เมืองน่านแฮกเกี่ยวข้าวทรงเพาะ มอบโล่รางวัลโครงการกล้าดีปีที่ 6

เมืองน่านแฮกเกี่ยวข้าวทรงเพาะ มอบโล่รางวัลโครงการกล้าดีปีที่ 6





ad1

น่าน- แฮกเกี่ยวข้าวทรงเพาะ มอบโล่รางวัลโครงการกล้าดีปีที่ 6 พร้อมสานเสวนาต้นแบบแผนชุมชนท้องถิ่นน่าน วิถีใหม่ ถืมตองมีรัก

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ที่ นาแปลงกลาง(แปลงเมล็ดพันธุ์เหนียวน่าน 59) หมู่ที่ 1 ตำบลถืมตอง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน  นายวิบูรณ์  แววบัณฑิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการ เป็นประธานพิธีกรรมแฮกเกี่ยวข้าวและเกี่ยวข้าว พร้อมมอบโล่รางวัลและใบประกาศเกียรติคุณ โครงการกล้าดีปีที่ 6  โดยข้าวที่เกี่ยวเป็นข้าวที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช ได้ทรงเพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวน่าน 59 ลงในกระถาง จำนวน 7 กระถาง เมื่อคราวได้เสด็จทรงงานที่ตำบลถืมตอง เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564

 โดยมูลนิธิฮักเมืองน่านได้นำเมล็ดพันธุ์ทรงเพาะมาปลูกในแปลงขยายพันธุ์ข้าวเหนียว น่าน 59 (นาแปลงกลาง ตำบลถืมตอง) โดยกระถางที่ 3 มีเมล็ดพันธุ์ทรงเพาะจำนวน 2 เมล็ด รวมแล้วได้ข้าวที่ทรงเพาะจำนวน 8 ต้น โดยเฉลี่ยเมล็ดพันธุ์ 2 เมล็ด แตกหน่อได้ทั้งหมด 40 ต้น โดยมีนายชัยวุฒิ หลักเมือง ผอ.ฝ่ายบริหารด้านการใช้ไฟฟ้า และกิจการสังคม ผู้แทนการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พล.อ.วิจักขฐ์ สิริบรรสพ ที่ปรึกษาพิเศษมูลนิธิชัยพัฒนา นายศักดิ์สิทธ์ ศรีวิชัย เกษตรจังหวัดน่าน นายดลยภาค เนตรใส นายอำเภอเมืองน่าน พล.ต. คณิศร อาสมะ ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 38 นายณกรณ์ ศิริรัตนพิริยะ ผู้แทนมูลนิธิฮักเมืองน่าน 

และผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมเกี่ยวข้าวในนาแปลงกลางในครั้งนี้ด้วย  โดยเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เกี่ยวได้ในครั้งนี้จะนำไปเพื่อใช้ขยายพันธุ์และแจกจ่ายให้กับชาวนาที่สนใจนำไปเป็นเมล็ดพันธุ์ต่อไป สำหรับพิธีกรรมแฮกเกี่ยวข้าว โดยพ่ออุ้ยปั่น นันสว่าง ปราชญ์ชาวบ้านของตำบลถืมตอง นั้นเป็นพิธีกรรมแฮกเกี่ยวข้าวเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชาวนา ก่อนที่จะมีการเก็บเกี่ยวจริง และเป็นการบอกกล่าวแม่โพสพและเทวดาทั้ง 4 ทิศ โดยมีเครื่องเช่นไหว้ มีตะแหลว 5 อัน กระทงเครื่องเช่นสังเวย ประกอบด้วย หมาก เมี่ยง พูล ยาฉุน อาหารคาวหวาน  

