อบจ.อุทัยธานี เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "สานพลังกลไกชุมชนท้องถิ่นร่วมสร้างสุขภาวะชุมชน"

อบจ.อุทัยธานี เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "สานพลังกลไกชุมชนท้องถิ่นร่วมสร้างสุขภาวะชุมชน"





ad1

อุทัยธานี -"เผด็จ"นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "สานพลังกลไกชุมชนท้องถิ่นร่วมสร้างสุขภาวะชุมชน" ณ องค์การบริหารส่วนตำบลประดู่ยืน

เมื่อเวลา 09.00.น.ของวันที่ 18 ตุลาคม 2565 นายเผด็จ นุ้ยปรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี มาเป็นประธานในพิธีเปิด เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สารพลังกลไกชุมชนท้องถิ่นร่วมสร้างสุขภาวะชุมชน พร้อมนายสมนึก เรากสิกรรม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลประดู่ยืน ปลัดอบต.ประดู่ยืน กำนันตำบลประดู่ยืน ประธานสภาอบต.ประดู่ยืน สมาชิกอบต.ประดู่ยืน ผู้ใหญ่บ้านตำบลประดู่ยืน ทั้งนี้ได้มีอบต.ท่าโพ อำเภอหนองขาหย่าง อบต.ไผ่เขียว อำเภอสว่างอารมณ์ อบต.หนองยาง อำเภอหนองฉาง  อบต.หนองนางนวล อำเภอหนองฉาง อบต.ทุ่งโพ อำเภอหนองฉาง อบต.หนองกลางดง อำเภอทัพทัน ของจังหวัดอุทัยธานี และอบต.สร้อยละคร อำเภอลาดยาว อบต.ห้วยน้ำหอม อำเภอลาดยาว อบต.วังซ่าน อำเภอแม่วงก์ของจังหวัดนครสวรรค์ ได้เข้าร่วมงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศาลพลังกลไกชุมชนท้องถิ่นร่วมสร้างสุขภาวะชุมชนในวันนี้

นายสมนึก เรากสิกรรม นายกอบต.ประดู่ยืน กล่าวรายงานว่า สืบเนื่องจากบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ภายใต้โครงการสานพลังกลไกชุมชนท้องถิ่นร่วมสร้างสุขภาวะชุมชนขับเคลื่อนสู่ตำบลสุขภาวะแบบการมีส่วนร่วมโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลประดู่ยืนอำเภอลานสักจังหวัดอุทัยธานี อบต.ประดู่ยืน ได้เข้าร่วมดำเนินการกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)โดยสำนักสนับสนุนสุภาวะชุมชน(สำนัก 3) เพื่อพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถขององค์การบริหารส่วนตำบลประดู่ยืน เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการจัดการสุขภาวะชุมชน

และการเปลี่ยนแปลงด้านการเสริมสร้างสุขภาวะชุมชนนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นและเครือข่ายศูนย์จัดการเครือข่ายที่มีขีดความสามารถในการขับเคลื่อนเครือข่ายและขีดความสามารถในการจัดการความรู้เสริมสร้างภาวะผู้นำ นำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นและเครือข่าย และเพื่อการขับเคลื่อนสร้างทุนและศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น ตามเจตนารมณ์ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)พี่มุ่งเน้นให้เกิดชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการฯอย่างมีประสิทธิภาพโดยให้เข้าร่วมเครือข่ายโครงการบูรณาการสร้างเมืองน่าอยู่มุ่งสู่ตำบลสู่ภาวะอย่างยั่งยืน  ใน 5 ประเด็นนี้

การบริหารจัดการขยะ การส่งเสริมทุนและเศรษฐกิจชุมชน การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุการควบคุมการบริโภคยาสูบและสารเสพติด การลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการจัดการข้อมูลตำบล การพัฒนาระบบข้อมูลตำบล(เทคแนป)การวิจัยชุมชน(รีแคป)เพื่อนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นดังกล่าว