ตลาดอินเดียรับซื้อไม่อั้นดัน“หมาก”ราคาพุ่งสวนทางพืชผักตกต่ำ

ตลาดอินเดียรับซื้อไม่อั้นดัน“หมาก”ราคาพุ่งสวนทางพืชผักตกต่ำ





Image
ad1

“หมาก” ปรับราคาพุ่ง 50 – 55 บาท / กก. จากปี 67 ราคาวูบ 10 บาท / กก. เกษตรกรโอดพืชผักเกษตรพอใกล้เก็บโดยขโมยเรียบ

เจ้าของสวนผสมหมาก มังคุด มะพร้าว ทุเรียน ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ขณะนี้หมากสุกราคารอบแรกเมื่อเดือนเมษายน 2568 โดยหมากแห้งผ่าตากแดด 3 รอบ ราคา 30 บาท / กก. ซึ่งถือว่าราคาอยู่ในเกณฑ์ดี เพราะไม่มีต้นทุนการผลิตทั้งค่าจ้างผ่า 5 บาท / กก. ค่าจ้างขึ้นเก็บเกี่ยวหมาก 5 บาท / กก.  และหมากไม่ได้ใส่ปุ๋ยบำรุง ยกเว้นเจ้าของสวนหมากรายใหญ่ที่จะใส่ปุ๋ยบำรุงจะมีต้นทุน

“ตอนนี้หมากสุกที่ร่วงหล่นจากต้นกำลังใกล้จะหมด ก็กำลังผลิดอกใหม่มีปริมาณมาก ประมาณว่าฤดูหมากอ่อนจะมีปริมาณมาก”

นายทักษิณ อรุณ เจ้าของไร่สวนผสม อ.จะนะ จ.สงขลา เปิดเผยว่า ภาวะหมากในปี 2568 เดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม ราคาค่อนข้างดีมากโดยได้ปรับตัวอยู่ระหว่าง 45 บาท 50 บาท และ 55 บาท / กก. เป็นหมกแห้งผ่าแล้ว โดยเมื่อเทียบกับปี่ที่แล้วในเวลาใกล้เคียงกันราคาหมากแห้งได้ปรับลงมาอยู่ที่ 10 บาท / กก.

ปัจจัยที่หมากแห้งได้ปรับตัวราคาสูงขึ้นเนื่องจากตลาดในประเทศอินเดียมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นทั้งบริโภคและปัจจัยอื่น ๆ ในการนำไปแปรูปเป็นผลิตภัณฑ์ย่อมสี แต่ในขณะเดียวหมากในไทยกลับปริมาณไม่มากเพราะสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวย

แหล่งข่าวในวงการค้าหมาก จ.เปิดเผยว่า หมากมีผลผลิตปริมาณน้อย เพราะชาวสวนไม่ค่อยจะดูแลกันจากเหตุการณืที่ราคาหมากได้เงียบนิ่งและตกลมามากในช่วงปีก่อน ๆ ส่งผลให้ชาวจะไม่ค่อยดูแล จึงเป็นพืชผลประเภทฝากฟ้าดินไม่ได้การปรับปรุงบำรุงแต่อย่างใด ผลผลิตจึงออกมาปริมาณน้อย

“ผู้ค้าหมากจึงปรับราคาซื้อให้ปรับตัวสูงขึ้น เพื่อสร้างแรงจูงใจชาวสวนให้หันหาหมากนำมาจำหน่าย เพราะหากราคาไม่จูงใจก็อาจจะปล่อยทิ้งสวนหมากให้ลูกร่วงหล่นไม่เก็บมาขาย”

สำหรับหมากในปี 2565 2566 และ 2567  การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จากที่มีนโยบายปลูกยางร่วมพืชอื่นๆ ได้มีการปลูกหมาก โดยเฉพาะในส่วนของ กยท.ที่มีการส่งเสริมการปลูกยางร่วมอื่น ๆ กับหมากถึง 400,000 ต้น และยังมีการปลูกส่วนตัวอีกมากรวมแล้วน่าจะมีถึง 600,000 ต้น และในปี 2568 จะให้ผลผลิต

“หมากการตลาดรายใหญ่ของโลกคือประเทศอินเดีย และจีน หมากสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หากหลายทั้งด้านอุตสาหกรรม เวชภัณฑ์  ผลิตเครื่องย่อม ผลิตภัณฑ์ สี และนำไปใช้ทางพิธีกรรม และทางศาสนา”

แหล่งข่าวจากเจ้าของสวนผสมอีกรายหนึ่ง กล่าวว่า ขณะที่หมากราคาที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่กลับไม่ได้ผลผลิตเท่าที่ควรเพราะมีการลักขโมย โดยหมากที่เจ้าของสวนวางเป้าไว้ว่าจะได้เก็บหมากสุกระดับ 70 % 80 % 90 % แต่ปรากฏว่าหมากได้ถูกขโมยไปแล้ว  ซึ่งขโมยหมากก็ได้ระบาดอีกจากการปรับตัวของราคา

“การทำการเกษตรการปลูกพืชผักค่อนข้างจะลำบาก เพราะสวนจะอยู่กับบริเวณบ้านที่อยู่อาศัยจะห่างไกลกัน  จึงถูกขโมยได้ง่าย”