เกษตรกรใต้เลิกทำนาไร้แรงจูงใจฉุดข้าวขาดแคลนดันราคาแพงส่งผลกระทบความมั่นคงทางอาหาร

เกษตรกรใต้เลิกทำนาไร้แรงจูงใจฉุดข้าวขาดแคลนดันราคาแพงส่งผลกระทบความมั่นคงทางอาหาร





ad1

สมาคมโรงสีข้าวชาวภาคใต้เสวนา “วิกฤติข้าวภาคใต้”ต้องบริโภคข้าวราคา 50 – 60 บาท / กก.  ระบุ แกลบ รำข้าวจากต่างประเทศทะลักอยู่ในโกดังชายแดนไทย มาเลเซีย ทะลักขายทั่วประเทศ ส่งผลให้กระทบต่อชาวนาและโรงข้าวทั่วใต้ และมีการไล่ล่าข้าวจากลุ่มพ่อค้าข้าวต้องเสียเงินรายละ ล้านบาท 600,000 บาท และ 500,000 บาท ราย กลุ่มโรงสีกระอักไปตามกัน พร้อมกับภาษีเสียซ้ำซาก 

ที่สำนักส่งเสริมการบริหารวิชาการและภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุงสมาคมโรงสีข้าวและกลุ่มชาวนาภาคใต้ได้มีการเสวนาวิฤติข้าวภาคใต้ นาข้าวลุ่มน้ำไปทางไหน มีชาวนา  สำนักเกษตรจังหวัด พาณิชย์จังหวัด ศูนย์วิจัยข้าว 3 จังหวัดลุ่มน้ำปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช พัทลุง และ จ.สงขลา มีนายบริรักษ์ ชูสิทธิ์ ที่ปรึกษาสมาคมโรงสีข้าวและกลุ่มชาวนาภาคใต้ เป็นประธาน มีผู้เข้าร่วมประมาณ 100 คน 

โดยในที่ปะชุมได้กล่าวถึงชาวนาจะเกิดภาวะวิกฤติหนักในอนาคตเพราะพื้นที่ได้ลดลงซึ่งขณะนี้จะต้องนำเข้าหอมมะลิประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ทั่วภาคใต้ เพราะนาข้าวถูกทอดทิ้งจากหลายสาเหตุ ทางด้านสาธารณูปโภค แหล่งน้ำระบบชลประมาณ ระบบโลจิสติกส์ พันธุ์ข้าว  ฯลฯ ไม่มีความพร้อมสนับสนุน และประการสำคัญข้าวทางภาคใต้ไม่สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะประเทศมาเลเซียได้ และพ่อค้าบางกลุ่มที่ได้ส่งออกไป ปรากฎว่ามีบางกลุ่มที่อยู่หน่วยงานที่เกี่ยวความมั่นคงทำการจับกุมและต้องเสียเงินปรับเป็นหลักล้านบาท และ 600,000 บาท 500,000 บาท ฯลฯ ตรงนี้จึงอยากให้รัฐบาลมีการเจรจากับรัฐบาลมาเลเซีย ให้ทางภาคใต้ส่งข้าวออกไปยังประเทศมาเลเซีย ได้ 

และในขณะเดียวกันยังมีแกลบและรำข้าว จากต่างประเทศนำเข้ามาขายในประเทศไทย ตั้งอยู่โกดังอยู่ตามแนวพรมแดนไทย มาเลเซีย  จะขายในราคาที่ตำกว่ารำข้าวของไทยโดยราคาที่ 2.80 บาท / กก. ขณะที่ของไทย ประมาณ 3.50 บาท / กก. จึงขอความอนุเคราะห์หน่วยงานที่รับผิดชอบเข้าไปตรวจสอบจับกุมเพราะได้ส่งผลกระทบต่อชาวนาและโรงสีทางภาคใต้ เป็นอย่างมาก 

ในขณะเดียวกันโรงสีข้าวยังมีการเสียภาษีซ้ำซ้อนจำนวนหลายส่วน เช่น ซื้อเข้ามา 10 ล้านบาท ต้องเสียภาษี 1.4 ล้านบาท ยังไม่รวมถึงที่เสียกับหน่วยงานอื่น ๆ ตอนนี้กลุ่มผู้ประกอบการโรงสีข้าวที่มีอยู่จำนวน 108 โรง ชาวนา พ่อค้าข้าว กลุ่มธุรกิจเกี่ยวข้าวทั้งรถไถ รถเกี่ยวข้าว ฯลฯ เกิดความเปราะบางมาก ส่งผลกระทบหมด และเป็นการส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของภาคใต้ และอนาคตจะต้อซื้อข้าวสารมาบริโภคประมาณ 50-60 บาท / กก. เพราะขณะนี้ข้าวเกรดดีราคา 30 บาทกว่าและถึง 40 บาท / กก.