จากนั้นนายวิบูลย์ แววบัณฑิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน รักษาการผู้ว่าราชการจังหวัดน่น ได้มอบมอบโล่รางวัลและประกาศนียบัตร ให้กับโครงการกล้าดี ปีที่ 6 พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการโครงการกล้าดีปีที่ 6  ภายใต้ หัวข้อ "กล้าดี วิถีใหม่ รวมใจเพื่อชุมชน"  สำหรับการดำเนินโครงการกล้าดี ปีที่ 6 โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชน ทั้งในและนอกโรงเรียน มีโอกาสเข้าถึงโครงการกล้าดี ส่งเสริมกระบวนการทำงานที่มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยเสนอโครงการเกี่ยวกับการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ อนุรักษ์ป่าไม้ การบูรณาการร่วมกับชุมชน ให้ชุมชนได้มีบทบาทและได้มีส่วนร่วมกับโรงเรียนในพื้นที่นั้น ๆ โดยในปีนี้มีโรงเรียนสนใจส่งทีมเข้าเสนอโครงการ 31 ทีม โดยคัดเหลือ 20 ทีม จากนั้นให้แต่ละทีมนำเสนอแผนงานโครงการ เพื่อรับทุนสนับสนุนดำเนินโครงการจริง ทีมละ 20,000 บาท ใน 5 ทีมสุดท้าย จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ประกอบด้วย โรงเรียนบ่อเกลือ ชื่อโครงการ ดอกเกลือ ดอกสวย ช่วยอนุรักษ์ป่า สร้างรายได้ให้ชุมชน โรงเรียนศรัทธาศิลาเพชร(รังสรรค์) ชื่อโครงการ ของดีเมืองย่าง โรงเรียนตาลชุมพิทยาคม ชื่อโครงการ สมุนไพรพื้นบ้านอัดเม็ดฆ่าแมลงในแปลงผัก โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดภูเก็ต ชื่อโครงการ ขยะมีค่า หนุนนำจิตอาสา รักษาสิ่งแวดล้อม โรงเรียนสตรีศรีน่าน ชื่อโครงการ ซังข้าว ช็อคพรู๊ฟ(shockproof)  จากนี้ทีมที่ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานโครงการทั้ง 5 ทีม จะต้องดำเนินการตามแผนที่นำเสนอไว้ในระยะ 3 เดือนต่อจากนี้ พร้อมรายงานความคืบหน้าให้กับกรรมการทราบเป็นระยะ 

ทั้งนี้โครงการที่ได้รับการคัดเลือกเป็นโครงการชนะเลิศ จะได้รับทุนการศึกษา จำนวน 20,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศ จำนวน 2 ทีม จะได้รับทุนการศึกษา ทีมละ 10,000 บาท และรางวัลชมเชย จำนวน 2 ทีม จะได้รับทุนการศึกษา ทีมละ 5,000 บาท จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยโรงเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศรางวัลที่ 1 โรงเรียบ่อเกลือ โครงการดอกเกลือ ดอกสวย ช่วยอนุรักษ์ป่า  รางวัลที่ 2 โรงเรียนศรัทธาศิลาเพชรและโรงเรียนพระปริยัติธรรม  โครงการของดีเมืองย่างและ โครงการขยะมีค่า หนุนนำจิตอาสา รักษาสิ่งแวดล้อม และรางวัลชมเชย โรงเรียนสตรีศรีน่านและโรงเรียนตาลชุมพิทยาคม

 จากนั้นมูลนิธิฮักเมืองน่านเปิดเวทีสานเสวนา "ต้นแบบแผนชุมชนท้องถิ่นน่าน วิถีใหม่ : ถืมตองมีรัก" จากผู้เกี่ยวข้อง 4 คน ประกอบด้วย  พลเอกวิจักขฐ์ สิริบรรสพ ที่ปรึกษาพิเศษมูลนิธิชัยพัฒนา นายชัยวุฒิ หลักเมือง ผู้แทนจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ผู้แทน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน และนางสาวพยอม วุฒิสวัสดิ์ เลขานุการสภาประชาชนตำบลถืมตอง โดยมีประเด็นการเสวนาในเรื่องการจัดการตนเอง ตำบลถืมตองนำไปสู่แผนชุมชนอย่างไร ทำไมถึงทำงานได้หลากหลาย

 เช่น โครงการบ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง ข้าวเหนียวน่าน 59 มาเกี่ยวข้องกับตำบลลืมตองได้อย่างไร แผนชุมชนที่ตำบลถืมตอง ดำเนินการเป็นรูปธรรมแบบนี้ อบจ.คิดอย่างไรแนวทางที่จะสนับสนุนแผนชุมชนอื่น ๆ (นายกอบจ.) และบทบาทของ กฟผ.กับการสนับสนุนเด็กและเยาวชน" ในน่าน  ในฐานะองค์กรสนับสนุนทางสังคม เห็นความเข้มแข็งของชาวตำบลลืมตอง  นอกจากนี้ยังมีเวทีเสวนาเด็กและเยาวซนกล้าดี ประเด็น"กล้าดี คืนถิ่น เรื่องดีดีจากพี่สู่น้อง"  ปีที่ผ่านทำโครงการอะไร ผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร มีแนวทางสร้างผลงานเป็นรูปธรรมได้อย่างไร รวมทั้ง บอกเล่าวิธีการทำงานโครงการฯ การขับเคลื่อนโครงการฯ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนอย่างไร  จากนักเรียนโรงเรียนบ่อเกลือ โรงเรียนบ้านหลวง โรงเรียนพระปริยัธติธรรมวัดภูเก็ต โรงเรียนศรัทธาศิลาเพชรรังสรรค์ โรงเรียนตาลชุมพิทยาคมและโรงเรียนสตรีศรีน่าน