ตามรอย “หลวงปู่ทวด” ถิ่นกำเนิดวัดพะโคะ

ตามรอย “หลวงปู่ทวด” ถิ่นกำเนิดวัดพะโคะ





Image
ad1

เชื่อว่า “สายมู” ที่มีโอกาสเดินทางมาล่องใต้ ตามชายฝั่งอ่าวไทย คงมีโอกาสได้แวะมานมัสการ “หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” ที่วัดพะโคะ หรือ “วัดราชประดิษฐาน” ถือว่าเป็นอีกวัดหนึ่งที่มีความสำคัญในตำนาน “หลวงพ่อทวด” ครั้งที่เล่าขานกันมายาวนาน ว่าสมัยนั้นหลวงพ่อทวดเคยมาจำพรรษาอยู่เมื่อประมาณ 400 กว่าปี  ปัจจุบันวัดพะโคะ ถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานตั้งแต่ปี 2528

ตามประวัติมีการเล่าขานกันว่า มีโจรสลัดแล่นเรือมาตามชายฝั่ง มองเห็นสมเด็จพระโคะเดินอยู่ มีลักษณะที่แปลกกว่าคนทั่วไป โจรสลัดเลยจอดเรือจับสมเด็จพะโคะไป เมื่อพายเรือแล่นอยู่กลางทะเลได้สักครู่ อยู่ๆไม่สามารถพาเรือแล่นต่อไปได้ จำเป็นต้องจอดเรือกลางทะเลหลายวัน จนสร้างความเดือดร้อน เนื่องจากว่าน้ำจืดในเรือเกิดหมด สมเด็จพะโคะจึงได้ใช้เท้าซ้ายเหยียบแช่ลงไปในทะเล

ทำให้เกิดประกายโชติช่วง น้ำทะเลจากเดิมเป็นน้ำเค็มกลายเป็นนำจืดขึ้นทันตา นับจากนั้นทำให้โจรสลัดเกิดความเสื่อมใส่ศรัทธากับสิ่งที่เกิดขึ้นมองเห็นกับตาอย่างปาฏิหาริย์  จึงก้มลงกราบขอขมา นำสมเด็จพระโคะมาส่งบนฝั่ง จากนั้นมาประชาชนจึงมีความเสื่อมใสศรัทธา ต่างเดินทางพามากราบไหว้จำนวนมาก

หากนักท่องเที่ยวเดินทางไปที่วัดพะโคะ จะเห็นโบราณสถาน โบราณวัตถุมากมาย อย่างพระเจดีย์เก่าแก่ ที่มีสถาปัตยกรรมแบบลังกา ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ วิหารพระพุทธรูปปางไสยาสน์ นามว่า “พระโคตรมะ” พิพิธภัณฑ์วัดพะโคะ ที่เก็บราวของของหลวงปู่ทวดและอัฐบริขารของท่าน รวมทั้งโบราณวัตถุ เครื่องทองเหลืองยุคเก่า

สำหรับการเดิทางไปวัดพะโคะ ตั้งอยู่ ต.ชุมพล อ.สทิงพระ ถ้ามาจากหาดใหญ่ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 407 ไปทางสะพานติณสูลานนท์  แล้วเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4083 ซึ่งถนนเป็นเส้นทางเลียบชายฝั่งทะเล ด้านตะวันออกช่วงสงขลา-สะทิงพระ สองข้างจะเห็นบ้านโบราณเก่าหลวงเหลืออยู่ เคียงข้างต้นตาลที่ร่มรื่นเขียวขจี  มาถึงหลักกม.ที่110 ทางซ้ายมือมีป้ายบอกทางเข้าไปวัดพะโคะ  ถ้าวัดระยะทางจากสงขลาถึงวัดพะโคะแค่ 68 กิโลเมตร

พอถึงบริเวณวัด จะมีเนินเขาพัทธสิงค์ มีบันไดขึ้นไปวัด เพื่อกราบไหว้หลวงพ่อทวด เพื่อเป็นสิริมงคล ช่วยปกป้อง คุ้มครองแคล้วคลาด ปลอดภัย จากเหตุการณ์ต่างๆใครที่แขวนหลวงพ่อทวด จะไม่ตายโหง เพราะนักเดินทางมักจะนิมนต์พระที่เป็นวัตถุมงคลมาวางไว้หน้ารถ หรือแขวนบริเวณกระจก เพื่อกราบไหว้บูชา ช่วยปกป้อง คุ้มภัย