เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์อ่วมขาดทุนอยู่ไม่ได้หลังจีนสั่งห้ามนำเข้าโคจากไทยพบสารเร่งตกค้าง

เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์อ่วมขาดทุนอยู่ไม่ได้หลังจีนสั่งห้ามนำเข้าโคจากไทยพบสารเร่งตกค้าง





ad1

พัทลุง-เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์อ่วมหนักหลังจีนระงับโคไทยพบสารเร่งตกค้าง ห้ามนำเข้า โคน้ำหนัก 500- 600-700-800 กก. ค้างสต๊อก ขาดทุนอยู่กันไม่ได้ หารือจังหวัด ปศุสัตว์ กักสัตว์ที่ฟาร์มตนเองป้องกันน้ำหนักลด 30-40 กก. ขาดทุนตัวละ 3,000 –4,000 บาท / ตัว 

ด.ต.เสวียง แสงขาว เจ้าของ-ผู้เลี้ยงโคฟาร์มมิสเตอร์โจ จ.พัทลุง จำนวน 200 ตัว เปิดเผยว่า เลี้ยงโคเนื้อปี 2566 มีกระทบหนักมาก เนื่องจากประเทศจีนห้ามนำเข้าโคไทยมาตั้งแต่ปลายปี 2565 และมาจนถึงปี 2566 เนื่องจากการตรวจสอบพบสารตกค้างอยู่ในโค ส่งผลให้กระทบโคที่ส่งออกไปจีน โดยปี 2565 ทางฟาร์มเคยนำส่งจำนวนประมาณ 50 ตัว ราคาหน้าฟาร์ม 100 บาท / กก.

ขณะเดียวกันตอนนี้ยังประสบกับเรื่องการกักโคเพื่อการส่งออกที่โรงกักกันสัตว์ บ้านควนกุฎ ต.ควนมะพร้าว อ.เมือง จ.พัทลุง จำนวน 21 วันหรือรวม ๆ ประมาณ 30 วัน ส่งผลให้น้ำหนักโคลดไปประมาณ 30-40 กก. / ตัว สาเหตุกว่าโคจะลงตัวในสถานที่อยู่และกินอาหารได้ น้ำหนักก็ลดลง และขาดทุนประมาณ 3,000 – 4,000 บาท / ตัว โดยเรื่องนี้จะมีการหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัดเกี่ยวกับกักกันสัตว์เพราะหากสภาพนี้ผู้เลี้ยงโคจะประสบความเสียหายมาก 

เพราะตอนนี้มีโคพร้อมที่จะส่งออกได้จำนวนมาก แต่ได้ค้างสต๊อกอยู่มีตั้งแต่น้ำหนัก 500 กก. 600 กก. 700 กก. และ 800 กก. และโคน้ำหนักขนาด 800 กก. และ 900 กก.จะเติบโตเต็มที่ หากไม่มีการส่งออกขายได้จะประสบภาวะขาดทุนมาก  
ในส่วนฟาร์ม จำนวน 24 ตัว ราคาตัวละ 80,000 บาท และ 100,000 บาท ซึ่งครบส่งออกเดือนมีนาคม 2566 นี้เช่นกัน เป็นมูลค่าหลายล้านบาท

ด.ต.เสวียง กล่าวอีกว่า จะหารือกับกักกันสัตว์ ปศุสัตว์จังหวัด เพื่อให้กักสัตว์ที่ฟาร์มของเจ้าของฟาร์มเอง โดยมีปศุสัตว์เป็นดูแลมาตรฐาน ฉีดยาควบคุมโรค  สาเหตุกักกะนโคที่เจ้าของฟาร์มได้ดูแลอย่างมืออาชีพ จะไม่ประสบปัญหา 

“ส่วนเรื่องการส่งออกโคไปยังจีนที่ถูกห้ามเด็ดขาด เพราะเรื่องสารเร่งสารตกค้าง จะเป็นโอกาสของผู้เลี้ยงโคในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งก็มีการจ้างเลี้ยงโคกันมาก เช่น ประเทศกัมพูชา ฯลฯ  ประเทศดังกล่าวมีต้นทุนการผลิตไม่สูง” 

สำหรับฟาร์มของตน พอมีทางออกคือได้มีการเจรจากับผู้ประกอบการธุรกิจโคประเทศมาเลเซียแล้วจะรับซื้อโคหน้าฟาร์มราคา 95 บาท และไม่เกิน 100 บาท / กก. และพร้อมรับซื้อ แต่ยังติดเรื่องกักกันสัตว์  โดยตนเลี้ยงโคครบวงจร ทั้งแม่พันธุ์ ลูกขุน และผลิตอาหาร และขณะนี้กำลังศึกษาเรื่องการแปรรูปเนื้อโคเป็นผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้โดยลงทุนประมาณ 10 ล้านบาท ทั้งฟาร์มโค โรงงานแปรรูปผลิตอาหารสัตว์ บริษัท เทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ภาคใต้ จำกัด

สำหรับฟาร์มโคดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548 และโรงงานได้ตั้งแต่ปี 2548 โรงเรือน เครื่องจักร ทั้งหมดดำเนินการตามนโยบายของภาครัฐ และทำตามมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมแต่โรงงานแปรรูปผลิตอาหารสัตว์ ต้องชะลอลงเพราะถูกทางการระบุว่าตั้งในพื้นที่สีชมพู ทั้งที่ทำตามนโยบายของรัฐและมาตรฐานอุตสาหกรรม ดังนั้นตนได้เตรียมการที่จะการฟ้องร้องรัฐต่อศาลในเดือนมีนาคม 2566 นี้ เพราะมีผลกระทบเป็นอย่างมาก

“ปัจจุบันมิสเตอร์ฟาร์ม เลี้ยงโคเนื้อประมาณ 200 ตัวมีมูลค่าเฉลี่ยตัวละ 70,000 – 80,000 บาท – 100,000 บาท ตัว”. 

โดย...อัสวิน ภักฆวรรณ