ชาวปัตตานีร่ำไห้หลังจากเห็นสภาพกำแพงวังเก่าจะบังตีฆอถูกทุบทิ้ง

ชาวปัตตานีร่ำไห้หลังจากเห็นสภาพกำแพงวังเก่าจะบังตีฆอถูกทุบทิ้ง





ad1

ปัตตานี-ชาวปัตตานีร่ำไห้และวิจารณ์อย่างหนักหลังจากเห็นสภาพกำแพงวังเก่าจะบังตีฆอถูกตุบทิ้ง แต่ผู้ดูแลกลับยืนยันเพื่อบูรณะใหม่เนื่องจากกำแพงมีสภาพทรุดโทรมจะพัง

จากกรณีมีการเผยแพร่ภาพการตุบรื้อกำแพงวังเก่าจะบังติกอโดยไม่รู้สาเหตุผ่านทางโลกโซลเซียล ทางเฟสบุ๊กส์ ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เนื่องจากวังจะบังติกอได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของคนเชื้อสายมาลายูปาตานีและของพี่น้องในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นสัญลักษณ์ชิ้นสุดท้ายที่บงบอกถึงยุคสุดท้ายของการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบบกษัตริย์หัวเมืองมาลายูก่อนที่จะถูกยุบปกครองเป็นรูปแบบมณฑลเทศาภิบาล แล้วมาเป็นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จนตราบทุกวันนี้

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าในราชสมัยสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2445 พระยาแขกเจ้าเมือง ตานี ยะหริ่ง สายบุรี ระแงะ รามันห์ ยะลา และหนองจิก คบคิดขบถรัฐบาลต้องใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามจนระงับเหตุได้ ต่อมาจึงได้มีการยกเลิกระบบกินเมืองและตั้งมณฑลเทศาภิบาลซึ่งเป็นการดึงอำนาจของหัวเมืองต่าง ๆ เข้าสู่ศูนย์กลาง จัดตั้งมณฑลปัตตานีเมื่อ พ.ศ. 2449 มีเมืองใหญ่น้อยรวมกัน 7 เมือง คือ ปัตตานี ยะลา ยะหริ่ง ระแงะ รามัน สายบุรี และหนองจิก โดยแต่งตั้งให้พระยาศักดิ์เสนี (หนา) ดำรงตำแหน่งเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลปัตตานี

หลังจากจัดตั้งเป็นมณฑลปัตตานีโดยสมบูรณ์ ได้ยุบหัวเมืองทั้ง 7 เหลือเพียง 4 เมือง คือยุบเมืองหนองจิกและยะหริ่ง เข้ากับเมืองปัตตานี ยุบรวมเมืองรามันเข้ากับยะละรวมเรียกยะลา ส่วนระแงะกับสายบุรี คงไว้เช่นเดิม กระทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป สอดคล้องกับนโยบายยกเลิกระบบเจ้าเมือง โดยอาศัยช่วงที่เจ้าเมืองคนใดคนหนึ่งถึงแก่อสัญกรรมแล้วไม่แต่งตั้งคนใหม่ทดแทน แต่มีการโยกย้ายยุบรวมตามความเหมาะสม ต่อมายุบเมืองระแงะเข้ากับบางนรา แล้วเปลี่ยนชื่อบางนราเป็นเมืองนราธิวาส เมื่อ พ.ศ 2458 ปีต่อมา พ.ศ. 2459 โปรดให้เรียกทุกเมืองที่เหลืออยู่เป็นจังหวัด มณฑลปัตตานีตอนนั้นจึงประกอบด้วย 4 จังหวัด คือ จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดสายบุรี 

จนกระทั่งปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 เมื่อมีการประกาศยุบเลิกมณฑลปัตตานี ได้ลดฐานะจังหวัดสายบุรีเป็นอำเภอตะลุบัน[มณฑลปัตตานีแตกต่างจากมณฑลทั่วไป คือ ประกอบด้วยราษฎรหลากหลายเชื้อชาติ ภาษา ขนบธรรมเนียมและศาสนา จึงมีการผ่อนผันเป็นพิเศษให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น เช่น ผ่อนผันให้เกณฑ์ชายฉกรรจ์เป็นตำรวจภูธรแทนการเกณฑ์เป็นทหาร เนื่องจากชาวมุสลิมไม่พอใจในการเกณฑ์เป็นทหาร ได้มีการจัดตั้งศาลเป็น 2 ศาล คือ ศาลทั่วไปและศาลสำหรับการพิจารณาคดีศาสนาอิสลาม รัฐบาลยังประกาศยกเว้นการเก็บภาษีบางอย่าง เช่น ภาษีค่านา ค่าราชการ และสรรพภาษีภายใน พ.ศ. 2474 มณฑลปัตตานีได้รวมเข้ากับมณฑลนครศรีธรรมราช

