ปภ.ศรีสะเกษเตือนประชาชนเตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนักถึงหนักมาก


กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดศรีสะเกษ แจ้งเตือนประชาชนเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฝนตกหนักถึงหนักมาก บางพื้นที่น้ำท่วมฉับพลันและน้ำท่วมขังในเขตชุมชนเมืองจากอิทธิพลของพายุวิภาช่วงวันที่ 20- 24 กรกฎาคม 2568
โดยส่งโทรสารในราชการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดศรีสะเกษ
ความเร่งด่วน ๑
ด่วนที่สุด
ที่ ศก (กอปภจ) ๐๐๒๑/ว๒๒๓๓
วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๘
จาก ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ/ผู้อำนวยการจังหวัด
ถึง หัวหน้าส่วนราชการทุกส่วน นายอำเภอ ทุกอำเภอ/ผู้อำนวนายการอำเภอนายกเทศมนตรีเมืองศรีสะเกษ และนายกเทศมนตรีเมืองกันทรลักษ์/ผู้อำนวยการท้องถิ่น
๑. ต่อโทรสารในราชการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดศรีสะเกษ
ด่วนที่สุด ที่ ศก (กอปภจ) ๐๐๖๑/ว ๒๓๙๔ ลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๘
๒. กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ได้มีโทรสาร ด่วนที่สุด ที่ มท (กอปภ)๐๖๑๐/ว ๑๘๙ ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๘ แจ้งว่า กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศแจ้งเตือน เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมาบริเวณประเทศไทย คลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ประเทศไทยจะมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ ๑๙ - ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๘ และคาดว่าพายุโซนร้อน"วิภา" ที่มีศูนย์กลางบริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์จะเคลื่อนผ่านตอบบนของประเทศฟิลิปปิบปินส์ ลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบนในช่วงวันที่ ๑๙ - ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๘
หลังจากนั้นจะเคลื่อนที่ผ่านทางตะวันออกของเกาะไหหลำ และเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้หรือประเทศเวียดนามตอนบน และจะจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อเคลื่อนขึ้นฝั่ง และอาจจะเคลื่อนตัวตามแนวร่องมรสุมที่พาดผ่าน ภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกฉียงเหนืองตอนบน และภาคกลางด้านตะวันตกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ มีความห่วงใยต่อประชาชนที่อาจจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้น
ได้สังการให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางกำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้อำนวยการจังหวัดดำเนินการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อทกภัยและดินถล่มที่อาจจะเกิดขึ้นขึ้นไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นการป้องกันและลดผลกระทบต่อประชาชนให้มีน้อยที่สุด จึงให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอดำเนินการตามแนวทาง ดังนี้
๑) กำชับให้หน่วยงานในระดับท้องถิ่นและท้องที่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน ให้ติดตามคาดการณ์ สภาพอากาศ ปริมาณฝน ระดับน้ำในแม่น้ำและแหล่งเก็บน้ำขนาดต่างๆ ที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งทั้งข้อมูลข่าวสารการแจ้งเตือนจากหน่วยงานรัฐตามช่องทางต่างๆ อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งแจ้งเตือนให้ประชาชนในระดับชุมชน หมู่บ้าน รับทราบสถานการณ์แนวทางการปฏิบัติอย่างปลอดภัย และเตรียมความพร้อมหากจำเป็นต้องอพยพออกจากพื้นที่
๒) ให้ตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงภัย พื้นที่ที่เคยเกิดน้ำท่วมเป็นประจำบ่อยครั้ง หรือพื้นที่/สถานที่ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ อาทิ โรงพยาบาล พื้นที่ชุมชน พื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ฯลฯ และกำหนดจุดจุดเพื่อให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต หรือหน่วยงานที่มีศักยภาพ นำเครื่องจักรสาธาธารณภัยเข้าประจำไว้ในพื้นที่เสี่ยงเป็นการล่วงหน้า ให้พร้อมเผชิญเหตุและให้การช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที
๓) ให้สำรวจสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งกีดขวางทางน้ำที่ทำให้เกิดอุทกภัย อาทิ ถนน สะพานท่อระบายน้ำ หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ตลอดจนวัชพืช ขยะ เศษวัสดต่างๆ ที่กีดขวางทางน้ำ และดำเนินการปรับปรุงแก้ไขไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำในพื้นที่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
๔) จัดเตรียมศูนย์พักพิงชั่วคราม/พื้นที่รองรับการอพยพประชาชน รวมทั้งเตรียมความพร้อมการดูแลด้านการดำรงชีพเบื้องต้นให้เพียงพอ ทั้งนี้ ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอรายงานสถานการณ์ และเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ รวมถึงผลการดำเนินการให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดทราบอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ทางโทรศัพท์หมายเลข ๑ ๔๕๖๑ ๒๕๘๘๙, ๐ ๔๕๖๑ ๗๙๙๙๕๖-๕๖-๘ โทรสารขมาบเลข๐๔๕๖๑ ๖๕๘๔, ๑ ๔๕๖๑ ๗๙๕๖ หรือหมายเลขสายด่วน ๑๗๘๔ แอปพลิเคชัน Thai Disaster Alert หรือช่องทางไลน์ "ศก.รู้ทันภัย,รู้ทันภัย๑, รู้ทันภัย๒"
๓. เพื่อทราบและดำเนินการต่อไป
โดย...เสนาะ วรรักษ์/รายงาน