ป.ป.ช.จ่อเชือดนายกฯหนองจิกทุจริตโครงการถุงยังชีพ นราธิวาส-ปลัดอบต.ทุจริตเบิกจ่ายเงินค่าจ้าง

ป.ป.ช.จ่อเชือดนายกฯหนองจิกทุจริตโครงการถุงยังชีพ นราธิวาส-ปลัดอบต.ทุจริตเบิกจ่ายเงินค่าจ้าง





ad1

ป.ป.ช.เตรียมแถลงผลงาน ปัตตานี นายกฯหนองจิก โดนโครงการถุงยังชีพ นราธิวาส ปลัดอบต.เรื่องทุจริตในการตรวจรับงานจ้างและเบิกจ่ายเงินค่าจ้างเหมารถตู้โครงการอบรมเพิ่มประสิทธิภาพและยะลาการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวบ่อน้ําร้อนเบตง


     
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 ณ โรงแรมซีเอสปัตตานี อําเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี นายสุชาติ กรวยกิตานนท์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค 9 นายยุทธนา วิมลเมือง เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชํานาญการพิเศษ นายธนกฤต เลิศวิริยวรางกูร ผู้อํานวยการสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัดสตูล นางสาวสุดใจ ไข่เสน ผู้อํานวยการสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัดสงขลา นายบัณฑิต คณะสุวรรณ์ ผู้อํานวยการสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัดยะลา นายสุวัฒน์ เสาวรัญ ผู้อํานวยการสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัดนราธิวาส  นายวราพงษ์ อินต๊ะโมงค์ ผู้อํานวยการสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัดปัตตานีนายธนะ อาษาวุธ ผู้อํานวยการสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัดพัทลุง ร่วมแถลงผลการดําเนินงานของ สํานักงาน ป.ป.ช. ในเขตพื้นที่ ภาค 9 ในรอบปีงบประมาณ 2564 และปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 5 โดยมี คดีที่น่าสนใจ ของ สํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัดปัตตานี  ผู้ถูกกล่าวหา นางสาวนิฮัสนา เลาะนะ นายกเทศมนตรีตําบลหนองจิก อําเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ข้อกล่าวหา ว่ากระทําความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีทุจริต 

โครงการจัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค (ถุงยังชีพ) เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การดควิด จํานวน 1556 ถุง ในปีงบประมาณ 2563 โดยผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้ดําเนินการเอง โดยนําชื่อร้านของผู้อื่นมาเป็นคู่สัญญา พฤติการณ์ในการกระทําความผิด เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2563 ผู้ถูกกล่าวหา ได้อนุมัติให้จัดซื้อเครื่องอุปโภค บริโภค (ถุงยังชีพ) เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด จํานวน 2556  ถุง โดยวิธีเฉพาะเจาะจง เป็นเงินจํานวน 525420  บาท ต่อมาวันที่ 27 เมษายน 2563 เทศบาลตําบลหนองจิก โดยผู้ถูกกล่าวหา ได้ลงนามทําสัญญาซื้อขายกับร้าน นิตาการค้า ให้เป็นผู้ขายเครื่องอุปโภคบริโภค (ถุงยังชีพ) หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2563 เทศบาลตําบลหนองจิก โดยผู้ถูกกล่าวหาใต้อนุมัติให้เบิกจ่ายเงินและใต้ลงนามสั่งจ่ายเช็คเลขที่ 35483555  ให้กับร้านนตาการค้า 

แต่ปรากฏว่า ร้านนิตาการค้า ไม่ได้เป็นผู้ดําเนินโครงการดังกล่าวที่แท้จริงแต่อย่างใด และไม่ได้เป็นผู้ไปรับเช็คดังกล่าว โดยผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้จัดหาจัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค (ถุงยังชีพ) มาด้วย ตนเอง และยังได้รับส่วนต่างจากการดําเนินโครงการดังกล่าวด้วย 6 มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณารายงานและสํานวนการไต่สวนข้อเท็จจริงแล้ว มีมติว่า ผู้ถูกกล่าวหามีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 มาตรา 152 และมาตรา 157, ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 126 (1 ) ประกอบมาตรา 168 วรรคหนึ่ง และมาตรา 172 และตามพระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 120 และมีมูล ความผิด ฐานละเลยไม่ปฏิบัติการตามอํานาจหน้าที่ อันจะเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอํานาจหน้าที่หรือประพฤติตนฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อย ตามพระราชบัญญัติ เทศบาล พ.ศ. 2496  และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 72

ปัจจุบันอยู่ระหว่างดําเนินการส่งเรื่องให้อัยการสูงสุด เพื่อดําเนินคดีอาญาตามมาตรา 51 (2) และส่งเรื่องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เพื่อดําเนินการตามหน้าที่และอํานาจ ตามมาตรา 55 วรรคสี่ ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2561 ทั้งนี้ การชี้มูลความผิดทางอาญาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังไม่ถือเป็นที่สุด ผู้ถูกกล่าวหายังเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะมีคําพิพากษาของศาลอันถึงที่สุด 

สํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัดนราธิวาส ผู้ถูกกล่าวหา นางสาววนิดา ยิมะตะโละ เมื่อครั้งดํารงตําแหน่ง ปลัดองค์การบริหารส่วนตําบลเรียง อําเภอ รือเสาะ จังหวัดนราธิวาส กับพวก ข้อกล่าวหา ทุจริตในการตรวจรับงานจ้างและเบิกจ่ายเงินค่าจ้างเหมารถตู้โครงการอบรมเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารงานของผู้บริหาร สมาชิกสภาฯ พนักงานส่วนตําบล และพนักงานจ้างขององค์การบริหารส่วนตําบลเรียง ปีงบประมาณ 2560  ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย พฤติการณ์การกระทําความผิด องค์การบริหารส่วนตําบลเรียง ได้จัดโครงการอบรมเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารงานของผู้บริหาร สมาชิกสภา พนักงานส่วนตําบล พนักงานจ้าง ขององค์การบริหารส่วนตําบลเรียง ประจําปีงบประมาณ2560   ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ 4 ถึง 33 พฤษภาคม 2560 ซึ่งโครงการ นี้ได้ผ่านความเห็นชอบได้รับการอนุมัติให้ดําเนินการจ้างโดยวิธีตกลงราคาตามระเบียบๆ จากนั้น องค์การ บริหารส่วนตําบลเรียง ได้มีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับงานจ้าง มีนางสาววนิดาฯ เป็นประธานกรรมการ โดยโครงการดังกล่าวมีการทําสัญญาจ้างเหมาบริการรถตู้ จํานวน 3 คัน 4500 บาท ต่อคันต่อวัน รวม 4 วัน เป็นเงิน 54,000 บาท แต่ปรากฏว่า ช่วงเช้าก่อนออกเดินทางไปศึกษาดูงาน มีผู้เข้าร่วมโครงการน้อยกว่า
       
ประมาณการไว้ จึงใช้รถตู้เพียง 2 คัน และใช้รถยนต์กระบะขององค์การบริหารส่วนตําบลเรียง ทดแทน จํานวน 1 คัน ภายหลังจากเสร็จโครงการ วันที่ 15 พฤษภาคม 2560 นางสาววนิดาฯ ได้สั่งให้ผู้ช่วย เจ้าหน้าที่การเงินจัดทําฎีกาเบิกจ่ายค่าจ้างเหมารถตู้ พร้อมทั้งเขียนเช็คค่าจ้างเหมารถตู้ เพื่อดําเนินการ เบิกจ่ายค่าจ้างเหมารถตู้ให้แก่ผู้รับจ้าง ต่อมา วันที่ 17 พฤษภาคม 2560 ผู้รับจ้างได้รับเช็คค่าจ้างเหมารถตู้ หักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วเป็นเงิน 53400  บาท หลังจากผู้รับจ้างนําเช็คเรียกเก็บแล้ว ผู้รับจ้างก็นําเงินส่วนต่าง ค่าจ้างเหมารถตู้ จํานวน 18000  บาท มาฝากไว้กับเจ้าหน้าที่การเงินที่องค์การบริหารส่วนตําบลเรียง เพื่อให้แก่นางสาววนิดาฯ ต่อมา วันที่ 18 พฤษภาคม 2560 นางสาววนิดาฯ ส่งข้อความทางไลน์สั่งการให้ เจ้าหน้าที่การเงินนําเงินจํานวนดังกล่าวไปฝากไว้กับเจ้าหน้าที่กองคลังซึ่งเป็นหลานนางสาววนิดาฯ และเจ้าหน้าที่กองคลังได้นําเงินไปให้นางสาววนิดาฯ ที่บ้าน 

ภายหลังจากนางสาววนิดาฯ เดินทางกลับจาก ประเทศซาอุดีอาระเบีย ต่อมา วันที่ 29 มิถุนายน 2560  นางสาววนิดาฯ นําเงินจํานวนดังกล่าวมาให้ผู้ช่วย เจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ เพื่อคืนให้แก่องค์การบริหารส่วนตําบลเรียง มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว มีมติเป็นเอกฉันท์ ว่า การกระทําของนางสาว วนิดา ยิมะตะโละ มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145 มาตรา 153 มาตรา ด537 และมาตรา 162 (3) (4) และตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2542  แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มาตรา 223/2  ประกอบพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 142 และมีมูล ความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตําบลจังหวัดนราธิวาส เรื่อง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย พ.ศ. 2554  ข้อ 7 วรรคสาม ข้อ 10 วรรคสอง ข้อ 15 วรรคสอง ข้อ 6 ข้อ20 และข้อ 23 วรรคสอง
     
ทั้งนี้ การชี้มูลความผิดทางอาญาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังไม่ถือเป็นที่สุด ผู้ถูกกล่าวหายังเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะมีคําพิพากษาของศาลอันถึงที่สุด 
      
 สํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัดยะลา ผลงานด้านการป้องกันการทุจริต/การเฝ้าระวังการทุจริตเชิงรุก เรื่อง การพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์ แหล่งท่องเที่ยวบ่อน้ำร้อนเบตง ตามที่ปรากฏข่าวเกี่ยวกับปัญหาสถานที่ท่องเที่ยวบ่อน้ําร้อนเบตง ตําบลตาเนาะแมเราะ อําเภอเบตง จังหวัดยะลา ทางสื่อมวลชนและสื่อสังคมออนไลน์เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาก่อนการจัดการ แข่งขันวิ่งเทรล Amazean Jungle Trail 2022  ที่จังหวัดยะลา และเครือข่ายภาคประชาชนได้ประสานมายัง สํานักงาน ป.ป.ซ. ประจําจังหวัดยะลา ให้ตรวจสอบการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวบ่อน้ำร้อน เบตง ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา นั้น
      
กรณีดังกล่าว สํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัดยะลา ได้ดําเนินการติดตามและเฝ้าระวัง การพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวบ่อน้ําร้อนเบตง มาโดยตลอด เนื่องจากเครือข่าย ภาคประชาชนในพื้นที่แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์ฯ ดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565  สํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัดยะลา จึงได้ร่วมกับคณะกรรมการธรรมาภิบาล จังหวัดยะลา ชมรมจิตพอเพียงต้านทุจริต จังหวัดยะลา ศูนย์เบตงต้านโกง และศูนย์ประสานงานเครือข่าย ภาคประชาสังคมในการเฝ้าระวังปัญหาการทุจริต อําเภอเบตง จังหวัดยะลา ของสํานักงานคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ สํารวจการใช้งบประมาณของหน่วยงานในพื้นที่ 

และคัดเลือก โครงการ/กิจกรรม/งาน ของหน่วยงานภาครัฐเพื่อติดตามการใช้งบประมาณรายจ่าย โดยได้มีการลงพื้นที่ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2565 สังเกตการณ์ ติดตามโครงการจ้างก่อสร้างโครงการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์ แหล่งท่องเที่ยว บ่อน้ําร้อนเบตง โดยวิธีคัดเลือก และได้กําหนดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนในพื้นที่ ร่วมลงพื้นที่ติดตามการดําเนินงานด้วย โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนในพื้นที่ได้ร่วมติดตาม งานปรับปรุงซุ้มทางเดิน งานรั้วสูง 2.00 เมตร และงานลานจอดรถและทางเท้าตามวงเงินงบประมาณที่ได้รับ จัดสรร 5,543,000 บาท ที่ได้รับงบประมาณจากโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ ฐานราก องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ได้มีการชี้แจงให้ผู้ลงพื้นที่สังเกตการณ์ฯ ว่า องค์การบริหารส่วน จังหวัดยะลามีการประเมินความเสี่ยงการทุจริตในขั้นตอนการดําเนินงาน และมีการควบคุม/บริหารความเสี่ยง การทุจริตแล้ว
      
 เมื่อเดือนเมษายน 2565 ก่อนการจัดการแข่งขันวิ่งเทรล Amazean Jungle Trail 2022 ที่จังหวัดยะลา มีการนําประเด็นปัญหาสถานที่ท่องเที่ยวบ่อน้ําร้อนเบตง ได้แก่ ปัญหาห้องน้ําภายในสถานที่ ท่องเที่ยวบ่อน้ําร้อนเบตง มีสภาพสุขภัณฑ์ชํารุดและสกปรกขาดการดูแล เผยแพร่สู่สาธารณะผ่านสื่อมวลชน หรือสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลาอยู่ ระหว่างดําเนินการแก้ไขแล้ว อย่างไรก็ตาม เครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่ได้ประสานมายังสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัดยะลาให้มีการติดตาม ตรวจสอบการดําเนินงานพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวบ่อน้ําร้อน เบตง ต่อไป เนื่องจากในส่วน การคัดเลือกผู้รับจ้าง และการให้สัมปทานแก่เอกชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวบ่อน้ําร้อนเบตง ส่อถึง ความไม่โปร่งใส นายบัณฑิต คณะสุวรรณ์ ผู้อํานวยการสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัดยะลา จึงได้ลงพื้นที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 เพื่อติดตามเกี่ยวกับแผนแม่บทการพัฒนา และปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวบ่อน้ําร้อนเบตง และประสานขอเอกสารเพิ่มเติม พร้อมได้กําชับองค์การ บริหารส่วนจังหวัดยะลาให้มีมาตรการป้องกันการทุจริตในทุกขั้นตอนของการดําเนินงาน และป้องกัน ความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาการจัดการแหล่งท่องเที่ยวบ่อน้ําร้อนเบตง เพื่อให้การดําเนินงานดังกล่าว มีความโปร่งใสและได้รับการพิจารณาจากประชาชนส่วนใหญ่ที่อยู่ในชุมชนอย่างแท้จริง