ดังนั้นวังจะบังติกอจึงเต็มไปด้วยความทรงจำของคนมาลายูปาตานี ทั้งในแง่ดีและในแง่ของการสูญเสีย แม้จะเป็นเรื่องในอดีตของการเปลี่ยนแปลนการปกครองบ้านเมืองในดินแดนแห่งนี้ ทำให้ความผูกพันธ์สายสัมพันธ์ของวังจะบังติกอแยกจากคนมาลายูปาตานีและคนเชื้อสายมาลายูสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ได้อย่างสิ้นเชิง แม้ปัจจุบันยังคงเหลือแค่สิ่งปรักหักพัง มีเพียงกำแพงวัง ประตูวังในสภาพทรุดโทรมตามกาลเวลาแล้วก็ตาม 

ดังนั้นการทุบรื้อถอนกำแพงวังด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม โดยไม่บอกแจ้งล่วงหน้าจะถูกวิพากษ์อย่างหนักจากสังคมชาวมาลายูปาตานีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเป็นการตอบย้ำถึงการรังแกและกดขี่ที่อาจไม่สามารถห้ามความรู้สึกเหล่านั้นได้เลย ดังนั้นรัฐต้องรีบเข้ามาดำเนินการแก้ไขให้กลับสู้สภาพเดิมโดยเร็ว เพราะมันเป็นมูลค่าทางโบราณคดี เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่เป็นสตอรี่ของชายแดนภาคใต้

ล่าสุดอัสรี สุทธิศาสตร์สกุล กรรมการมัสยิดรายอจะบังติกอ พร้อมด้วย ผศ.ดรงพรประวีณ์ พุ่มเกิด ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี นายอุดมศักดิ์ สาริฝีน นายช่างโยธาปฏิบัตทำงาน สำนักศิลปากร ที่11 เข้าพบนายรอซีดี แวดอเลาะ ที่บ้านเลขที่ 34 ตั้งภายในรั้ววังในฐานะผู้ดูแลและครอบครองพื้นที่วังแห่งนี้ เพื่อสอบถามหารือถึงสาเหตุของรื้อกำแพงวังในครั้งนี้เพื่อร่วมหาแนวทางแก้ไข โดยนายรอซีดี แวดอเลาะ ในฐานะคนที่ครอบครองพื้นที่วังแห่งนี้ได้ยินยันหนักแน่นว่ารื้อเพื่อบูรณะซ่อมแซมให้กลับมาใหม่อีกครั้ง ไม่ทุบทำลายตามที่การปรากฏในสังคมโซเซียลแต่อย่างใด เนื่องจากกำแพงวังดังกล่าวมีสภาพทรุดโทรมอย่างหนักถ้าไม่ทุบรื้อถอนอาจจะพังได้ในระยะ3-4วันก็เป็นได้ จึงได้รีบแก้ไขสถานการณ์จึงหาช่างมารื้อเพื่อสร้างใหม่ถามสภาพที่เห็น

ด้านคณะฯที่ร่วมกันหารือก็ได้พูดถึงว่าทำไมถึงไม่บอกกล่าวหรือแจ้งปัญหาให้ทราบก่อนที่จะมีการทุบทิ้งเพราะยังพอมีแนวทางการแก้ไข ได้อยู่ตามหลักวิชาการการดูแลของช่างโยธาโบราณสถาน แต่เมื่อมีความตั้งใจที่รื้อเอบูรณะซ่อมแซม ก็ต้องดำเนินการซ่อมแซมให้กลับมาให้เหมือนมากที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องวัสดุการก่อสร้างต้องให้เหมือนเดิมเช่นต้องใช้ปูนขาวหมักเหมือนเดิมเพราะมีสภาพระบายความชื่นได้ดีกว่าปูนซิเมนตร์ทั่วไป จึงมีข้อตกลงร่วมกันว่าทางฝ่ายสำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา โดยช่างโยธาฯจะเข้ามาควบคุมงานบูรณะกำแพงวังเพื่อให้เป็นไปคามหลักวิชาการโบราณคดี ทางนายรอซีดี ดอเลาะ จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ โดยจะมีทางสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนาฯอาจร่วมสมทบอีกทางหนึ่ง

หลังจากยุติในเรื่องการรื้อนายรอซัดี แวดอเลาะ ได้นำคณะลงไปดูสภาพกำแพงวังที่ช่างกำลังดำเนินการรื้อถอน เพื่อแนะนำแนวทางที่จะมีการดำเนินการบูรณะให้เป็นตามวิชาโบราณคดี ทั้งนี้เพื่อให้กำแพงกลับมาเหมือนเดิมมากที่สุดภายหลังจากการบูรณะซ่อมแซมใหม่ในครั้งนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าปัจจุบันวังเก่าจะบังตีฆอแห่งนี้กลายเป็นสตอรี่เป็นแหล่งมาร์ชของปัตตานีที่นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศที่มาปัตตานีจะต้องแวะชมวังเก่าแห่งนี้ จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประวัติความเป็นมาของชุมชน วังเก่าจะบังติกอ  เป็นวังโบราณของเจ้าเมืองปัตตานี ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำปัตตานีตรงสามแยกจะบังติกอบนเส้นทางถนนหน้าวัง ซึ่งเป็นถนนลาดยางเลียบแม่น้ำปัตตานีถนนนี้เชื่อมระหว่างตัวเมือง ซึ่งตั้งต้นจากที่ตั้งของที่ทำการไปรษณีย์ปัตตานี เลียบแม่น้ำปัตตานีไปต่อกับถนนยะรัง เป็นเส้นทางรถยนต์เชื่อมระหว่างปัตตานีกับจังหวัดยะลา

