้นแต่ชั่วโมงการทำงานยังไม่กลับมาสู่ภาวะปกติ 

3 - ค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น อาจทำให้ครัวเรือนมีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับการชำระหนี้