ชาวนา 3 จังหวัดลุ่มน้ำปากพนังเลิกทำนา คาดอีก 10 ปีต้องซื้อข้าวจากเมียนมา-กัมพูชา-เวียดนาม


“ชาวนา 3 จังหวัดลุ่มน้ำปากพนัง” ปี 2568 อ่วม เม็ดเงินหาย 4,000-5,000 บาท / ตัน ผวา ที่นาข้าวถูกเทขาย เป็นสวนปาล์มน้ำมันอีกระลอกใหญ่จากทยอยขายร่วม 40 ปี จาก 3 ล้านไร่ เหลือกว่า 300,000 ไร่ สมาคมโรงสีข้าว-กลุ่มชาวนาภาคใต้ ส่งสัญญาณอันตรายความมั่งทางทางด้านอาหาร อีก 10 ปีจะต้องนำข้าวจากเมียนมา กัมพูชา เวียดนาม พร้อมอุตสาหกรรมโรงสีข้าวอ่วมตาม
นายสุทธิพร กาฬสุวรรณ นายกกิติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวและกลุ่มชาวนาภาคใต้ เปิดเผยว่า สถานการณ์ข้าวฤดูกาลนาปี ปี 2567/2568 ขณะนี้ราคาได้ทยอยลงมา โดยข้าวขาว สายพันธุ์ กข. อยู่ที่ 8.500 บาท / ตัน ขนาดความชื้น 15 % จาก 15,000 และ 13,500 บาท / ตัน ส่วนข้าวพันธุ์พื้นเมือง เฉี้ยง สังข์หยด และเล็บนก ขนาดความชื้น 25 % ราคา 15,000 บาท และราคา 14,500 บาท / ตัน ราคายังคงดี
“ข้าวขาวสายพันธุ์ กข. ซึ่งเป็นผลิตส่วนใหญ่แทบทั้งหมดทางภาคใต้โดยภาพรวมประมาณ 150,000 ตัน / ปี ส่วนข้าวสายพันธุ์พื้นเมืองราคายังดีแต่เป็นส่วนน้อย โดยราคาไม่ดีมาตั้งแต่ปลายปี 2567 โดยทยอยลงมาจนถึงขณะนี้ จะขาดทุนข้าวตั้งในนา ประมาณ 4,000 – 5,000 บาท / ตัน”
นายสุทธิพร กล่าวว่า โดยที่ผ่าน ๆ มาหลายปี ราคาข้าวขาว กข.เคลื่อนไหวบวกลบอยู่ที่ประมาณ 15,000 บาท และ 13,500 บาท / ตัน แล้วได้ทอยหดตัวมาแต่ปลายปี 2567 เหลือที่ประมาณ 8,500บาท / ตัน เมื่อเม็ดเงินได้หดหายไปประมาณ 4,000 – 5,000 บาท / ตัน เงินชาวนาภาพรวมจะหายถึง 600 - 750 ล้านบาทในปี 2568 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเก็บเกี่ยว
“ส่วนทางการด้านการตลาดข้าวนาปี 2568 ขณะนี้ มีราคาเคลื่อนไหวอยู่ที่ประมาณ 13.10 บาท / กก. แต่ก็ไม่มีการซื้อขาย เพราะคนขายก็ไม่กล้าขาย เพราะหากขายก็ขาดทุน ส่วนคนซื้อก็ไม่กล้าซื้อเพราะซื้อไปแล้วกลัวขายขาดทุน”
นายสุทธิพร กล่าวอีกว่า จากสถานการณ์นี้จึงน่ากังวลเป็นอย่างยิ่งเพราะชาวนาจะหมดกำลังใจทั้งที่ชาวนาแรงงานทำนาขาดแคลนอยู่แล้ว ก็จะมีการทิ้งเทขายพื้นที่ทำนากันอีก ทั้งก่อนหน้านี้ตั้งแต่ 40 ปีที่ผ่านมาก็มีการขายที่นาอยู่แล้วไปทำสวนปาล์มน้ำมันส่วนหนึ่งและสวนยางพาราส่วนหนึ่ง ฯลฯ เพราะราคาปาล์มน้ำมันและราคายางปรับตัวราคาดีในห้วงระยะนั้น
แต่ละปีมีขายที่นาไม่ต่ำกว่าปีละ 20 % แต่มาในตอนหลัง ๆ อีกระยะหนึ่ง จะมีการเทขายหันลงทุนปลูกสวนปาล์มน้ำมันเต็ม ๆ 100 %
“จากนาข้าวพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช จ.พัทลุง และ จ.สงขลา แต่ละจังหวัดมีนากว่า 1 ล้านไร่ ภาพประมาณกว่า 3 ล้านไร่ ซึ่งจะงปลูกข้าวใน 3 จังหวัดอยู่ในระดับที่ไล่เลี่ยกัน 3 จังหวัดลุ่มน้ำปากพนัง จะเป็นศูนย์รวมแหล่งปลูกข้าวขนาดใหญ่ของภาคใต้ เมื่อปาล์มน้ำมันมีแรงจูงใจ แต่การทำนาไม่มีแรงจูงใจ”
นายสุทธิพร กล่าวอีกว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ซึ่งยังอีกระหนึ่งก็จะเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จ รัฐบาลจะต้องหามาตรการเร่งด่วนเข้ามาสนับสนุนชาวนาอย่างเร่งด่วนออกแบบด้วยวิธีใดก็ตาม เช่น 1.ราคาข้าว 2. ปุ๋ย 3. น้ำมันเชื้อเพลิง 4. สาธารณูปโภค ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตเพื่อเป็นแรงจูงใจชาวนา และจะต้องเป็นโครงการที่มั่นคง เพราะเป็นเรื่องสำคัญความมั่นคงของประเทศทางด้านทางอาหาร จนกว่าสถานการณ์เข้าสู่ปกติ
“หากถ้าสถานการณ์ราคาไม่มีมูลจูงใจเป็นหลัก ชาวนาก็จะแห่เทขายพื้นที่ทำนาไปปลูกสวนปาล์มน้ำมันที่เห็นว่าดีกว่า ในที่สุดก็จะเกิดสถานการณ์ไม่สมดุล ปลูกปาล์มน้ำมันเกินจะล้นตลาด ก็จะส่งผลต่อดีมานด์ซัพพลาย ราคาปาล์มน้ำมันก็ร่วงลงอีก”
นายสุทธิพร กล่าวอีกว่า และแนวโน้มในระยะอีก 10 ปี ก็จะมีความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางด้านอาหารทางภาคใต้ ในที่สุดก็จะต้องนำข้าวเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น เมียนมาร์ กัมพูชา และเวียดนาม จากผู้ผลิตข้าวก็จะกลายไปเป็นผู้ซื้อข้าวในที่สุด ซึ่งจะไม่ต่างกับประเทศมาเลเซีย ซึ่งปัจจุบันที่จะต้องนำเข้าข้าวจากประเทศดังกล่าวเช่นกัน
นายสมศักดิ์ พาณิชย์ เจ้าของนาข้าวและประธานชมรมโรงสีข้าวระโนด อ.ระโนด จ.สงขลา เปิดเผยว่า สถานการณ์นาข้าว จ.สงขลา จากที่ทิศทางปาล์มน้ำมันที่ราคาอยู่ในเกณฑ์ดีมาหลายปีได้ส่งผลให้หันไปลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันกันมากขึ้น ทุกปี ซึ่งขณะนี้ภาพรวมคาบสมุทรสทิงพระ อ.ระโนด อ.กระแสสินธุ์ อ.สิงหนคร ฯลฯ ไปเป็นสวนปาล์มน้ำมันแล้วประมาณ 25 % ได้ส่งให้พื้นที่ทำนานาข้าวทยอยลดลงจากกว่า 100,000 ไร่
“ปัจจัยหนุน เพราะคาบคาบสมุทรสทิงพระเป็นพื้นที่โซนลุ่มน้ำชุ่มชื้นตั้งริมริมทะเลสาบสงขลา มีความเหมาะสมกับการปลูกปาล์มน้ำมัน”
นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนที่มีแนวโน้มว่าอนาคตจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านอาหาร แต่ถึงอย่างไรระยะนี้ยังไม่ส่งผล เพราะปกติผู้บริโภค จ.สงขลา จ.สุราษฎร์ธานี ฯลฯ จะนิยมบริโภคหอม ผลผลิตนำเข้าจากภาคอีสานและภาคกลาง ส่วนข้าวจ้าว กข.ที่ผลิตใน จ.สงขลา จะนำไปขายยัง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จ.ปัตตานี ยะลา และ จ.นราธิวาส ตลอดจนในย่านนั้นก็จะมีการจำหน่ายต่อให้กับชาวมาเลเซีย
“ส่วนราคาข้าวจ้าว กข.ขณะนี้ราคาได้ทยอยลงมาเหลือกว่า 8,000 บาท / ตัน จากราคากว่า 12,000 บาท / ตัน ปัจจัยมาจากราคาข้าวภาคกลางเป็นตัวกำหนดกับราคาส่งออก เพราะข้าวของต่างประเทศโดยเฉพาะเวียดนาม ราคาจะต่ำกว่าข้าวไทย เหตุต้นทุนการผลิตข้าวเวียนนามจะต่ำกว่า”
ถึงการที่นาข้าวได้ทอยอยลดลงโดยหันไปปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านอาหาร นายสมศักดิ์ กล่าวว่า จะไม่ส่งผลกระทบในระยะนี้ เพราะเลี่ยงไม่พ้นที่ได้กระทบต่ออุตสาหกรรมโรงสีข้าวทางภาคใต้ โดยภาพรวม 3 จังหวัดลุ่มน้ำปากพนัง นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง มีประมารณกือบ 100 โรง จากที่ผ่านมาหลายปี แต่มาขณะนี้จะมีการปิดตัวเองลงไปจำนวนหนึ่ง เช่น จ.สงขลา อ.ระโนด ที่ที่มีมาประมาณ 32 โรง ขณะนี้เหลือกว่า 10 โรง จ.สงขลา เป็นโรงสีขนาดเล็กครบวงจร ราคาเฉลี่ยโรงละ 50 ล้านบาท หากประมาณ 3 จังหวัด 100 โรง จะมีมูลค่าการลงทุนประมาณ มูลค่าประมาณ 5,000 ล้านบาท ก็จะส่งผลกระทบไปด้วย.