พัทลุง เดินหน้าโครงการ “ปลูกพลูเงินล้าน” สร้างเงิน สร้างงานคนเมืองลุง

พัทลุง เดินหน้าโครงการ “ปลูกพลูเงินล้าน”  สร้างเงิน สร้างงานคนเมืองลุง





Image
ad1

นายรัฐศาสตร์ ชิดชู ผวจ.พัทลุง ได้ลงพื้นที่ติดตามการปลูกพลูเพื่อการส่งออกไปยังไต้หวัน และการนำใบพลูไปสกัดเป็นผลิตภัณฑ์ จากร่วมมือระหว่างเทศบาลตำบลร่มเมือง อ.เมืองพัทลุง มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง รวมทั้งการเตรียมการขอจดทะเบียนพลูพัทลุง เป็นสินค้าภูมิปัญญาไทย (GI)  รวมทั้งการสนับสนุนส่งเสริมการปลูกพลูเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ล่าสุดของ จ.พัทลุง ตามโครงการปลูกพลูเงินล้าน สร้างเงิน สร้างงาน แก้ปัญหาความยากจนของคนเมืองลุง ของทาง จ.พัทลุง

สำหรับพื้นที่ปลูกพลูในพื้นที่ จ.พัทลุง มีการปลูกกันมากใน ต.ท่าแค และ ต.ร่มเมือง อ.เมืองพัทลุง ในส่วนของ ต.ร่มเมือง มีเกษตรกรปลูกพลูเป็นอาชีพเสริมประมาณ 1,700 ครัวเรือน เนื้อที่ประมาณ 650 ไร่ สามารถผลิตใบพลูได้ไม่ต่ำกว่า 2,000 กิโลกรัม / ปี

โดยผลผลิตส่วนใหญ่จะส่งจำหน่ายไปยังไต้หวัน เมียนมา และส่งจำหน่ายภายในประเทศ ส่วนราคาจำหน่ายนั้น มีราคาขึ้นลงตามราคาท้องตลาด ซึ่งจะมีราคาการจำหน่าย ตั้งแต่ 40-300 บาท / กก. โดยล่าสุดเมื่อต้นเดือนมกราคม 2568 ที่ผ่านมา ราคาการซื้อขายพลูพุ่งสูงถึง 320 บาท / กก. และล่าสุดเคลื่อนไหวลดลงมาอยู่ที่  70 บาท / กก.

ขณะนี้มีล่งที่เข้ามารับซื้อพลูที่ ต.ร่มเมือง ถึงจำนวน 7 ล้ง สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกพลูในพื้นที่ ต.ร่มเมือง และ ต.ท่าแคในส่วนของสารสกัดจากใบพลูที่จะนำไปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ ทางเอกชนได้เข้ามาติดต่อรับซื้อจากมหาวิทยาลัยทักษิณ และส่วนหนึ่งทางสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพัทลุงจะนำไปเป็นผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าโอทอป โดยเฉพาะสารสกัดจากใบพลู ที่เป็นผลิตภัณฑ์ทานวดของหมอนวดแผนไทยแห่งแรกของประเทศไทย จะได้รับความสนใจจากนวดแผนไทย

นายสมบูรณ์ บุญวิสูตร นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลร่มเมือง อ.เมือง จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ภาวะตลาดพลูดยังคงคึกไม่เปลี่ยนแปลงโดยลูกค้าคือไต้หวัน สำหรับพลูมีผลผลิขายทั้งปี แต่ในไฮต์มีประมาณ 4 เดือน หรือถึง 6 เดือน คือช่วงหน้าหนาว และหน้าฝนจะบริโภคพลูมาก แต่ช่วงที่มีความต้องการพลูสูงสุดคือเดือนพฤศจิกายน ธันวาคม มกราคม

นายสมบูรณ์ กล่าวอีกว่า เทศบาลตำบลร่มเมือง ได้ร่วมมือกับคณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง  ได้ดำเนินงานโครงการบริการวิชาการการนำพลูพัทลุงไปขอจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) และสารสกัดสาระสำคัญจากใบพลูเพื่อใช้ในการผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง และเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับเศรษฐกิจของ จ.พัทลุง มี ผศ.ดร.วิไลลักษณ์  กล่อมพงษ์  เป็นหัวหน้าโครงการ เทศบาลตำบลร่มเมือง ผู้เกี่ยวข้องกับพลูพัทลุง มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง และก่อนหน้านี้เทศบาลตำบลร่มเมืองได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง  ได้ทำวิจัยแปรรูปผลิตภัณฑ์ไปแล้ว  อาทิ  สบู่  โลชั่นทากันยุงและโฟมล้างหน้า  ฯลฯ

“ในวันที่ 12 มีนาคม 2568 มหาวิทยาลัยทักษิณวิยาเขตพัทลุง กับพาณิชย์จังหวัดพัทลุง จะมีการร่วมประชุมกันที่เทศบาลตำบลร่มเมือง เพื่อจัดทำดำเนินการเสนอขอจดทะเบียนลิขสิทธิ์ GI  พลูพัทลุง”

ด้าน นางอัจรา ชมบุญ อายุ 53 ปี อยู่บ้านเลขที่ 56 หมู่ที่ 8 ต.ร่มเมือง อ.เมืองพัทลุง  ผู้รับซื้อใบพลูเพื่อการส่งออกจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ กล่าวว่า ในขณะนี้มีการรับซื้อใบพลูจากเกษตรกรวันละไม่ต่ำกว่า 1,500 กก. มีชาวบ้านที่เข้ามารับจ้างคัดแยกพลูประมาณวันละ 40-50 คน โดยมีค่าจ้าง 10 บาท / กก. ทำให้สามารถสร้างงานสร้างรายในพื้นที่ประมาณคนละ 400-1,000 บาท / วัน.