กรมทรัพยากรธรณี -ปภ.ตาก ลงพื้นที่ตรวจสอบ หลุม ที่บ้านพะละ ยุบตัวเพิ่มขึ้น

กรมทรัพยากรธรณี -ปภ.ตาก ลงพื้นที่ตรวจสอบ หลุม ที่บ้านพะละ ยุบตัวเพิ่มขึ้น





ad1

จากการสำรวจธรณีฟิสิกส์พื้นที่หลุมยุบ ที่หมู่ 3 บ้านพะละ ตำบลขะเนจื้อ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก โดย กรมทรัพยากรธรณี  ที่ได้รับรายงานเกิดเหตุหลุมยุบในพื้นที่ หมู่ 3 ต.ขะเนจื้อ อ.แม่ระมาด จ.ตาก (ที่เคยเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 )จำนวน 2 ตำแหน่ง ตำแหน่งแรกมีขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลางประมาณ 30 เมตร ลึกประมาณ 18 เมตร ตำแหน่งที่สองมี 2 หลุม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 และ 6 เมตร มีความลึกเท่ากัน 2.5 เมตร ซึ่งจากการสำรวจหลุมยุบในครั้งนี้ ใช้วิธีการสำรวจธรณีฟิสิกส์ โดยวิธีวัดค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า (Resistivity Survey) เพื่อตรวจสอบลักษณะธรณีวิทยาใต้ดิน

และความต่อเนื่องของหลุมยุบสำหรับใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย มีการวางแนวสำรวจแบบ 2 มิติ ทั้งหมด 8 แนวสำรวจ รวมระยะทางทั้งสิ้น 1,760 เมตร กำหนดระยะห่างระหว่างขั้วไฟฟ้า 6 เมตร 4 เมตร 3 เมตร และ 1 เมตร ได้ความลึกของการสำรวจ 75 เมตร 50 เมตร 39 เมตร และ 13 เมตรตามลำดับ และวางแนวสำรวจแบบ 3 มิติ 1 บริเวณ ครอบคลมพื้นที่ 624 ตารางเมตร โดยได้ความลึกของข้อมูลประมาณ 7 เมตรจากผิวดิน ผลการสำรวจสามารถสรุปในเบื้องต้นได้ว่าหลุมยุบที่เกิดขึ้นไม่มีความสัมพันธ์กับหินปูน เนื่องจากไม่พบความต่อเนื่องของหินปูนลงไปใต้ดินที่สามารถเกิดการละลายและเกิดโพรงใต้ดินขนาดใหญ่ได้ แต่พบว่ามีความสัมพันธ์กับระดับน้ำใต้ดิน รอยแตก และแรงดันน้ำใต้ดิน กล่าวคือ การยุบตัวของหน้าดินเกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำใต้ดินมีการเปลี่ยนแปลงลดลง ตะกอนขนาดเล็กมีการ

เคลื่อนที่ลงไปตามช่องว่างรอยแตกของขั้นหินอุ้มน้ำใต้ดิน เมื่อหน้าดินด้านบนรับน้ำหนักไม่ไหวจึงเกิดการยุบตัวลง เกิดเป็นหลุมยุบที่ 1 (SH1) และเมื่อมีแรงดันน้ำที่เพิ่มขึ้นในฤดูน้ำหลาก ทำให้ตะกอนขนาดเล็กที่สะสมตัวในรอยแตกถูกดันและผุดออกมาพื้นที่ที่อยู่ในระดับต่ำกว่า เมื่อระดับน้ำลดลงอีกจึงเกิดเป็นหลุมยุบที่ 2 (SH2)พื้นที่เฝ้าระวังจากการแปลความหมายข้อมูลธรณีฟิสิกส์ พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณชุมชนที่มีชั้นดินอุ้มน้ำปรากฎในระดับตื้นและพบความไม่ต่อเนื่องของชั้นหน้าดินหรือรอยแตก และพื้นที่เสี่ยงภัยอยูใกลับริเวณหลุมยุบ โดยเฉพาะบริเวณถนนและโพรงใต้ดิน คำสำคัญ: หลุมยุบ, อำเภอแม่ระมาด, จังหวัดตาก, การวัดสภาพต้านทานไฟฟ้าแบบ 2 มิติ, การวัดสภาพต้านทานไฟฟ้าแบบ 3 มิติ CS สแกนด้วย CamScanner1

รายงานข่าวแจ้งว่า ตามที่ได้เกิดเหตุหลุมยุบตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค. 65 จำนวน 2 แห่ง ในพื้นที่ ม.3 ต.ขะเนจื้อ อ.แม่ระมาด จ.ตาก และวันที่ 3 ส.ค. 66 ผญบ.พะละ ม.3 แจ้งว่า ได้มีรอยร้าวเพิ่มขึ้นมากกว่า 10 เมตร ล่าสุดสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธาณภัย (สนง.ปภ.)ตาก สาขาแม่สอด ร่วมกับ อ.แม่ระมาด องค์การบริหารส่วนตำบล( อบต.)ขะเนจื้อ ได้ลงพื้นที่สำรวจความเสียหายและประเมินสถานการณ์ ดังนี้
1. พบพื้นที่บริเวณปากหลุมยุบทางด้านเหนือตำแหน่งแรก มีการยุบตัวเพิ่มเติมเป็นระยะทางยาว 30 ม. ลึกจากผิวดินประมาณ 1.5 ม. สำหรับตำแหน่งที 2 อยู่ในสภาพเดิม
2. คณะได้ร่วมกันประเมินและพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
2.1 อบต.ขะเนจื้อ จัดทำแนวเขตกั้นแสดงพื้นที่อันตราย และจัดทำป้ายเตือนห้ามรถบรรทุกหนักวิ่งผ่านถนนคอนกรีตบริเวณใกล้หลุมยุบ 
2.2 อบต.ขะเนจื้อ และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงข้อเท็จจริง และระมัดระวังการใช้เส้นทาง จัดกำลังอาสาสมัครตรวจสอบแนวโพรงใต้ดินบริเวณถนนคอนกรีตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่มีฝนตกหนัก 
2.3 โดยแจ้งให้ประชาชนที่มีที่อยู่อาศัย จำนวน 2 หลัง บริเวณใกล้เคียงหลุมยุบ ให้ย้ายไปอยู่บ้านญาติชั่วคราว