“จำเลยรัก”เกษตรกรเรณูนคร ต่อยอดข้าวหอมมะลิทำขนมจีนขาย สร้างรายได้งาม

“จำเลยรัก”เกษตรกรเรณูนคร ต่อยอดข้าวหอมมะลิทำขนมจีนขาย สร้างรายได้งาม





Image
ad1

“จำเลยรัก ศรีเรือง” หนึ่งเกษตรกร ต.โคกหินแฮ่ อ.เรณูนคร จ.สกลนคร ที่คลุกคลีอยู่กับท้องไร่ ท้องนามาร่วมครึ่งชีวิต ยึดอาชีพทำนา ปลูกข้าวหอมมะลิ  บนเนื้อที่ 30 ไร่ จากในอดีตเคยใช้ควายไถนาจนถึงยุคปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องจักรที่ทันสมัยในการทำเกษตร ส่งผลให้มีความคล่องตัวและอำนวยความสะดวกมากขึ้น
   
แต่หญิงแกร่ง "จำเลยรัก"ไม่เคยทอดทิ้งอาชีพที่รัก เคยก่อร่างสร้างตัวมาตั้งแต่บรรพบุรุษ  ถ่ายทอดมาสู่ลูกๆหลานๆชาวนาเป็นอาชีพดั่งเดิมและมีเกียรติในสังคมชนบท เพราะการทำนา สามารถปลูกข้าวหล่อเลี้ยงครอบครัว สร้างรายได้หมุนเวียน แม้ว่า บางปีอาจขาดทุนบ้าง เพราะการทำนาต้นทุนสูง แต่ชีวิตต้องสู้ต่อไป จนสามารถส่งเสียลูกจนเรียนจบ บุตรสาวเข้ารับราชการ ที่รพ.เรณูนคร ส่วนบุตชาย จะเป็นเรี่ยวแรงหลักสำคอยช่วยเหลือพ่อแม่ 

ซึ่งเป็นที่รู้ๆกันดีว่า ชาวนา ต้องทำงานเหน็ดเหนื่อยมาก กว่าจะปลูกข้าว จนสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในรอบปี ซึ่งมีกระบวนการทำงานหลายขั้นตอน ต้องมั่นดูแลใส่ปุ๋ย และน้ำต้องอุดมสมบูรณ์ ปีไหนที่แห้งแล้งบ้าง ก็ลำบากมากขึ้น ช่วงหลังๆทางเจ้าหน้าที่ชุมชน ต่างมาให้ความรู้กับเกษตรกร เพื่อที่จะให้ชาวนานำข้าวมาแปรรูป เป็นอาหารประเภทต่างๆ เพื่อที่สร้างมูลค่า และเพิ่มรายได้มากขึ้น จากรูปแบบเดิมที่ขายข้าวสารและข้าวเปลือก
      
จำเลยรัก เล่าว่า ก่อนหน้านี้ได้นำข้าวหอมมะลิมาแปรรูปทำขนมจีนขาย ถือว่าเป็นการเพิ่มโอกาสทางการตลาดอีกช่องทางหนึ่ง ที่สามารถขายให้กับชุมชนท้องถิ่นได้ จนสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ งานประกวดอะเมซิ่ง  ไทยแลนด์  กลุ่มแปรรูปข้าว สามารถขายให้กับตลาดในราคาที่ดี ส่วนข้าวสารทั่วขายได้แค่ตันละ1.2 หมื่นบาท  บางปีราคาข้าวตกต่ำ บางปีราคาดี ไม่แน่นอน แต่ขนมจีนสามารถขายได้แน่นอน เพราะผู้บริโภคในท้องถิ่นนิยมรับประทานกัน

นอกจากนี้ ยังนำข้ามาแปรรูป ทำขนมนางเล็ด (ขนมไทยเคี้ยวกรอบ) และขนมครก  ซึ่งชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงหมู่บ้านมีการรวมกลุ่มกันทำงานแปรรูปสินค้าต่างๆในชุมชน อย่างการทำข้าวกล้องงอก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าวกล้องที่เพิ่งงอก  จากข้าวหอมะลิที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าข้าวสวย และได้แปรรูป เพื่อรับประทานง่ายขึ้น ซึ่งส่วนนี้สามารถสร้างรายได้อีกช่องทางหนึ่งให้กับเกษตรกร
      
อย่างไรก็ตาม หลังจากฤดูกาลทำนาเสร็จสิ้น  เกษตรกรจะหันมาทอผ้าพื้นเมือง ผ้ามัดหมี่ ผ้าฝ้ายขาย ซึ่งมีหน่วยงานพัฒนาชุมชนและธนาคารเกษตรและสหกรณ์จะเข้ามาให้ความรู้ และคอยส่งเสริมรับซื้อผลิตภัณฑ์ชาวบ้านไปจัดจำหน่ายให้ 

พร้อมกันนั้น ตนยังเป็นสมาชิก sy  (บ.ทรัพยยั่งยืน 59) โดยมีเพื่อนในชุมชนแนะนำมาร่วมงานเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเห็นแนวทางของผู้บริหารที่ช่วยส่งเสริมสร้างงาน และสร้างอาชีพให้พี่น้องเกษตรกร ซึ่งเป็นแนวทางที่ตรงกับความคิดของตน จึงได้เข้ามาร่วมงานกัน ซึ่งในอนาคตถ้ามีเงินสักก้อนจะนำมาลงทุนในเรื่องการแปรรูปข้าว ซึ่งยังมีอีกหลายอย่าง สามารถที่นำมาต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้