“ต่อไปกลุ่มชาวนาภาคใต้ และโรงสีภาคใต้ และกลุ่มต่าง ๆ ที่ข้องกับข้าวจะต้องร่วมกันทุกฝ่าย จนไปถึงภาครัฐที่เกี่ยวข้องรณรงค์เรื่อวิกฤติข้าว โรงสี ฯลฯ จะต้องรถณรงค์สื่อสารให้คนทั้งประเทศและรัฐบาลรับทราบ จะต้องมีการขยายการเปิดเวทีให้กว้างข่าวยิ่งขึ้น ไม่ใช่จะอยู่แต่ในกลุ่มไลน์อีกต่อไป” ที่เสวนา ระบุ  

นายสุทธิพร กาฬสุวรรณ เจ้าของโรงสีข้าวโสภณเจริญพาณิชย์ นายกกิตติมศักดิ์โรงสีข้าวและกลุ่มชาวนาภาคใต้ เปิดเผยว่า ชาวนา 3 จังหวัดภาคใต้ จ.สงขลา นครศรีธรรมราช และ จ.พัทลุง เกิดวิกฤติข้าว จะต้องหาทางออกของชาวนา โรงสีข้าว พ่อค้าข้าว และและผู้บริโภคข้าวภาคใต้

ทั้งนี้สถานการณ์ประกอบอาชีพทำนา โรงสีข้าว  โดยเฉพาะ 3 จังหวัด จ.นครศรีธรรมราช จ.พัทลุง และ จ.สงขลา ที่เคยมีพื้นที่ทำนาที่กว่า 1 ล้านไร่ จนถึงขณะนี้ที่ทำนาเหลืออประมาณ 300,000-400,000 ไร่ / ฤดู อีกกว่า 700,000 ไร่ ถูกปล่อยทิ้งเป็นนาร้าง และได้ทยอยลงทุนปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของภาคใต้และจะต้องนำเข้าข้าวถึงประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ และยังต้องนำเข้าป้อนโรงสีข้าวแปรรูปเป็นข้าวสาร โดยภาพรวมแล้วโรงสีข้าวทำงานได้ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ จากโรงสีข้าวที่มีอยู่ประมาณ 108 โรง จึงจำเป็นต้องสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยต้องทำนาให้ได้ประมาณ 1 ล้านไร่ ประมาณ 700,000 ตัน / ฤดูกาล

“แนวโน้มประมาณว่าอีก 10 ปีข้างหน้า หากไม่ได้รับการรณรงค์จากภาครัฐและสนับสนุนจากรัฐบาล ก็จะเหลือพื้นที่นาน้อยมากและจะต้องนำเข้าข้าว ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงและในที่สุดจะได้บริโภคข้าวในราคาที่สูงขึ้นไม่ต่ำกว่า 50-60 บาท / กก. และ 35 บาท / กก. เพราะขณะนี้ข้าวสารเกรดกลาง ๆ ราคา 35 บาท 38 บาท และ 40 บาท / กก.” 

นายสุทธิพร กล่าวอีกว่า ปัจจัยสำคัญที่ทิ้งนาข้าวให้เป็นนาร้าง แล้วบางส่วนหันไปลงทุนปลูกปาล์มน้ำมัน เพราะการทำนาปัจจัยทางด้านสาธารณูปโภคไม่มีความก้าวหน้าคือระบบชลประทาน ขาดแหล่งน้ำตลอดถึงเส้นทางคมนาคมเข้าถึงพื้นที่ทำนา รัฐบาลจะต้องสนับสนุนด้วยการเป็นต้นทุนและเรื่องของการพัฒนาพันธุ์ข้าว และพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ให้ได้คุณภาพมีปริมาณผลผลิตที่สูงทั้งหมดจะเป็นปัจจัยลดต้นทุนการผลิตการทำนาและแนวทางสำคัญรัฐบาลจะต้องออกแบบวางกรอบพื้นที่ทำนา 3 จังหวัด ให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทำนา พร้อมกับทางรัฐต้องมีการณรงค์กับเยาวชน นักเรียนนักศึกษา ความสำคัญสำคัญของการทำนาเพราะเป็นความมั่นคงทางอาหาร ผลกระทบทางอาหาร เพราะปัจจุบัน เยาวชนคนรุ่นใหม่จะหันหลังให้กับการทำนา

นายสุทธิพร ยังกล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องการตลาดค้าข้าวทางภาคใต้ รัฐบาลต้องเจรจากับรัฐบาลมาเลเซียส่งออกข้าวยังประเทศมาเลเซียเสรี เพราะข้าวมีบริษัทของรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการนำเข้าแต่เพียงรายเดียว ทั้งนี้เพื่อให้ข้าวภาคใต้ส่งข้าวออกได้โดยตรง และชาวมาเลเซียเอง ก็นิยมบริโภคข้าวไทยมาก และจะเป็นเหตุที่จะสร้างมูลจูงใจใหหันมาทำนา ปัจจัยทั้งหมดจะเป็นมูลเหตุจูงใจให้กับชาวนาได้.