เจ้าเมืองปัตตานีราชวงค์กลันตันจะบังติกอที่ปกครองเมืองปัตตานีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2388-2449 มีทั้งหมด  5 พระองค์
          1. ตนกูบือซา หรือ ตนกูมูฮัมหมัด
          2. ตนกูปูเต๊ะ
          3. ตนกูตีมุง หรือ รายอโต๊ะเยาะห์
          4. ตนกูสุไลมานซารีฟุดดิน ไม่ได้ประทับในวังจะบังติกอ แต่ได้สร้างวังใหม่ทางทิศตะวันออกของวังเก่าติดกับมัสยิดรายอจะบังติกอปัจจุบัน
          5. ตนกูอับดุลกอเดร์ กามารุดดิน ได้ประทับที่วังใหม่จะบังติกอ ซึ่งเป็นวังของบิดาเป็นผู้สร้างแต่ปัจจุบันกลายเป็นที่รกร้างและเป็นเชื้อสายราชวงศ์กลันตันองค์สุดท้ายที่ปกครองเมืองปัตตานี
สถานที่ฝั่งศพของเจ้าเมืองทั้ง 5 พระองค์
          1. ตนกูบือซาหรือตนกูมูฮำหมัด ศพของพระองค์ไปฝังไว้ ณ สุสานตันหยงดาโต๊ะ  (แหลมโพธิ์ )
          2. ตนกูปูเต๊ะ ศพของพระองค์ฝังไว้ ณ เมืองกลันตัน ประเทศมาเลเซียปัจจุบัน
          3. ตนกูตีมุงหรือรายอโต๊ะเยาห์ ศพของพระองค์ฝังไว้ ณ สุสานกูโบร์โต๊ะเยาะห์ ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมือง จังหวัปัตตานี
          4. ตนกูสุไลมานซารีฟุดดิน ศพของพระองค์ฝังไว้ ณ กูโบร์โต๊ะเยาะห์ ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
          5. ตนกูอับดุลกอเดร์ กามารุดดิน ศพของพระองค์ฝังไว้ ณ เมืองกลันตัน ประเทศมาเลเซียปัจจุบัน

วังจะบังติกอ ตั้งอยู่ที่ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี สร้างโดยสถาปนิกชาวจีนในสมัยตนกูมูฮัมหมัดหรือตนกูบือซา พ.ศ. 2388-2399 เชื้อสายราชวงศ์กลันตัน    ( กำปงลาว์หรือบ้านทะเล)ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองปัตตานี ตัววังล้อมด้วยกำแพงทึบก่ออิฐถือปูน รูปทรงของวังเป็นบ้านชั้นเดียวขนาดใหญ่ หลังคาทรงปั้นหยา หรือแบบลีมะ ตัวอาคารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง 1 เมตร สร้างด้วยไม้ ภายในอาคารมีห้องโถงขนาดใหญ่ใช้เป็นที่ทำงานของเจ้าเมือง ส่วนด้านหลังของห้องโถงจะเป็นที่อยู่อาศัยของภรรยาและบริวาร วังจะบังติกอได้ใช้เป็นศูนย์กลางการปกครองในท้องถิ่นและเป็นที่อยู่อาศัยของเจ้าเมืองปัตตานี 

จนกระทั่งถึงสมัยตนกูอับดุลกอร์เดร์ เจ้าเมืองคนสุดท้าย ได้มีการยุบเมืองรวมเป็นมณฑลปัตตานี ทำให้วังซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองก็เปลี่ยนสภาพไปกลายเป็นเพียงที่อยู่อาศัยของบุตรหลานสืบต่อมาถึงปัจจุบัน จนกระทั่งล่าสุดวังเก่าแห่งนี้ครอบครัวของนายนายสุรียะ  แวดอเลาะ หรือครูซูยี เข้ามาครอบครองมาหลายสิบปีจนถึงปัจจุบัน ซึ่งขณะนี้กำลังป่วยไม่สบายเป็นคนไข้ติดเตียงมาระยะหนึ่งแล้ว โดยปกติแล้วเมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางชมวังเก่าครูซูยี จะคอยทำหน้าที่บรรยายถึงสตอรี่ของวังเก่าแห่งนี้เป็นประจำ จึงทำให้ขณะนี้นายรอซีดี แวดอเลาะ ในฐานะน้องชายต้องมารับผิดชอบแทนเกือบทั้งหมด